“Storage Devices” กับประเภทของการใช้งานที่ควรรู้
03 สิงหาคม 2560 16:01 น.
Share on FacebookTweet about this on TwitterShare on Google+

Storage_Devices_01_1

 

ความสำคัญหนึ่งที่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้งานให้ความสำคัญไม่แพ้อุปกรณ์ชิ้นอื่นๆ อย่างStorage Devices ที่เป็นตัวบันทึกข้อมูลต่างๆ บนคอมพิวเตอร์  ซึ่ง Storage Devices ก็มีประเภทและรูปแบบของการเลือกใช้งานอยู่เหมือนกัน

 

บทความนี้เลยขอเสนอ “Storage Devices กับประเภทของการใช้งานที่ควรรู้” ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้น  ลองเข้ามาอ่านกันเลย… 

 

 

 

 

 

Storage Devices เป็นคำเรียกของ “สื่อบันทึกข้อมูล” หรืออุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลต่างๆ เพื่อการใช้งาน  ซึ่ง Storage Devices มีให้ใช้ทางแบบภายนอกเครื่องจำพวก Flash Drive, Floppy Disk  และแบบที่เป็นอุปกรณ์ภายในอย่าง HDD และ SSD  โดยความสำคัญของ Storage Devices จะอยู่ที่อุปกรณ์ติดตั้งแบบภายในมากกว่า  เพราะจำเป็นต้องใช้การลงโปรแกรมระบบปฏิบัติการอย่าง Window หรือ Macintosh บนคอมพิวเตอร์เพื่อเปิดใช้งานนั่นเอง 

 

 

Storage Devices ที่ติดตั้งแบบภายในสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันสองประเภทคือ HDD และ SSD ซึ่งมีความแตกต่างกันดังนี้…

 

 

 

 

 

1. HDD

 

Storage_Devices_03

 

เป็นคำย่อมาจาก Hard Disk Drive (ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลหรือ Storage Devices ที่ใช้งานอย่างแพร่หลายในคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน  โดยลักษณะการทำงานของ HDD จะเป็นรูปแบบของ “จานแม่เหล็กหมุนด้วยมอเตอร์” ที่มีหัวเข็มสำหรับใช้เขียนและอ่านข้อมูลอยู่ตลอดเวลา  มีความเร็วในการหมุนอยู่ที่ 5,000 ถึง 7,000 รอบ/นาที (rpm ย่อมาจาก Revolutions per minute) ซึ่งความเร็วในการเขียนและอ่านข้อมูลจะมีความสัมพันธ์ไปกับความเร็วในการหมุนของฮาร์ดดิสก์ด้วย

 

 

 

Storage_Devices_04

 

HDD จะคอยบันทึกข้อมูลต่างๆ ลงบนจานแม่เหล็กแบบทีละวง  ซึ่งเริ่มจากวงนอกสุดมาจนถึงวงในสุด  โดยความเร็วในการหมุนของจานแม่เหล็กจะมีรอบการหมุนที่มากตรงแถบวงนอก  รวมถึงการบันทึกหรือดึงข้อมูลของ HDD ในบางครั้งจะเกิดอาการ “หน่วง” เพราะหากข้อมูลที่ต้องการใช้งานมีไฟล์ขนาดใหญ่  อาการหน่วงของ HDD ก็จะมีมากตาม… หาก HDD มีรอบความเร็วในการหมุนที่น้อย  การหน่วงก็ยิ่งนานขึ้นเวลาใช้งานไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่นั่นเอง

 

 

 

 

Storage_Devices_07_1

 

ภาพชัดๆ ของจานแม่เหล็กและหัวเข็มของ Storage Devices แบบ HDD

 

 

 

ข้อดี ของ Storage Devices ประเภท HDDคือมีราคาที่ถูก  มีความจุที่มากต่อการใช้งานกว่าแบบ SSD

 

 

ข้อเสีย ของ Storage Devices ประเภท HDD คือค่อนข้างบอบบาง  หากมีการตกกระทบลงพื้นอาจทำให้หัวอ่านกระทบเข้ากับจานแม่เหล็กจนเกิดความเสียหายได้  รวมถึงความร้อนสะสมในการใช้งานจากมอเตอร์จานแม่เหล็ก  เมื่อมีการใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ นั่นเอง

 

 

 

 

2. SSD

 

Storage_Devices_05 

 

เป็นคำย่อมาจาก Solid State Drive (โซลิด สเตต ไดรฟ์) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลหรือ Storage Devices แบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมในคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ โดยลักษณะการทำงานของ SSD จะเป็นรูปแบบของ“ชิปวงจร” (Chip) หรือ ไมโครโพรเซสเซอร์” (Microprocessor) คือการบันทึกข้อมูลเป็นประจุไฟฟ้าลงบนตัวชิปวงจรในแบบที่เรียกทางศัพท์คอมพิวเตอร์ว่า NAND Flashโดยไม่จำเป็นที่ต้องใช้ไฟฟ้าเลี้ยงเพื่อรักษาข้อมูลตลอดเวลา ทั้งยังสามารถเรียกการใช้งานของข้อมูลที่รวดเร็วกว่าแบบ HDD อยู่มากเลยทีเดียว

 

 

 

Storage_Devices_06

แผงวงจรที่ประกอบไปด้วยชิปเซ็ตบน Storage Devices ประเภท SSD

 

 

 

ข้อดี ของ Storage Devices ประเภท SSD คือมีความคงทนและค่อนข้างประหยัดการใช้ไฟฟ้า  ความร้อนน้อยกว่าแบบ HDD

 

 

ข้อเสีย ของ Storage DevicesประเภทSSDคือมีราคาค่อนข้างแพง  รวมถึงมีเนื้อที่ในการบันทึกข้อมูลน้อยกว่า HDD

 

 

 

 

ความคุ้มค่าระหว่างของ Storage Devices ประเภท HDD กับ SSD ?

 

Storage_Devices_08

 

ในส่วนของความคุ้มค่าของการเลือกใช้งาน Storage Devices บนคอมพิวเตอร์  ต้องดูที่ประโยชน์และงบประมาณที่ต้องการของผู้ใช้งาน  ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว… Storage Devices แบบ HDD ยังถือเป็นแบบที่ใช้งานอย่างแพร่หลายในท้องตลาด  เพราะด้วยราคาที่ถูกและความจุในการเก็บข้อมูลที่เยอะกว่าแบบ SSD นั่นเอง

 

 

แต่ในปัจจุบันทางผู้ผลิต Storage Devices จำนวนหลายรายต่างเริ่มพัฒนา Storage Devices แบบ SSD ให้มีราคาที่ถูกลงมากขึ้น  ก็เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานที่มองเห็นถึงความคุ้มค่าและอายุการใช้งานของ SSD ที่ในอนาคตอาจจะมาแทนที่HDD ก็เป็นได้

 

 

 

============================

 

 

 

นี่ก็เป็นบทความและข้อมูลของการเลือกใช้งาน Storage Devices ที่ได้นำมาฝากกัน  ถ้าชอบบทความนี้ก็สามารถคอมเม้นท์กันได้นะครับผม

 

 

@Save สาย Pay