Tiny Tina’s Wonderlands
ผู้จัดจำหน่าย: 2K
ผู้พัฒนา: Gearbox Software
ประเภท: Action / RPG
แพลตฟอร์ม: Xbox One, Xbox Series X|S, PlayStation 4, PlayStation 5, Windows PC ผ่าน Epic Games Store
วันวางจำหน่าย: 25 มีนาคม 2022 รองรับภาษาไทย
เว็บไซต์: www.playwonderlands.com
ตัวอย่างซับไทย
Tiny Tina’s Wonderlands เป็นเกมแรกของ 2K ที่ถูกแปลเป็นภาษาไทย ซึ่งเกมนี้เป็นภาคแยกจากซีรีส์ Borderlands
ใน Tiny Tina’s Wonderlands การผจญภัยครั้งยิ่งใหญ่ที่เต็มไปด้วยความสนุก สิ่งมหัศจรรย์ และอาวุธทรงพลัง! กระสุน เวทมนตร์ และดาบใหญ่ต้องปะทะกันในโลกแฟนตาซีสุดอลหม่านที่มีชีวิตขึ้นได้ด้วยฝีมือของ Tiny Tina ผู้เหนือความคาดหมาย ซึ่งจะเป็นผู้ออกกฎ เปลี่ยนโลกแบบปุบปับ และนำทางให้กับผู้เล่น ปรับแต่งฮีโร่มัลติคลาสของคุณแล้วบุกตะลุยปล้นชิงยิงฟัน และต่อสู้ฝ่าแนวสัตว์ประหลาดพิสดารกับดันเจี้ยนที่เต็มไปด้วยสมบัติ โดยมีเป้าหมายเพื่อหยุดยั้งทรราช Dragon Lord
แกนหลักของการนำเสนอเกมเพลย์ Tiny Tina’s Wonderlands คือความสามารถในการสร้างฮีโร่ในแบบของคุณ ผ่านการปรับแต่งรูปลักษณ์ที่ลึก และระบบมัลติคลาสที่ให้คุณผสมผสานและจับคู่ทักษะตัวละครที่ไม่เหมือนใคร
REVIEW 7/10
เนื้อเรื่อง 2 /3
เกมเพลย์ 2/3
งานภาพ 2/3
ความชอบ / 1 /1
อัดแน่นด้วยคอนเท้นท์ แต่เล่นจริงธรรมดาไปหน่อย
***เวอร์ชั่นที่ใช้ทำรีวิวนี้ เป็น “เวอร์ชั่นสื่อ” ตัวเกมอาจจะมีรายละเอียดที่แตกต่างจากเวอร์ชั่นวางจำหน่ายจริง***
Tiny Tina’s Wonderlands ว่ากันตามจริงแล้ว ไม่ใช่เกมแปลกใหม่สดจนร้องว้าวขนาดนั้น เพราะในเกมภาคหลักอย่าง Borderlands 2 ได้ส่ง Tiny Tina’s Assault Dragon Keep ที่เป็นเกมเก่ามาก่อนแล้ว (และแอดมินเพิ่งได้ลองเล่นเมื่อไม่กี่เดือนก่อนหน้า) และสารภาพตามตรงว่าTiny Tina’s Wonderlands ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นเกมใหม่เลย ในเมื่อทุกเมคานิคของเกม Assault Dragon Keep นั้นถูกนำมาใช้ในเกมนี้ซะเยอะนั่นเอง
Gearbox ได้พยายามพาผู้เล่นกลับมาสู่เกมกระดานคลาสสิค “Bunkers & Badasses” (แนวล้อเลียน Tabletop ชื่อดัง) ที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับดาบ เวทมนตร์ ในเกม Tiny Tina’s Wonderlands นี้จะพาผู้เล่นเข้าสูโลกจินตนาการ ที่ Tina หนึ่งในตัวละครจากเกม Borderlands เป็นตัวเล่าเรื่องในฐานะ “Bunker Master”
และผู้เล่น คือ “Fatemaker” หนึ่งในตัวละครที่ร่วมเล่นเกมกระดานนี้ด้วยกัน ผู้ซึ่งถูกกำหนดให้กอบกู้ดินแดนจากภัยคุกคาม ของจอมมารผู้ชั่วร้าย โดย Tina จะเล่าเรื่องราวการผจญภัยออกเป็นพาร์ทๆ พร้อมกับใส่อุปสรรคขวางทางตาม Role ทีได้อ่านจากคู่มือ
ผู้เล่น คือ “Fatemaker” ที่มี 6 คลาส ดังนี้
ทั้งหมดนี้ คือสิ่งที่ถูกนำมารวมเข้ากับเกม Borderlands ที่เป็นเกมแนว Loot-and-shoot ที่ชูจุดเด่นเรื่องการตามหาอาวุธใหม่ อัพสกิล ดวลบอส และศัตรูมากหน้าหลายตา ถ้าใครไม่เคยเล่นเกมอย่าง Borderlands หรือ Assault Dragon Keep ก็น่าจะรู้สึกสนุก และบันเทิงกับเกมนี้มากกว่าคนที่เคยเล่นเกมดังกล่าวมาแล้ว
แต่ด้วยความที่เกมนี้ มีภาษาไทย ถือว่าแปลออกมาได้สนุก มุกต่างๆ บทสนทนาไหลลื่น และมีมุกฮาบ้าง แป้กบ้างตามสไตล์อเมริกันคอมิค ตัวละครทีการจิกกัดเกมกระดานดังๆ+พล๊อตแนวผู้กล้า เน้นการล้อเลียน อารมณ์ขันที่อ้างมีมต่างๆ และความสามารถของ Tina ในการ (แถ) สร้างสถานการณ์ใหม่ๆ ได้ในบทสนทนาทั่วไปของเธอ หากคุณไม่ได้เป็นแฟนตัวยงของพวกมีมจากอินเตอร์เนต มุกแปลกๆ หรือคิดตามบริบท “ตลกสไตล์อเมริกัน” ที่ใช้บทพูดขัดขา ตัดมุก หรือเล่นคำ ก็ไม่เก็ทเหมือนกันนะ
ความยาวของแคมเปญเนื้อเรื่อง มีให้เล่นพอประมาณ ซึ่งตัวเกมมีการดวลบอสที่สนุก และชวนหัวร้อนบ้าง แม้เกมจะเป็นเส้นตรง เล่นบนสถานการณ์สเกลเล็ก แต่ตัวเกมก็มีไซด์เควสท์ ภารกิจเสริมจำนวนหนึ่งที่มีความยาวต่างกันไป ตามแบบฉบับของ Gearbox
แต่เราไม่อยากให้คุณ “คาดหวังการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่” ในโครงสร้างของเกม เนื่องจากภารกิจใน Wonderlands จะไม่มีอะไรมากไปกว่า “การเล่าเรื่องเพื่อเปิดแมปใหม่>อ่านเรื่องราวปั่นๆ > ลงดัน >ดวลบอส” แล้วก็วนลูปมาที่การเล่าเรื่องเพื่อเปิดแมปใหม่อีกที จนจบเกม แต่ก็สามารถเรียกได้ว่า บรรยากาศในเกมโดยรวม ค่อนข้างเบาสมองกว่าเกมภาคหลัก (แต่มันจะไปร้อนที่หัวในการดวลกับบอสนั่นเอง…)
ในส่วนของเกมเพลย์ นอกจากการเล่นแบบเดินหน้ายิง ตามหาอาวุธที่ทรงพลังแล้ว ในเกมนี้ มีเมคานิคใหม่ในส่วนของ เวทย์มนตร์ที่สามารถเลือกติดตั้งได้ โดยพลังเวทเหล่านี้จะมีความสามารถแฝงตามการติดตั้ง “ตำราที่ดรอปมาได้”
และในเกมยังให้ความสำคัญกับระบบธาตุ และการโจมตีในรูปแบบที่แพ้ทางกัน เช่น ทุบ / ตี / ฟัน / แทง / ยิง สิ่งเหล่านี้ ถูกใส่เข้ามาให้ศัตรูแต่ละตัวมีมิติในการไล่ฆ่าพอสมควร และจะแสดงผลอย่างชัดเจนเมื่อเจอกับมอนสเตอร์ระดับบอส
จากที่ว่ามาข้างต้น ทำให้ “สล็อตสำหรับอาวุธต่อสู้ระยะประชิด” นั้นเป็นส่วนเสริมที่น่าสนใจ เพราะศัตรูในเกม Borderlands ภาคก่อนๆ จะเน้นกลยุทธ์ที่ต่างกันไป ซึ่งสงวนไว้สำหรับตัวละครที่มีสายสกิลที่เหมาะสม เช่น Zer0 หรือ Krieg แต่ใน Wonderlands คุณจะต้องให้ความสำคัญกับออฟชั่นอาวุธประชิด พอๆกับอาวุธยิง และเวทมนตร์ของคุณด้วย
แต่ถ้าเทียบกับในเกมภาคหลักอย่าง Borderlands 3 ตัวละครผู้เล่นอย่าง “Fatemaker” แต่ละคลาสพื้นฐานนั้น “ไม่ค่อยมีความยืดหยุ่นในการเล่นเท่าไหร่นัก” ถ้าเทียบกับ Vault Hunters ตัวผู้เล่นของ Borderlands 3 ที่มีช่องทาง มีสายสกิลที่สามารถปรับแต่งเล่นเอา Stats ได้
แต่ข้อดี Fatemaker คือ ช่องใส่ของที่มากขึ้น ทำให้ตัวละครมีค่าสเตตัส และความสามารถแฝงที่เยอะ ถัวเฉลี่ยให้ตัวละครนี้มีความสนุกในการผจญภัยในโลกแฟนตาซีบ้าๆบอๆในเกมนี้ได้
Wonderlands ยังมีทิวทัศน์ที่สวยงามให้สำรวจ สถานที่แต่ละแห่งยังคงหยิบยืม Asset หรือ เทมเพลตการออกแบบสภาพแวดล้อม Borderlands มาใช้งาน และเมื่อมาอยู่กับ Unreal Engine แน่นอนว่าปัญหาการโหลดฉาก และวัตถุนั้น ยังคงเป็นปัญหาทางเทคนิคที่น่ารำคาญมากๆ เช่นเคย และถ้าคอมสเปคกลางๆ ก็ค่อนข้างจะทำงานหนักเอาเรื่องอยู่ ไม่รู้สูบทรัพยากรอะไรเยอะแยะ 555+
สรุป เป็นเกมที่ทุกอย่างอยู่ในระดับกลางๆ ไม่ได้มีอะไรใหม่ว้าว ไม่แย่ แต่ก็ไม่ได้มันส์จัดจ้าน เนื้อเรื่องธรรมดา บทสนทนาแปลไทยอ่านสนุกดี
งานภาพยังคงปัญหาที่เป็น Signature ของเกมที่ทำจาก Unreal Engine เหมือนเดิม…
Tiny Tina’s Wonderlands จะวางจำหน่ายในวันที่ 25 มีนาคม 2022 ทาง Xbox Series X|S, Xbox One, PlayStation®5, PlayStation®4 และ PC ผ่านเฉพาะ Epic Games Store