รวมโครงรถทามิย่า mini 4wd ทุกรุ่น [อดีตถึงปัจจุบัน/รถแข่ง/มอเตอร์/ของเล่น]
23 กุมภาพันธ์ 2559 16:28 น.
Share on FacebookTweet about this on TwitterShare on Google+

Tamiya (001)

 

รวมมอเตอร์ทามิย่า

 

จัดว่าเป็นตำนานของ “สุดยอดของเล่นแห่งยุค 90″ ที่ไม่มีเด็กผู้ชายคนไหนไม่เคยเล่นก็ว่าได้ กันเรื่องราวของรถซิ่ง วิ่งในรางที่เรียกว่า “รถทามิย่า” 

ที่กลับมามีกระแสตามหัวเมืองต่างๆในกรุงเทพอีกครั้ง โดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้เล่นที่มีอายุ 20+ ขึ้นไป ซึ่งคนที่เล่นส่วนมากจะเป็นคนที่รักในความเร็วในพวกรถยนต์ อีกทั้งความชื่นชอบในการ์ตูนเรื่องดัง “นักซิ่งสายฟ้า Let’s & Go” ที่โด่งดังเป็นพลุแตกในยุค 90 เมื่อเด็กๆรุ่นนั้นเติบโต มีงานการทำแล้ว จึงอยากกลับมาเล่นอีกครั้ง อีกทั้งยังได้มีการพัฒนามากขึ้นจากสมัยก่อน มีกฏกติกาที่พัฒนาขึ้นตามยุคสมัย และรูปลักษณ์ของรถก็พัฒนาขึ้นเพื่อให้ดูสวยงามและมีสีสันสดใส น่าเล่นมากขึ้น ซึ่งในบทความนี้ แอดมินขอรวบรวมตัวถังรถทามิย่า จากอดีต ถึงปัจจุบัน พร้อมข้อดีของแต่ละแบบให้ได้อ่านกัน

 

 

Tamiya (02)

วิธีอ่านกราฟ จากทาง Official ของบ. ทามิย่า

-ACCELERATION

หรือค่าความเร่ง โดย Chassis ที่มีค่านี้สูง จะสามารถเร่งความเร็วไปสู่ความเร็วสูงสุดได้อย่างรวดเร็ว

 

-CORNERING

ความเร็วเข้าโค้ง ยิ่งมีค่านี้มาก รถจะสามารถเข้าโค้งได้อย่างรวดเร็ว (สังเกตได้ว่าเป็น Chassis ที่มีระยะห่างระหว่างล้อซ้ายและขวาที่แคบ)

 

-STABILITY

ค่าความมั่นคง โดย Chassis ที่มีค่านี้สูงจะหลุดออกจากรางได้ยาก เข้าโค้งได้อย่างมั่นคง (ซึ่งค่านี้จะตรงกันข้ามกับ Cornering คือ Chassis ที่มีระยะห่างระหว่างล้อซ้ายและขวาที่กว้าง)

 

-ADAPTABILITY

ค่าความยากง่ายในการดัดแปลง ยิ่งค่ามากหมายถึงมีอะไหล่รองรับการดัดแปลงมาก (ค่านี้แปรผันตรงกับรูเซ็ตติ้ง โดย Chassis ที่ออกมาใหม่ๆจะได้เปรียบ Chassis เก่าๆตรงหาอะไหล่ได้ง่าย)

 

-EASE OF MAINTENANCE

การดูแลรักษา โดย Chassis ที่ถอดประกอบ เปลี่ยนเกียร์และมอเตอร์ได้ง่ายจะมีค่านี้สูง (ค่านี้ไม่มีผลเวลาแข่งขันความเร็วตามปกติปกติ ยกเว้นการแข่งแบบมาราธอน)

 

-TOUGHNESS

ค่าความแข็งแรงคงทน โดยมีค่านี้มาก Chassis จะมีการบิดตัวและแตกหักได้ยาก (การบิดตัวที่น้อย องศาโรลเลอร์ไม่เปลี่ยน จะส่งผลดีต่อการเข้าโค้งที่มั่นคงด้วย)

 

Tamiya (27)

 

“6 รุ่นในตำนาน” (1986/1988/1989/1990)

 

 บ.Tamiya นั้นได้ผลิตรถ Mini4wd มามากมายหลายแบบ โดยโครงรถแบบ Type ซีรี่ยส์ คือการบุกเบิกการแข่งรถในราง ซึ่งรถเหล่านี้ จะมาจากการ์ตูนเรื่อง “Dash Yonkuro” หรือชื่อไทยคือ “แดชจิ๋วจอมซิ่ง”  มีทั้งหมด 6 โครง ได้แก่ Type 1 / Type 2 / Type 3 /Type 4/ Type 5  และ Type ZERO 

 

โดยโครงทั้งหมด 6 แบบนี้ กลายเป็นของหายาก และไม่่รองรับอะไหล่รุ่นใหม่ๆตามท้องตลาด เหมาะสำหระับนักสะสมมากกว่า อีกทั้งอัตราส่วนของความเร็วค่อนข้างช้า ถ้าเทียบกับรถรุ่นใหม่ๆในปัจจุบัน เพราะตัวรถมาพร้อมกับเฟืองเกียร์ที่มีอัตราทดเพียง “11.2:1″ (หมายถึง มอเตอร์หมุน 11 รอบ ล้อจะหมุน1รอบ) 

 

 

Tamiya (26)

FM และ Super FM มอเตอร์หน้าบ้าพลัง! (1990 / 1996)

FM และ Super FM เป็นโครงที่วางมอเตอร์ด้านหน้า เป็นการออกแบบเพื่อรีดพลังอัตตราเร่งของมอเตอร์เพื่อใช้ใน “ทางขึ้นลงเนินเขา” และ “ทางตรง” ออกมาให้ถึงขีดสุด โดย FM เป็นโครงรุ่นเก่าพอๆกับโครง Type ซึ่งเหมาะแก่การเก็บสะสม 

 

ส่วน Super FM นั้นอายุก็พอๆกับ Super 1ที่ปัจจุบันมรีการนำมาผลิตซ้ำ ( รุ่นพิเศษ) ด้วยการเปลี่ยนวัสดุเป็นคาร์บอนน้ำหนักเบา และเหนียวกว่ารถกล่องปกติ จึงเป็นบอดี้อีกแบบที่มีคนนิยมนำมาเล่นในปัจจุบัน ซึ่งคุณสมบัติต่างๆนี้เอง จึงทำให้เป็นตัวถังคลาสสิคข้ามกาลเวลา และยังเป็นรุ่นแรก ที่มี “ก้ามปู”สำหรับใส่โรลเลอร์ด้านหลังด้วย

 

 

Tamiya (25)

SUPER -1  สายซิ่งกระดูกเปราะ! (1993)

โครง SUPER-1 เคยได้รับความนิยมสูงมากในอดีต เพราะเป็นโครงรถที่ออกแบบมาจากการ์ตูนเรื่อง “Let’s & Go” หรือ “นักซิ่งสายฟ้า” อันโด่งดังจากยุค 90 และเป็นการ์ตูนที่จุดประกายวงการรถทามิย่าให้บูมในยุคนั้น ด้วยตัวถังน้ำหนักที่เบา มีส่วนทำให้เร่งความเร็วได้ดี และมีความคล่องตัวสูง ข้อเสียหลักๆของรุ่นนี้คือ “ความเปราะบางของตัวโครงรถ” หลุดโค้ง ชนของ ตกราง ไม่เกิน 5 รอบ มีแตกร้าว เสียหายแน่นอน เพราะสนามในยุคนั้น จะเป็นสนามที่เน้นความเร็วสูง ทางตรงยาวโคตรๆเป็นส่วนใหญ่ (และแหกโค้งทุกที) ซึ่งต่างจากสนามสมัยนี้ ที่มีเนินกระโดดค่อนข้างเยอะเน้นเทคนิคการจูนรถที่มากกว่าแต่ก่อน ทำให้ SUPER -1ได้รับความนิยมน้อยลงไปตามกาลเวลา…

 

 

Tamiya (20)

SUPER -2 ร่างอวตารจากอดีต! (2010)

โครง SUPER-2 เป็นโครงรถ ที่พัฒนาต่อยอดจากของเก่านานถึง 17 ปี!! โดยตัวถังรุ่นนี้ยังคงคุณสมบัติความเบา และความเร็วเหมือนเดิม โดยวัสดุที่ใช้ทำโครงนี้มีตั้งแต่ ABS จนถึง Carbon และเพิ่มจุดยึดต่างๆ เพื่อให้สามารถรองรับอะไหล่ในปัจจุบันได้ โดยรถที่เคยผลิตใช้กับ Super 1 ในอดีต ก็จะถูกผลิตใหม่ในปัจจุบัน โดยใช้โครง Super 2 แล้วแปะคำว่า “Premium” ลงไป

 

 

ACER

Super TZ และ Super TZX มหาอุตม์ทะลุมิติ (1996/1999)

เมื่อการออกแบบของ SUPER-1 มีปัญหาด้านความแข็งแรงของตัวถังรถ บ.ทามิย่าจึงออกแบบตัวถังรุ่นใหม่ ที่มีชื่อว่า “Super TZ” โดยจะเป็นตัวถังที่มีน้ำหนักมากกว่า SUPER-1 แต่ว่าความคงทนจะสูงกว่าเยอะมาก เรียกได้ว่า “พังยากที่สุดในบรรดาที่ทำออกมาขายเลยก็ว่าได้” นอกจากนั้น ตัวถัง TZ มีความโดดเด่นในทางตรง อีกทั้ง”ช่วงรถที่ยาว” จึงทำให้เพิ่มการยึดเกาะถนนทำได้ดีกว่าเดิม และยังเป็นตัวถังที่ออกมาช่วงครึ่งหลังของการ์ตูน“Let’s & Go” หรือ “นักซิ่งสายฟ้า” ด้วยครับ…

 

ส่วน TZX จะมีคุณสมบัติแบบเดียวกับ TZ แต่มันถูกออกแบบมาในยุคหลังจากนั้นหลายปี โดยตัวถังรุ่นนี้จะเพิ่มตัวยึดน๊อตที่กันชนหน้า6 ตัว ซึ่งเป็นส่วนช่วยในการโมดิฟายรถให้ง่ายกว่าเดิม และก้ามปูหลังของตัวถัง TZ จะยึดน็อตได้เพียงตัวเดียว แต่ TZX นั้นยึดน็อตได้สองตัว ซึ่งการนำมาแต่งจะง่ายและแข็งแรงกว่า TZ เพราะกันชน ยุคใหม่ๆจะใช้การยึดน็อตเป็นส่วนมาก แต่สามารถนำอะไหล่มาใช้ร่วมกันได้ทั้งสองรุ่น

 

 

Tamiya (21)

VS Chassis ซิ่งทะลวง8ชั้นบรรยากาศ! (1999)

คิดว่าโครง SUPER-1 เป็นโครงที่บอบบางที่สุดแล้ว? ไม่เลย เพราะนี่คือโครงที่เบาบางยิ่งกว่า ทำความแรงได้มากกว่า แต่ด้วยราคาที่ถูกกว่า (กรณีขายปลีกแยกโครง) และการปรับแต่ เสริมสมรรถนะที่ง่ายกว่า จึงเป็นที่นิยมในยุคปัจจุบันเช่นกัน

 

 

Tamiya (4)

Super-x และ Super-xx ยักษ์ใหญ่ไล่ยักษ์เล็ก! (1998 / 2009)

เป้นโครงที่สร้างความปวดหัวแก่ผู้เล่นมากที่สุดเท่าที่บ.ทามิย่าทำออกมา โดยทั้งคู่เป็นโครงมีความโดดเด่นเรื่องความสมดุล เพราะฐานล้อที่กว้าง และ ช่วงรถที่ยาว ทำให้เกาะถนนดีเยี่ยม ไม่มีแหกโค้งแน่นอน! แต่ทว่าด้วยความที่เป็นรถทรงใหญ่ จึงมีน้ำหนักที่มากซึ่งมีผลต่อความเร็ว ไม่ว่าจะทางโค้งหรือทางตรง ก็จะช้ากว่าชาวบ้านเค้าเสมอ 

และ Super-xx จะเป็นโครงที่พัฒนาหลังจากSuper-x  10ปีเต็มๆ โดยเป็นบอดี้ที่เพิ่มทรง ขนาด แต่จะลดน้ำหนักให้มากกว่าเดิม เพราะใช้วัสดุที่ต่างจากของเวอร์ชั่นเก่า

 

 

Tamiya (12)

Aero Chassis หรือ AR เล่นง่าย แต่ซ่อมยาก! (2012)

จัดเป็นโครงรถทามิย่ายุคใหม่ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย อะไหล่หาง่าย แต่ได้สารพัดแนวทาง แถมยังใส่ถ่าน และเปลี่ยนมอเตอร์ได้โดยไม่ต้องถอดบอดี้ เพราะที่ว่ามานั่นเปิดใต้ท้องรถก็จัดการได้เลย แต่ข้อเสียมีเพียงเรื่องของระบบเฟืองเกียร์ที่ต้องใช้ความระมัดระวังในการใส่ เพราะถ้าใส่ผิด ไม่ลงเขี้ยวล๊อก เฟืองอาจจะคด เบี้ยวผิดรูป หรืออาการ “เฟืองรูด” นั่นเอง มือใหม่หลายๆคนอาจจะต้องเสียเวลาทำความเข้าใจระบบการวางเครื่องที่แปลกประหลาดกว่าที่เคยๆเล่นกันมาซักหน่อย…

 

 

ms_chassis

MS Chassis ศักราชใหม่ของรถทามิย่า มอเตอร์กลางมาแล้ว!!

ตัวถังรุ่นนี้โดดเด่นมากในแง่ของการออกแบบ ด้วยการที่เอามอเตอร์ของรถมาอยู่กลางลำ ตัดระบบเพลา4ล้อทิ้ง แล้วให้เฟืองทั้ง4ล้อ ทำงานผ่านมอเตอร์โดยตรง ทำให้เครื่องเดินเรียบ ไร้เสียงรบกวน มีความสมดุลย์สูงมาก เพราะน้ำหนักที่มากองกันที่กลางตัวรถนั่นเอง โดยตัวถังชนิดนี้ จะสามารถถอดออกได้ 3 ชิ้น สามารถเปลี่ยนชิ้นส่วนล้อหน้า-หลังได้ทันที

 

ข้อเสียหลักคือเป็นตัวถังที่มีน้ำหนักสูงเท่านั้น (แต่ก็ถือเป็นข้อดีเวลาเจอสนามที่มีเนินจั๊มป์เยอะๆ) ช่วงตัวถังที่ยาว จึงทำให้เกาะถนนได้ดี และเป็นตัวถังที่นิยมมากในการเล่นแข่งประเภท J-Cup

 

 

 

Tamiya (22)

MA Chassis (2013)

เป็นโครงรถที่พัฒนาจากสาย “MS Chassis มอเตอร์ขับกลางลำ” ข้อดีคือปรับแต่งได้เยอะมาก น้ำหนักเบา อุปกรณ์รองรับได้หลากหลาย เหมาะกับสาย STD  แต่ข้อเสีย คือแงะออกมาซ่อมแซม หรือโมดิฟายในส่วนห้องเครื่องยากที่สุดในบรรดารถทั้งหมดของทามิย่าที่ทำออกมา

 

การแข่งขัน

 

Tamiya (5)

 

โดยทั่วไปจะมีทั้งหมด 4-5 รุ่น เช่น รุ่น J-cup หรือ Japan Cup ก็จะใช้กติกาของญี่ปุ่นที่กำหนดมาให้ ซึ่งผู้ที่เป็นแชมป์ของรุ่นนี้จะได้รางวัลไปทำการแข่งขันที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นรุ่นเดียวที่จะได้รางวัลนี้ ทำให้มีคนนิยมเล่นเป็นจำนวนมาก รุ่น Open ก็จะปรับแต่งความเร็วได้เต็มที่  ไม่ว่าการตัดตกแต่ง Body เฟือง หรือ ล้อ ได้ตามเทคนิคของแต่ละคน

 

รุ่น Junior ก็จะเป็นการแข่งขันของรถที่ไม่มีการแต่งอะไรมากมาย เปลี่ยนได้แค่ Roller ที่เป็นพลาสติก ของทามิย่า รุ่น Open Box จะเปนการแข่งที่ไม่แต่งอะไรเลย เราต้องนำรถที่เพิ่งประกอบเสร็จจากกล่องมาทำการแข่งขัน เป็นต้น โดยสามารถศึกษา กฎและกติกาแบบละเอียดได้ที่เวป Official ของทางบ.ทามิย่าได้เลยครับ คลิก

 

 

Tamiya (011)

ที่ตึกเมก้า สะพานเหล็ก ก็มีให้เล่นนะเออ ใครว่างๆก็ลองแวะเวียนได้ คนเยอะมาก!!

 

Tamiya (28)

รถเก่า-ใหม่ ที่ออกวางตลาดในช่วงหลายปีให้หลังจากการ์ตูน “นักซิ่งสายฟ้า”จบลงไป ถึงที่ไทยจะกระแสตกวูบในช่วงนั้น แต่ที่ญี่ปุ่นก็มีพัฒนาการมาโดยตลอด

 

Tamiya 29

“แม็กนั่ม” และ “โซนิค” โฉมใหม่ในยุคโซเชี่ยล โฉบเฉี่ยวบาดใจ…เนื้อเรื่องก็ไปไกลถึงรุ่นลูกของพระเอกไปแล้ว…

 

Tamiya  (30)

“ไทรแด๊กเกอร์ ดับเบิ้ลเอ็กซ์” รถสวยดุสุดเท่จากภาคเก่า ก็ผ่านการอัพเกรดแล้ว รูปทรงยังกะรถในฟาสท์7

 

 

Tamiya (1)

รถ Mini4WD หรือที่เราๆเรียกกันว่ารถทามิย่า ถือเป็นของเล่นเก่า ที่มีพัฒนาการมาตามยุคสมัย และยังอยู่ในใจของ “ผู้ใหญ่หัวใจละอ่อน” เสมอมา ด้วยการที่มีสื่อโซเชี่ยลเนตเวิร์ค ทำให้เกิดกลุ่ม สมาคม หรือ ชมรมคนเล่นรถทามิย่ามากขึ้น มีสนามให้เล่นอย่างเป็นทางการมากขึ้น ก่อให้เกิดสังคมคนเล่รนขนาดเล็ก ใหญ่มากมาย ถือเป็นของเล่น ของสะสมที่น่าาจับตามองมากที่สุดในขณะนี้อีกอย่างเลยทีเดียว!!

 

 

 

แอดมิน Ak47