[Yu-Gi-Oh]ยังจำได้ไหม? ธีมการ์ดคลาสสิคของ โจวโนะอุจิ ในปัจจุบันหน้าตาเป็นยังไง??
06 กรกฎาคม 2564 11:56 น.
Share on FacebookTweet about this on TwitterShare on Google+

theme-classic-yu-gi-oh-card-game-jonouchi-joey-wheeler (1)

 

 

 

อ่านบทความก่อนหน้า 

 

 ยังจำได้ไหม? 10 ธีม การ์ดคลาสสิคของ มุโต้ ยูกิ ในปัจจุบันหน้าตาเป็นยังไง??

ยังจำได้ไหม? ธีมการ์ดคลาสสิคของ ไคบะ ในปัจจุบันหน้าตาเป็นยังไง??

 ยังจำได้ไหม? ธีมการ์ดคลาสสิคของ เปกาซัส ในปัจจุบันหน้าตาเป็นยังไง??

โจวโนะอุจิ นั้นนับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งในตัวละครสำคัญ ที่มีพัฒนาการมากที่สุดตัวหนึ่งในเฟรนไชน์ของ ยูกิโอ เลยก็ว่าได้

จากเดิมที่เป็นหัวโจกคอยแกล้งยูกิในห้องเรียน แต่เหตุการณ์หลายอย่างผนวกกับ “การมีจิตสำนึกอันดี” ของเขา ก็ทำให้เขาได้กลับตัวกลับใจ จนกลายมาเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของยูกิในที่สุด

theme-classic-yu-gi-oh-card-game-jonouchi-joey-wheeler (2)

ถ้าถามว่าทำไมคนดู/อ่านยูกิในตอนนั้นถึงรู้สึกชอบและผูกพันกับโจโนะอุจิ ทั้งๆที่เขาก็ไม่ได้เป็นคนเก่งอะไร นั่นก็เป็นเพราะว่าการเติบโตของเขา จากนักเลงหัวโจกชอบแกล้งยูกิ ที่กลายมาเป็นคนที่แคร์เพื่อน และพร้อมจะทำทุกอย่างเพื่อช่วยน้องสาวนั่นแหละครับ ด้วยคาแรกเตอร์ที่ติดดิน รักเพื่อน และมีข้อเสียแบบมนุษย์มนาทั่วไป ก็ทำให้คนดูชอบเขาได้ไม่ยาก ยิ่งเกี่ยวกับการเล่นการ์ดด้วยแล้ว ก็บอกได้อย่างเต็มปากว่า เห็นกันตั้งแต่นายโจวโนะ คนนี้ยังเล่นการ์ดแบบงูๆปลาๆ ไม่รู้กฎพื้นฐานอะไรโน่นเลยแหละครับ ฮา (ฉากลงมอนสเตอร์ 5ดาว มาดื้อๆจนมอนระเบิดตายคาที่ระหว่างแข่งขันเพราะเล่นผิดกติกา ก็ทำเอาติดตากันไปนานเลยทีเดียว)

 

และก็เพราะแบบนั้น ทำให้เด็คของโจวโนะนั้นก็ได้เติบโตขึ้นไปพร้อมๆกับความแข็งแกร่งของเขา อีกทั้งในชีวิตจริง โจวโนะก็ยังเปรียบได้กับคนอ่านที่ยังเล่นผิดๆถูกๆ(แต่ก็ทำให้ได้เล่นกับเพื่อนได้อย่างสนุกสนานเอามากๆ)ในยุคที่ยูกิเริ่มฮิตจนรู้สึกเหมือนได้เติบโตไปพร้อมกับตัวละครตัวนี้ด้วยนั่นเอง ซึ่งในบทความนี้ ทางเราจะพาทุกท่านได้ไปรู้จักกับเด็คของโจวโนะและการพัฒนาการ รวมไปถึงการอัพเดทใหม่ๆของเด็คโจวโนะอุจิ ให้หายคิดถึงกันครับ

 

 

 

First Deck [Duel Kingdom]

เด็คแรกเริ่มของโจวโนะนั้นได้รับมาจากยูกิในภาค “เกาะเปกาซัส” (Duel Kingdom) ที่โจวโนะต้องการหาเงินไปเป็นค่าผ่าตัดดวงตาของน้องสาว ซึ่งยูกิก็ได้มอบเด็คให้ เพื่อให้โจวโนะได้มีโอกาสต่อสู้เพื่อปกป้องคนสำคัญของเขา(ด้วยเงินรางวัลของการเป็นผู้ชนะ)

theme-classic-yu-gi-oh-card-game-jonouchi-joey-wheeler (3)

โดยในเด็คนี้จะเต็มไปด้วยนักรบ, นักรบสัตว์และอีกมากมายที่เราคุ้นเคยกันอย่าง “นักรบอัคคี”, “กิลเทีย”, “เสือขุนขวาน”, “เบบี้ดราก้อน” เป็นต้น และในเด็คนี้ก็จะมี “แรร์การ์ด” หรือ “เอสการ์ด” ของเขาก็คือ “จอมเวทย์กาลเวลา” มอนสเตอร์ที่ต้องใช้โชคในการใช้งานเอฟเฟค ที่สามารถส่งผลให้สถานการณ์บนสนามต้องพลิกผันได้ทุกครั้งที่ใช้เลยทีเดียว(ดวงดีล้างสนามเขา ดวงแผ่วก็ล้างสนามเรา) อีกทั้งด้วยกฏในการ์ตูนสมัยนั้น เอฟเฟคการเร่งเวลานี้ก็ยังเป็นการพัฒนาร่างให้กับการ์ดของ

โจวโนะอย่าง เบบี้ดราก้อนให้โตมาเป็น มังกรพันปีอีกด้วย

 

theme-classic-yu-gi-oh-card-game-jonouchi-joey-wheeler (4)
ในปัจจุบันการ์ดและมอนสเตอร์จากเด็คยุคนี้(ไม่ทุกใบ) ก็ได้มีการออกการ์ด Art ใหม่รวมไปถึง การออกร่างใหม่เพื่อให้ทันกับวิธีการเล่นสมัยใหม่ให้มากขึ้นด้วย

 

ซึ่งการ์ดไอคอนของโจวโนะอย่าง “Red-Eyes Black Dragon” จะได้มาเพิ่มในเหตุการณ์บนเกาะ เปกาซัส ตอนที่คู่ต่อสู้อย่าง “ไดโนซอร์ ริวซากิ” ที่ไปดูถูกโจวโนะที่มาแข่งกับเขาทั้งที่เล่นการ์ดยังไม่เป็น พร้อมกับเสนอออกมาว่าถ้าชนะเขาได้ จะยอมยกการ์ด Red-Eyes ราคาหลายล้านให้ด้วยความปากดี… และโจวโนะก็ได้ Red-Eyes มาเป็นแรร์การ์ดประจำเด็คแทนจอมเวทย์กาลเวลา ด้วยเหตุนี้เอง

 

และในเหตุการณ์การเล่นแบบแทคทีมกับยูกิที่เกิดขึ้น ก็ทำให้โจวโนะได้ใช้ Red-Eyes ในการรวมร่างเข้ากับมอนสเตอร์ตัวอื่นจนเกิดเป็นการ์ดใหม่สุดเท่ โดยปัจจุบันร่างใหม่พวกนั้นก็จะเป็นร่างเดิมที่พัฒนาภาพและเอฟเฟคใหม่ให้เล่นในปัจจุบันได้ โดยจะมาในรูปแบบการ์ดเสริมให้กับธีมของ “Red-Eyes” (ดูเทียบในรูปได้เลยครับ)

 

theme-classic-yu-gi-oh-card-game-jonouchi-joey-wheeler (5)
Red-Eyes+Summoned Skull (แบล็คเดม่อนดราก้อนนั่นเอง)

 

theme-classic-yu-gi-oh-card-game-jonouchi-joey-wheeler (6)
Red-Eyes+Meteor Dragon

 

 

 

 

Second Deck [Battle City]

        

เชื่อว่าเด็คยุคนี้ น่าจะเป็นภาพติดตาของผู้อ่านส่วนใหญ่แน่นอน ยิ่งถ้าทันยุคนั้นด้วยแล้ว “กฏแอนตี้รูล” หรือ “กฎเดิมพันการ์ด” กฎที่ผู้แพ้ต้องมอบแรร์การ์ดที่ดีที่สุดในเด็คของตัวเองให้ผู้ชนะไป (ใครทันยุคนั้นต้องเคยมีเอากฎนี้ไปใช้เล่นกับเพื่อนกันบ้างล่ะ ฮา)

ซึ่งในภาค Battle City นี้เราก็จะได้เห็นการพัฒนาของโจวโนะอุจิได้ชัดเจนที่สุด โดยเฉพาะกับเด็คของเขาที่เรียกได้ว่ามีการเติบโตแบบก้าวกระโดดจากกฏแอนตี้รูลนี้เลย

 

สำหรับการ์ดในเด็คยุคนี้(เริ่มแรก)ก็จะประกอบได้ด้วยการ์ดคุ้นเคยมากมายดังนี้(ซึ่งไม่ได้ใส่มาครบทุกใบนะครับ)

theme-classic-yu-gi-oh-card-game-jonouchi-joey-wheeler (7)

-อัศวินแลนด์สตาร์

-ร็อคเก็ตวอริเออร์

-Little Wingguard

-อัศวินไวเวิร์น และ อัศวินไวเวิร์นขี่มังกร

-แพะรับบาป

-ลูกเต๋าเทพ และลูกเต๋าปีศาจ

-นักรบเหล็กเกียร์ฟรีด

-เกราะเมทัล (Metalmorph)

-Red-Eyes Black Metal Dragon

theme-classic-yu-gi-oh-card-game-jonouchi-joey-wheeler (8)

เช่นเดียวกับเด็คในของโจวโนะในภาคเกาะเปกาซัส ที่ในปัจจุบันก็ได้มีการนำการ์ดมาพัฒนาเป็นการ์ดที่มีเอฟเฟคให้เหมาะสมกับการเล่นในปัจจุบันมากขึ้น หรือทำภาพการ์ดแบบใหม่โดยเฉพาะ Red-Eyes ที่มีการเพิ่ม Art ใหม่ๆขึ้นมาหลายใบให้สะสม (แถม รูเล็ตสไปเดอร์ การ์ดใบเด็ดอีกใบของโจวโนะในยุคนั้น ก็ได้มีการ์ดออกมาจริงๆหลังจากรอมานานด้วยครับ)

 

theme-classic-yu-gi-oh-card-game-jonouchi-joey-wheeler (9)
-Panther Warrior(อยู่ในเด็คภาคนี้เช่นกัน โดยในปัจจุบันมีแค่การ เพิ่มArtมา 1แบบ เท่านั้นครับ)

 

 

 

 

 

Red-Eyes Theme

theme-classic-yu-gi-oh-card-game-jonouchi-joey-wheeler (10)

 เหมือนกับการ์ดมอนสเตอร์ยอดฮิตใบอื่นๆ ในปัจจุบัน Red-Eyes Black Dragon ก็ได้ออกการ์ดรุ่นใหม่มามากมาย ทั้งการโดนนำร่างไปใช้ในธีมอื่น(เช่น Red-Eyes Zombie Dragon ซึ่งการ์ดประเภทนี้จะไม่ได้เอามาใส่ในบทความนี้นะครับ) หรือการมี “ธีม” ออกมาเป็นของตัวเองแตกแขนงออกไปมากมาย โดยจะรวบไว้ให้เข้าใจง่ายๆดังนี้

 

 theme-classic-yu-gi-oh-card-game-jonouchi-joey-wheeler (11)

Red-Eyes + Gearfried

         แม้ว่า Gearfried จะได้มีการ์ดที่เป็นร่างใหม่ๆออกมามากมายจนเป็นธีมแยกสายนักรบของตัวเองออกมา(Phoenix Gearfried) แต่ตัวที่เป็นร่างดั่งเดิมที่โจวโนะใช้ ก็ได้ถูกนำมาติดชื่ออย่าง “GearfriedThe Red-Eyes Iron Knight” เพื่อให้มาเป็นการ์ดเสริมของมังกรดำตัวนี้ พร้อมทั้งยังมีร่างที่ Red-Eyesรวมเข้ากับเกราะของเขาอีกด้วย

 

 

theme-classic-yu-gi-oh-card-game-jonouchi-joey-wheeler (12)

Red-Eyes Metal

         จากความเท่ติดตาของ Red-Eyes ที่สวมเกราะเวทย์มนตร์ในอดีต ปัจจุบันก็ได้นำคอนเซ็ปต์นั้นมาพัฒนาให้มีธีมย่อยของ Red-Eyes (ร่างต่างๆ)ที่ได้สวมชุดเกราะเช่นกัน แถมตอนนี้ตัวของเกราะก็ยังได้กลายมาเป็นมอนสเตอร์ตัวใหม่อีกด้วย(ตัวซ้ายบน)

 

*ตัวซ้ายล่าง มาจากภาค GX ซึ่งไม่ใช่ของโจวโนะ แต่เป็นRed-Eyes ที่มีร่างพัฒนาใส่เกาะเป็น 2ใบล่างที่เหลือ ซึ่งทั้ง2ใบที่เหลือจะเป็นการ์ดใบเดียวกันแต่คนละ Art ซึ่งมีความสำคัญกับเด็ค Red-Eyes และเด็คมังกรในปัจจุบันอย่างมาก ทำให้ทางผู้เขียนจึงใส่มาด้วยเพราะคิดว่าน่าจะเคยเห็นกันบ่อยครับ

 

 

theme-classic-yu-gi-oh-card-game-jonouchi-joey-wheeler (13)

Red-Eyes Race

เหมือนกับมังกรขาวอย่าง Blue-Eyes มังกรดำRed-Eyesที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน ก็ได้มีการออกการ์ดที่เป็นสายพันธุ์ย่อยของเรดอายส์แตกแขนงออกไป รวมทั้งการ์ดที่เกี่ยวข้องกับช่วงชีวิตในวัยต่างๆของเรดอายส์, สายพันธุ์แยกย่อย และท่าโจมตีต่างๆมาด้วยเช่นกัน (แต่จะไม่มากเท่าของBlue-Eyesนะ)

 

 

 

 

Another Ace Card [Battle City]

ด้วยความที่โจโนะอุจิชนะหลายศึกภายใต้กฎแอนตี้รูล ทำให้เขาได้แรร์การ์ดสายต่างๆมาเสริมทัพในเด็คมากมาย (ซึ่งก็แอบทำให้เด็คของโจโนะมีความจับฉ่ายระดับนึงเหมือนกัน ฮา) ซึ่งเราก็จะขอพูดถึงแรร์การ์ดเหล่านั้นที่โจโนะได้มา ว่าการ์ดธีมพวกนี้ตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบัน มีการพัฒนาไปอย่างไรบ้างแล้วนะครับ

 theme-classic-yu-gi-oh-card-game-jonouchi-joey-wheeler (14)

Jinzo หรือ Psycho Shocker (ไซโค-ช็อคเกอร์) การ์ดจาก เอสเปอร์ โรบะ

 

 theme-classic-yu-gi-oh-card-game-jonouchi-joey-wheeler (15)theme-classic-yu-gi-oh-card-game-jonouchi-joey-wheeler (16)

แรร์การ์ดที่มีเอฟเฟคทำให้การ์ดกับดักบนสนามทั้งหมดหยุดทำงานใบนี้ คงเป็นการ์ดที่คนเล่นการ์ดยูกิคุ้นชินกันเป็นอย่างดีแน่นอน โดยโจวโนะอุจิได้มาจากคู่ต่อสู้คนแรกที่เขาเอาชนะได้ในภาคBattle City อย่าง เอสเปอร์ โรบะ ดูเอลลิสที่บอกว่าตัวเองนั้นมีพลังจิต(แต่จริงๆเป็นทริคโกงเกม ที่ในยุคนั้นหลายๆคนก็เก็บเอาวิธีนี้ไปใช้แกล้งเพื่อนเวลาเล่นการ์ดอยู่เหมือนกัน)

 

 

 

 

 

โดยธีมการ์ดของ ไซโค-ช็อคเกอร์จะเป็นการ์ดที่มีความเกี่ยวข้องกับการใช้พลังจิตต่างๆพร้อมกับมอนสเตอร์ใบอื่นของเจ้าของเดิมอย่าง เอสเปอร์ โรบะ ก็ยังนับว่ามีเอฟเฟค(รุ่นใหม่)ที่อยู่ในเครือเดียวกับไซโค-ช็อคเกอร์ในการเล่นอีกด้วย

 theme-classic-yu-gi-oh-card-game-jonouchi-joey-wheeler (17)

และด้วยความนิยมของไซโค-ช็อคเกอร์ ทำให้มีการผลิตการ์ดธีมตามมา เป็นทั้งมอนสเตอร์สายเดียวกันหรือมีความคล้ายคลึงกัน, การ์ดที่เป็นเรื่องราวของเจ้ามนุษย์ดัดแปลงตัวนี้ ไปจนถึงร่างพัฒนาของไซโค-ช็อคเกอร์ อย่างไซโค-ลอร์ด (ใบกลางแถวที่ 2) และ Jinzo Layered (ใบสีดำ) อีกด้วย

(โดยจะมีการ์ดเวทย์กับดักที่ล้อฉากในการ์ตูน แต่มีเอฟเฟคในการเล่นกับไซโค-ช็อคเกอร์ด้วยนะ)

 

 

 

theme-classic-yu-gi-oh-card-game-jonouchi-joey-wheeler (18)
Insect Queen การ์ดจาก อินเซ็คเตอร์ ฮางะ

        

เด็กเก็บแมลงหน้าตาน่าหมั่นไส้กับวีรกรรมเรียกเท้าคนอ่านอย่างฮางะนั้น ก็นับได้ว่ามีเด็คการ์ดที่เจ๋ง(ในยุคนั้น)และน่าจดจำไม่น้อย ฉะนั้นข้ามเรื่องคนไปพูดถึงการ์ดกันดีกว่า (นึกถึงฉากนั้นมากจะพาลให้หัวเสียเอาได้นะครับ)

theme-classic-yu-gi-oh-card-game-jonouchi-joey-wheeler (19)

แรร์การ์ดที่โจวโนะได้มาจากการชนะ “ผู้ใช้แมลงฮางะ” ก็คือ “การ์ดแมลงนางพญา” และเพราะการเล่นตุกติกของฮางะ ที่จ้างเด็กให้เอาการ์ด “แมลงพยาธิ” ไปใส่ไว้ในเด็คของโจวโนะก่อนการสู้กัน เลยทำให้หลังจากชนะโจวโนะเลยได้การ์ดแมลงพยาธิแถมมาด้วยอีกหนึ่งใบด้วยประการฉะนี้

       

นอกจากแมลงนางพญาและแมลงพยาธิแล้ว การ์ดอีกใบ(หรืออีกชุด)ที่คนอ่านยูกิรู้จักกันดีของฮางะ ก็คือ “เกรทมอธ” มอนสเตอร์ใบแรกที่ต้องใช้เวลาในการค่อยๆแปลงร่างตัวเองระหว่างต่อสู้ จากหนอนมาเป็นดักแด้ กระทั่งกลายเป็นร่างสุดยอดอย่างเกรทมอธ ที่มีพลังโจมตีสูงกว่าบลูอายเสียอีก เหมือนมอธร่าในก็อดซิลล่าเลย

 theme-classic-yu-gi-oh-card-game-jonouchi-joey-wheeler (20)

ในปัจจุบันถึงแม้จะมีการ์ดสายแมลง ออกมามากมาย แต่การ์ดที่นับได้ว่าเป็นธีมของนางพญากับแมลงพยาธินั้น ก็พึ่งจะได้มีการออกของใหม่มาได้ไม่นาน แถมยังมีจำนวนที่น้อยจนน่าน้อยใจเลยสำหรับคนชอบเด็คนี้ในอดีต แต่ถึงแม้จะไม่ได้มีของใหม่เยอะ หรือ น่าแขยงเท่ากับแมลงพยาธิตัวเก่า การ์ดที่ออกมาเสริมเหล่านี้ก็นับได้ว่าเป็นการ์ดเสริมเด็คแมลงที่เก่งกาจเอาเรื่องมากๆเลยล่ะครับ โดยเฉพาะนางพญาร่างใหม่ (ส่วนเกรทมอธ นั้นโผล่มาให้หายคิดถึงแค่ในการ์ดเวทย์กับดักเท่านั้นเอง)

 

 

 

theme-classic-yu-gi-oh-card-game-jonouchi-joey-wheeler (21)
Legendary Fisherman หรือ ชาวประมงในตำนาน การ์ดจาก คายิคิ เรียวตะ

แรร์การ์ดชาวประมงในตำนานใบนี้แม้จะไม่ได้มีเอฟเฟคโหดๆเหมือนไซโค-ช็อคเกอร์ หรือภาพติดตา(แบบแหยงๆ)ของแมลงนางพญากับแมลงพยาธิ แต่ด้วยฉากดวลที่มีวาฬป้อมปราการ กับเด็คน้ำของเรียวตะเป็นตัวล่อ แล้วอาศัยการ์ดพื้นที่อย่าง “การ์ดทะเล” ในการสนับสนุนการต่อสู้ทั้งการรุกและรับ ก็ทำให้ฉากที่แรร์การ์ดอย่างชาวประมงในตำนานที่ซุ่มสังหารมอนสเตอร์ของโจวโนะไปทีละตัว ได้เข้าไปอยู่ในความทรงจำของคนอ่านไปอย่างน่าจดจำเช่นกัน

 

*ในฉากเริ่มต่อสู้กับเรียวตะ มีฉากที่โจวโนะจั่วได้แมลงพยาธิ(ที่ลืมเอาออกจากเด็ค) จนเรียวตะเปิดการ์ดคลื่นน้ำซัดไล่ไปแบบหมดสนาม ซึ่งก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งฉากเรียกเสียงฮาในเวลานั้นได้เป็นอย่างดี

theme-classic-yu-gi-oh-card-game-jonouchi-joey-wheeler (22)

อย่างไรก็ตามด้วยบทบาทและความผูกพันกับการ์ดชาวประมงของเรียวตะ ที่เปรียบเหมือนกับเป็นตัวแทนพ่อของเขาที่หายตัวไปในทะเล ก็ทำให้ชาวประมงในตำนานในปัจจุบัน ได้ถูกต่อยอดขึ้นมาเป็น “ชาวประมงในตำนานรุ่นที่ 2และ3” ตามออกมา…(กับคอนเซ็ปต์ ที่อีกฝ่ายจะเลือกโจมตีมันไม่ได้ ถ้ายังอยู่ในเงื่อนไขของมันเช่น มีการ์ดทะเลอยู่บนสนาม)

 

อีกทั้งเด็คน้ำของเรียวตะ ยังเป็นจุดเริ่มต้นของ “เด็คน้ำ” ในการ์ดเกมของยูกิเรื่อยมา โดยเฉพาะกับวิธีการเล่นที่มอนสเตอร์ประเภทสัตว์น้ำ(หรือนางเงือก) มักจะมีการ์ดพื้นที่เป็นของตัวเองออกมาด้วย เช่น เมืองใต้บาดาลแอสแลนติส เป็นต้น

 

ซึ่งการ์ดพื้นที่เหล่านี้จะมีเอฟเฟคที่เหมือนกันเสมอคือ “การ์ดใบนี้จะถูกนับว่าเป็นการ์ดที่ชื่อทะเล” ทั้งนี้วาฬป้อมปราการของเรียวตะเอง ปัจจุบันก็ได้กลายมาเป็นมอนสเตอร์เอฟเฟคที่มีความสามารถมากขึ้น ส่วนมอนสเตอร์ทะเลตัวอื่นๆของเรียวตะ ก็มักจะไปโผล่อยู่ในการ์ดเวทย์กับดักที่มีความเกี่ยวข้องกับเด็คธาตุน้ำเสมอมา

theme-classic-yu-gi-oh-card-game-jonouchi-joey-wheeler (23)

นอกจากนี้ ถึงแม้จะเห็นว่าเด็คของโจวโนะนั้น เต็มไปด้วยการ์ดอย่างหลายๆธีมมารวมกันจนอยากจะเรียกว่า เด็คจับฉ่าย แต่สิ่งหนึ่งที่อยู่คู่กับเด็คของโจวโนะมาตลอดตั้งแต่แรกเริ่ม ก็คือการ์ดประเภท “เสี่ยงทาย” โดยเฉพาะกับการเสี่ยงทายกับลูกเต๋า(ต่างกับแบนดิต คิธ ที่เป็นการพนันและการเสี่ยงทายด้วยเหรียญ) โดยจะสอดคล้องกับชะตาชีวิตของเขาที่ ถึงแม้จะไม่ได้เก่งมาตั้งแต่แรก แต่เพราะมีโชคช่วย บวกกับความพยายาม และเพื่อนที่ดี ก็ทำให้เขาเติบโตขึ้นมายืนเคียงข้างดูเอลลิสระดับต้นๆในเรื่องได้ในที่สุด

 

 

และในบทความหน้าจะเป็นเด็คของใคร ก็ฝากติดตามกันต่อด้วยนะครับ(มีภาพแถมของ Meteor Black Comet Dragon กับ Archfiend Black Skull Dragon ให้ชมกันงามๆ ท้ายบทความด้วยนะ)

 theme-classic-yu-gi-oh-card-game-jonouchi-joey-wheeler (1)theme-classic-yu-gi-oh-card-game-jonouchi-joey-wheeler (25)theme-classic-yu-gi-oh-card-game-jonouchi-joey-wheeler (1)

 

บทความโดยWolfTales