Yami Shibai (japanese ghost stories) (เรื่องย่อ)
07 พฤศจิกายน 2556 18:31 น.
Share on FacebookTweet about this on TwitterShare on Google+

yami8

 

Yami Shibai (japanese ghost stories)

แนว Horror
Studio ILCA ผู้กำกับTomoya Takashima เขียนบทโดย Hiromu Kumamoto
Endingsong “Kaifu Emaki” Hatsune Miku
จำนวนตอน 13 ตอนจบ

เพิ่มเติมที่ : Yami Shibai ยามิชิไบ เรื่องเล่าผีญี่ปุ่น ซีซั่น 1-3

 

 

“เร่เข้ามา เร่เข้ามา ได้เวลาโรงละครแห่งความมืดแล้ว”

 

ประโยคชักชวนของชายนัักเล่านิทานคามิชิไบผู้มีใบหน้ายิ้มแย้มอย่างน่าแปลกประหลาด เอ่ยเรียกเด็กน้อยมากมายที่กำลังเล่นกันอย่างสนุกสนานในสนามเด็กเล่น และช่วงเวลาใกล้มืด คือการเริ่มต้นของนิทานสุดสยอง “ยามิชิไบ (ละครแห่งความมืด) “

 

 

การ์ตูนแนวสยองขวัญที่ออนแอร์ในช่อง TV Tokyo ทุกวันอาทิตย์เวลา ตี 2 15 คืนนาที ตั้งแต่วันที่ 14 กรกฏาคม ที่ผ่านมา อนิเมชั่นเรื่องนี้แม้จะมีความยาวเพียงตอนละ 4 นาทีเท่านั้น ทว่าฉายได้เพียงสามตอนก็สร้างกระแสฮือฮาในญี่ปุ่นอย่างล้นหลามถึงความน่ากลัว กระแสวิจารณ์ทางบวกมีมากขึ้นจนเป็นทำให้ชาวญี่ปุ่นติดงอมแงมกับเสน่ห์ความสยองของมุมมองการเล่าแบบคามิชิไบเป็นการเล่านิทานรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นเทคนิคที่เกิดขึ้นในสมัยเฮอันราวศตวรรษที่ 12 สมัยนั้นพระในศาสนาพุทธของญี่ปุ่น ได้ใช้ “ม้วนหนังสือ” ที่มีภาพวาดประกอบเลื่อนไปเรื่อยๆเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวด้วยบทเรียนทางศีลธรรมให้แก่ผู้คนส่วนใหญ่ที่อ่านหนังสือไม่ออก เป็นการเล่านิทานภาพประกอบโดยการติดภาพประกอบลงบนกระดาษยาวเรียงต่อเหมือนฟิล์ม และมีกล่องที่มีหน้าจอเหมือนโทรทัศน์ซึ่งผู้เล่าจะค่อยๆหมุนภาพที่อยู่ในกล่องไปเรื่อยๆ ภาพการ์ตูนในเรื่องมีลักษณะแบนและขยับเพียงบางส่วนเหมือนตุ๊กตาชักใย ทำให้อนิเมชั่นเรื่องนี้มีเสน่ห์แบบลึกลับที่หลายคนร่ำลือถึงความแหวกแนวและน่ากลัวจนเป็นกระแสต่อๆกันมาในวงการคนนิยมการ์ตูนของบ้านเรา และมีการกล่าวขวัญถึงขนาดต้องรอชมทางออนไลน์ตอนดึกๆดื่นๆกันเลยทีเดียว

 

 

 

 

yami1

 

 

ลักษณะของเรื่องมีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้คนในปัจจุบันกับความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องภูติผีปีศาจและประเพณีโบราณของญี่ปุ่น และฉากเปิดเรื่องจะเริ่มด้วยฉากตอนเวลา 5 โมงเย็น ที่สนามเด็กเล่นในบรรยากาศจวนใกล้มืด ตัวละครชายที่เป็นนักเล่าคามิชิไบนั้น พากษ์เสียงโดยนักแสดงชาย Kanji Tsuda ซึ่งพากย์ด้วยน้ำเสียงชวนขนลุกได้ระดับห้าดาวเลยทีเดียว

 

yami3

 

 

 

 

ตัวอย่างความสยองของเรื่องนี้

 

yami4

 

 

 

ตัวอย่างจากตอน “ชั้นต่อไป” เรื่องราวของชายหนุ่มผู้เบื่อหน่ายการอยู่ร่วมกับครอบครัวในวันหยุดจนต้องหาข้ออ้างหนีออกมา และได้พบกับความสยองในลิฟต์

 

 

 

yami5

 

 

ตัวอย่างจากตอน “กฎของครอบครัว” เด็กชายเดินทางมากับพ่อแม่ที่ต่างจังหวัดเพื่อ “ประกอบพิธีกรรมบางอย่างภายในนครอบครัว” และกฎนั่นคือ “การหัวเราะข้ามคืน” เพื่อขับไล่ “มัน”

 

 

 

yami7

 

 

ตัวอย่างจากตอน “ตรงกันข้าม” หญิงสาวผู้หนึ่งได้รับโทรศัพท์ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนทั้งสอง ทว่ามีอะไรบางอย่างที่ผิดปกติไป หนึ่งในนั้นมีคนหนึ่งที่กำลัง “โกหก”

 

 

 

yami6

 

 

ตัวอย่างจากตอน “โทโมนาริคุง” เด็กสาวมัธยมปลายกับพฤติกรรมแปลกๆของกลุ่มเด็กข้างบ้าน พวกเขาบอกว่า “โทโมนาริคุงอยากเล่นกับพี่สาว” แต่โทโมนาริคุงที่เธอเห็น มีเพียงรอยดำบนพื้นถนนเท่านั้น…

 

 

yami2

 

 

ตัวอย่างจากตอน “ผู้ทรมาน” การสอดรู้สอดเห็นเรื่องของคนอื่น ทำให้เด็กชายสองคนต้องประสบกับหายนะ!

 

 

Yami Shibai ไม่ได้มีเพียงความน่ากลัวเท่านั้น แต่ยังแฝงข้อคิดต่างให้เราย้อนกลับมาถามตัวเองในบางครั้งว่าสิ่งที่เราทำนั้นจะส่งผลเสียอย่างไรต่อตนเองบ้าง และบางครั้งการฝ่าฝืนข้อห้ามก็อาจนำมาซึ่งหายนะต่อตนเองก็เป็นได้ แม้ปัจจุบันวิทยาการและเทคโนโลยีต่างๆจะมีความเจริญก้าวหน้า ทว่าชาวญี่ปุ่นก็ยังคงความเชื่อเกี่ยวกับ “จารีตประเพณี และพีธีกรรม” อย่างแน่นแฟ้น นั่นทำให้การ์ตูนเรื่องนี้สะท้อนวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นในอีกแง่มุมหนึ่งที่เราอาาจไม่เคยเห็นมาก่อน

 

ทว่าสิ่งที่ตกค้างในความรู้สึกของคนดูส่วนมาก คือ “ความน่ากลัว” หลังจากได้ดูจนจบตอนนั่นเอง และทำให้คอการ์ตูนบ้านเรายกให้เป็น “การ์ตูนสยองขวัญที่น่าประทับใจในความทรงจำ” จนถึงวันนี้

 

หากใครอยากลองสัมผัสความสยองสี่นาทีในตำนานที่ร่ำลือกัน แนะนำหาดูได้ทั่วไปตามเว็บไซต์ เวลาดูคนเดียวอย่าดูหลังเที่ยงคืนหรือทางที่ดีหาเืพืื่อนมาดูซักคนสองคนก็โอเค เพราะเรื่องนี้มีอะไรที่ชวนให้แอบลุ้นและตกใจอยู่เป็นระยะๆเลยล่ะ…