**ข้อมูลมาจากหนังสือในรูปนี่แหละ**
Project Zeta หรืออีกชื่อหนึ่ง “Z Plan” เป็นโครงการพัฒนาโมบิลสูทประเภท “Transformable” หรือโมบิลสูทที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปร่างได้ โดยโครงการนี้เกิดขึ้นด้วยความร่วมมือกันระหว่าง Anaheim Electronics และ AEUG โมบิลสูทที่อยู่ภายใต้โปรเจคนี้จะถูกแบ่งออกเป็นซีรีย์ย่อยโดยตั้งชื่อด้วย “อักษรกรีก”
หลายคนอาจจะเคยพบเจอตัวอักษร ” ζ “ แบบนี้เมื่อเห็นอาร์ทของกล่อง Z Gundam และใช่ครับตัวอักษร ζ ตัวนี้อ่านว่า “Zeta” นั่นเอง ( ζ เป็นตัวพิมพ์เล็ก หากเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ก็จะเขียนเป็นตัว Z นี่เลย)
ยังมีกันดั้มและโมบิลสูทอีกหลากหลายตัวที่ถูกสร้างขึ้นภายใต้ Project Zeta นี้ เชื่อว่าต้องเป็นตัวที่ทุกคนเคยเห็นเคยพบอย่างแน่นอน โปรเจ็คนี้ตัวเด่นๆเพียบ !
• RMS-099 Rick Dias (codename: γ Gundam)
โมบิลสูทแมสโปรดักต์รุ่นแรกที่อนาไฮม์และ AEUG ร่วมกันสร้างสำเร็จภายใต้โค้ดเนม Gamma Gundam ดวงตาของ ริค ดีอัส (บางคนอ่านว่า ริคเดียส) เป็นโมโนอายคล้ายคลึงกับแบบที่ฝั่ง Zeon ใช้งานด้วยเหตุผลที่ว่าวิศวกรหลายคนที่มีส่วนในการพัฒนาหุ่นตัวนี้เคยทำงานให้กับฝั่ง Zeon มาก่อนนั่นเอง
อีกจุดหนึ่งที่แปลกและแตกต่างของริค ดิอัส เมื่อเทียบกับหุ่นที่ผลิตในเวลาไล่ๆกัน ก็คือการที่ค็อกพิทของหุ่น ไม่ได้อยู่บริเวณอกหรือลำตัว แต่กลับอยู่บริเวณหัวของหุ่นเลย
ปรากฏตัวในมังงะ Mobile Suit Zeta Gundam Define ที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2011 ซีโร่ชิกิเป็นโมบิลสูทโปรโตไทป์ของ AEUG ที่สร้างต่อยอดมาจากข้อมูลของ Rick Dias ดีไซน์ของหุ่นได้รับอิทธิพลมาจากริค ดิอัสอยู่บ้าง ชัดๆก็ตรง Binder ด้านหลัง สีของหุ่นเป็นสีแดงอันโดดเด่นที่ตัวผมนั้นเชื่อว่าทุกท่านคงเดาได้เลยว่าใครเป็นไพล็อทประจำของหุ่นตัวนี้
นอกจากนี้แล้ว ซีโร่ ชิคิ สามารถติดตั้ง Flight Unit เพิ่มด้านหลังได้ด้วย ดูเท่เอาเรื่องเหมือนกัน
• MSK-008 Dijeh
โมบิลสูทที่กลุ่ม Karaba ทุ่มเทกำลังทุนและเทคโนโลยีทั้งหมดที่มีในเวลานั้นสร้าง Dijeh ขึ้นมาโดยใช้ Rick Dias ที่ AEUG ได้ทิ้งเอาไว้หลังจากจู่โจมที่จาบูโร นอกจากนี้ยังได้ใช้ข้อมูลต่างๆจากตัว MSA-003 Nemo เข้ามาช่วยในการพัฒนาเรื่องของการบิน ทำเอา Dijeh กลายเป็นโมบิลสูทที่ภายนอกอาจดูธรรมดา แต่สมรรถนะคู่ควรกับเหล่าเอสไพล็อทไปเลย
Dijeh ได้ปรากฏตัวในภาค Zeta Gundam ช่วงสงคราม Gryps War ขับโดย Amuro Ray และไปโผล่อีกทีในภาค Narrative ในบทบาทของโมบิลสูทที่กลุ่ม Luio & Co. มีไว้ในครอบครอง
2. δ Gundam series
• MSN-001 Delta Gundam (codename: δ Gundam) : หุ่นสีทองอร่ามดีไซน์สุดเท่ที่ไม่มีโอกาสได้เกิดมาโลดแล่นในจักรวาล UC … Delta Gundam เป็นโมบิลสูทตัวแรกในไลน์ “Delta” ทั้งหลายที่ดันไม่สามารถสร้างออกมาเพื่อให้ใช้งานจริงได้ เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยี ณ เวลานั้น ทำให้โครงสร้างของหุ่นยังไม่แข็งแรงพอที่จะรองรับระบบเปลี่ยนร่างได้
แต่อย่างไรก็ตาม ดีไซน์ของเดลต้ากันดั้มก็ไม่ได้ถูกทิ้งเปล่า ข้อมูลของเดลต้ากันดั้มได้ถูกนำไปต่อยอดและผลิตเป็นโมบิลสูทที่ไม่สามารถแปลงร่างได้อย่าง MSN-00100 Hyaku Shiki และหลังจากนั้นไม่กี่ปี อนาไฮม์ก็ได้รื้อ Delta ขึ้นมาอีกครั้งและสร้างจนเสร็จสมบูรณ์ในนาม “Delta Plus” นั่นเอง
อีกหนึ่งโมบิลสูทที่ได้เป็นเพียงดีไซน์ ไปได้มากสุดแค่เป็น Computer Simulation เนื่องจาก เดลต้า กันดั้ม II เป็นหุ่นที่ใช้เวลาในการสร้างนานเกินไปและไม่ทันใช้ในปี 0087 ทำให้สุดท้ายก็โดนเก็บขึ้นหิ้งไป โมบิลสูทตัวนี้ปรากฏตัวในหนังสั้น Competition of New Gundam: Red or White
ผลผลิตที่เป็นรูปเป็นร่างของ Delta Gundam แต่ตัว Delta Plus ก็ยังถูกจัดว่าเป็นโปรโตไทป์โมบิลสูทอยู่ เจ้าตัวนี้เริ่มสร้างตั้งแต่ช่วงปี 0090 แต่ได้เริ่มออกโรงจริงๆก็ตอนปี 0096 ในภาค Unicorn อย่างที่พวกเราทราบกันดี
• MSN-001X Gundam Delta Kai (codename: δX Gundam)
ปรากฏตัวในภาคมังงะ Mobile Suit Gundam U.C. 0094: Across the Sky และเกม Mobile Suit Gundam Unicorn พัฒนาต่อมาจากเดลต้า พลัส และเป็นหุ่นในไลน์ “Delta” ตัวสุดท้ายของอนาไฮม์
Delta Kai ได้ถูกติดตั้ง ระบบ n_i_t_r_o หรือ Newtype Injection Trace Reformed Oldtype ที่ทำให้นักบินเปลี่ยนเป็น Cyber-Newtype ชั่วขณะพร้อมทั้งหุ่นจะมีประกายสีฟ้าเปล่งออกมา ระบบ nitro ถือว่าเป็นระบบที่อันตรายต่อตัวนักบิน เปลี่ยนให้บุคลิกมีความดุดันก้าวร้าว และไม่เสถียร ด้วยเหตุนี้ เดลต้า ไค จึงถูกปรับระบบและส่งไปปฏิบัติงานบนโลกแทน พร้อมกับติดตั้งเกราะใหม่ในร่าง Land Combat Type
โมบิลสูทสีทองอร่าม ผลผลิตจากโครงการพัฒนา Delta Gundam คำว่า Hyaku ในชื่อของหุ่นแปลว่า “100” ในภาษาญี่ปุ่น ที่มาของชื่อนี้ได้มาจาก ผู้พัฒนาหุ่นตัวนี้ต้องการให้ดีไซน์ของหุ่น Hyaku Shiki ตัวนี้เปล่งประกายและคงอยู่ไปอีก 100 ปี
3. ε Gundam series
• Epsy Gundam หรือ EPSILON GUNDAM
อีกหนึ่งโมบิลสูทที่เกิดมาได้เป็นแค่เพียงแปลนเปล่าๆ Epsy Gundam ถูกบันทึกไว้ว่าจะมีการนำระบบขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ “Nuclear Pulse Propulsion” เข้ามาใช้งาน ซึ่งในทางทฤษฏีแล้ว การใช้พลังงานนิวเคลียร์จะช่วยให้หุ่นสามารถใช้งานได้เป็นเวลานานมาก แต่อย่างไรก็ตาม โมบิลสูทตัวนี้ก็เป็นเพียงโปรเจ็คที่เจ๊งไปแล้วของอนาไฮม์
4. ζ Gundam series
• MSZ-006 Zeta Gundam (codename: ζ Gundam)
โมบิลสูทดาวเด่นแห่ง Project Zeta เซต้า กันดั้มถือว่าเป็นโมบิลสูทที่ประสบความสำเร็จในด้านโครงหุ่นที่แข็งแรง พอที่จะสามารถรองรับการปรับเปลี่ยนรูปร่างได้ (หลังจากที่ Delta Gundam ล้มเหลวไป) ต้องขอบคุณข้อมูลโครงสร้างหุ่นที่อนาไฮม์ได้มาจาก Gundam MK-II ร่วมกับไอเดียการดีไซน์จาก คามิว บีดัน ด้วย ที่ทำให้โปรเจคท์นี้สำเร็จ
• MSZ-006A1 Zeta Plus A1
เมื่อกองทัพนั้นอยากที่จะผลิต Zeta Gundam ออกมาแบบแมสโปรดักต์ แต่ว่าค่าใช้จ่ายในการสร้างหุ่นออกมานั้นช่างสูงเหลือเกิน … Karaba จึงได้ทำการดัดแปลงดีไซน์ของเซต้าโดยทำการตัดระบบการบินในระดับความสูงเทียบชั้นบรรยากาศ และระบบรองรับการบินฝ่าชั้นบรรยากาศทิ้งไปเลย เกิดเป็น Zeta Plus (และถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Zeta Plus A1)
อีกหนึ่งส่วนที่เห็นได้ชัดคือด้านหลังของ Zeta Plus เปลี่ยนมาติดตั้ง Wing Binders แบบที่ Hyaku Shiki ได้ใช้งาน แทนที่จะเลือกใช้แพ็คด้านหลังแบบเดียวกันกับ Zeta Gundam
• MSZ-008 ZII
พัฒนาต่อมาจาก Zeta Gundam โดยมีโครงสร้างหุ่นที่ไม่ซับซ้อนเหมือนอย่าง Zeta และได้ทำการตัดระบบการบินบนโลกทิ้งไป เรียกได้ว่าสร้างมาเพื่อใช้งานบนอวกาศโดยเฉพาะเลย ดังนั้นแล้วเรื่องการบินในอวกาศเรียกได้ว่าเครื่องแรงกว่าตัว Zeta แน่นอน แถมหุ่น ZII ตัวนี้ยังถูกนำไปเป็นแบบในการพัฒนา ReZEL ต่อไปอีกด้วย
นอกจากนี้ยังแยกย่อยสายออกมาเป็น Z III ได้ด้วย แต่รูปร่างไม่หนีจาก Z ตัวแรกเท่าไหร่ ตัวนี้ อามุโร่ใช้บินเล่นทดสอบขำๆเท่านั้น
• RGZ-95 ReZEL
แฟนๆภาคยูนิคอร์นต้องมีหลงไหลในโมบิลสูทตัวนี้กันบ้าง … ReZEL หรือชื่อเต็ม REfined Zeta Gundam Escort Leader เป็นโมบิลสูทรุ่นแมสโปรดักต์ที่เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จเลยสำหรับเป้าหมายการผลิต Zeta Gundam ให้เป็นรุ่นผลิตจำนวนมาก หุ่นตัวนี้สืบทอดคอนเซปท์พัฒนามาจาก ZII แถมยังได้แรงบันดาลใจในแง่ของการแปลงร่างแบบง่ายๆไม่ซับซ้อนมาจาก MSA-005 Methuss อีกด้วย
5. η Gundam series
• MSZ-007 Z Rapier I (codename: η Gundam)
อีกหนึ่งโมบิลสูทที่อนาไฮม์พยายามสร้างโดยการนำ Zeta Gundam มาพัฒนาต่อยอดไปอีกขั้น Z Rapier I ตัวนี้ใช้แบ็คแพ็คแบบเดียวกันกับ Zeta Gundam เลยหากแต่มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้โครงการพัฒนาหุ่นยังได้เหล่าผู้ออกแบบหุ่นตระกูล Rick Dias เข้ามามีส่วนร่วมเลยทำให้บอดี้ของหุ่น Z Rapier I ดูแน่นหนาเช่นเดียวกับ Rick Dias ไม่มีผิด
แต่อย่างไรก็ตาม น่าเสียดายที่หุ่นตัวนี้ก็เป็นอีกหนึ่งตัวที่ไม่สามารถสร้างได้จนเสร็จ เนื่องจากอนาไฮม์ในเวลานั้นได้เบนความทุ่มเทไปหาการสร้าง ZZ Gundam
• MSZ-009M Mega Zeta
แวริเอชั่นของ Prototype ZZ Gundam ที่ปรากฏตัวในมังงะ Mobile Suit Vs. Giant God of Legend: Gigantis’ Counterattack มีนักบินถึงสองคนเลยด้วยกัน นั่นก็คือ จูโด้ อาชิตะ และ อามุโร่ เรย์
• MSZ-010 ZZ Gundam (codename: θ Gundam)
หุ่นพระเอกจากภาค Mobile Suit Gundam ZZ อย่างที่เรารู้จักกันอย่างดี ZZ Gundam เป็นหุ่นที่พัฒนาโดยตรงมาจาก Z Gundam แต่รู้หรือไม่ว่าจริงๆแล้วแผนการสร้าง ZZ นั้นเกิดขึ้นก่อนที่ Z Gundam จะเสร็จสมบูรณ์ถึง 2 ปีเลยด้วยกัน แต่แผนการผลิตดันดีเลย์ เนื่องจากปัญหาด้านโครงสร้างภายในของหุ่น
• MSZ-010A1 Theta Plus
พัฒนาขึ้นมาโดยใช้องค์ประกอบจาก ZZ Gundam และ FAZZ มารวมกัน ปรากฏตัวในภาค Mobile Suit MOON Gundam
7. ι Gundam series
• MSA-0011 S Gundam (codename: ι Gundam)
S Gundam ( ตอนตั้งต้นถูกเรียกว่า Supreme Gundam) เป็นโมบิลสูททรงพลังที่ปรากฏตัวเป็นตัวเอกในภาค Mobile Suit Gundam Sentinel ที่อนาไฮม์ทุ่มทุนสร้างออกมาถึง 4 unit เลยทีเดียว (แต่ออกมาให้เห็นแค่เครื่องเดียว) โมบิลสูทตัวนี้ถูกฝังไว้ด้วย A.I. ที่ล้ำยุคนาม “A.L.I.C.E.” หรือ Advanced Logistic & Inconsequence Cognizing Equipment ที่สามารถเรียนรู้ และเติบโตไปพร้อมๆกับ “เรียว รู้ท” ผู้เป็นไพล็อทของหุ่นตัวนี้ แถมเพิ่มเติมให้ว่า ผู้ที่ประดิษฐ์ ALICE ขึ้นมาก็คือแม่ของเรียวเอง
• MSA-0011 [ Bst ] “Deep Striker”
ชื่อเต็ม S Gundam Booster Unit Type Plan 303E “Deep Striker” ก็คือ S Gundam ที่ถูกติดตั้งด้วยอาวุธหนักที่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากเดิมมากจนความเร็วถดถอยกว่าเดิมถึง 30% แต่แลกมาก็อาจนับว่าคุ้มเพราะอาวุธหนักที่ Deep Striker ติดอยู่อย่างโดดเด่นอย่าง Huge Mega Particle Cannon คือปืนใหญ่อนุภาคระดับเดียวกับที่ติดตั้งกับยานชั้น Argama อากาม่าเลยทีเดียว
• MSA-0011 [ Ext ] Ex-S Gundam
Extraordinary-Superior Gundam เป็นร่างอัพเกรดของ S Gundam ที่ได้ทำการติดตั้งทั้งเกราะใหม่ และโมดูลสำหรับการขับเคลื่อนใหม่ เรียกได้ว่าทั้งแกร่งทั้งเร็วขึ้น อาวุธเสริมก็มี Large Caliber Beam Cannon ติดอยู่ด้านหลังเพิ่มถึง 2 กระบอกเลยทีเดียว
8. λ Gundam series
• MSA-0012 Lambda Gundam
เป็นโมบิลสูทที่ถูกกล่าวถึงในภาค Gundam Sentinel แต่น่าเสียดายที่หุ่นตัวนี้ไม่เคยถูกนำเข้าแผนการผลิตเลยแม้แต่น้อย ความจริงแล้ว หุ่นที่เป็นพระเอกของ Lambda Series คือ Lambda Gundam แต่ว่าไม่สามารถหาภาพประกอบมาได้รวมถึงข้อมูลที่มีน้อยเกินไป ( ไม่มีแม้แต่รูปประกอบ ) เลยจะไม่ได้พูดถึงในที่นี้เท่าไหร่
• MSA-007 Nero
แม้ว่า Lambda Gundam เหมือนดั่งจะถูกลืมเลือนไปจากหน้าประวัติศาสตร์ แต่มันก็ไม่ได้เปล่าประโยชน์เสียทีเดียว เนื่องจากตัว Lambda Gundam นั้นได้ถูกนำมาเป็นฐานในการพัฒนาโมบิลสูทตัวใหม่นาม “Nero” ที่ปรากฏตัวในภาค Sentinel และว่ากันว่ามันคือ S Gundam รุ่นแมสโปรดักต์นี่เอง
จบลงแล้วนะครับสำหรับบทความ Project Zeta อันยาวเหยียดในวันนี้ ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจเข้ามาดูมาอ่านบทความนี้กัน
พอเขียนบทความนี้เสร็จแล้วทำเอาอยากไปจับจองเหล่ากันพลาของโมบิลสูทหลายตัวที่ได้พูดถึงไปเลยทีเดียว
- บทความโดย NuthSWR
-
Dynasty Warriors: Origins [PS5, Xbox Series,PC]
วีรบุรุษไร้นาม จะลุกขึ้นต่อสู้ในโลกของสามก๊ก
-
Resident Evil 9 [มาเมื่อไหร่ / Apocalypse / 2024]
มีข่าวลือใหม่เกี่ยวกับการระบุถึงเกมผีชีวะภาคที่ 9
-
[รีวิว] Fuuto PI: The Portrait of Masked Rider Skull ยอดนักสืบแห่งฟูโตะ ภาพสลักแห่งมาสค์ไรเดอร์สกัล
เรื่องราวความสัมพันธ์จาก มาสค์ไรเดอร์สกัล สู่ มาสค์ไรเดอร์ดับเบิล