จริงๆเป็นข่าวการบ้านการเมืองที่เวปเรานานๆจะกล่าวถึงเสียที (คือเราไม่อยากให้เครียดกันอะเนอะ) แต่นี่คือ เรื่องที่มีผลกับผู้ใช้งานสื่อหนัง เกม เพลง และ สื่อ Pop culture จากต่างประเทศซะเยอะ ดังนั้นเมื่อมีกฎหมาย หรือข่าวสารที่เกี่ยวข้อง ก็จะขออนุญาตนำเสนอเล็กน้อยเพื่อให้ได้รับรู้กัน
เรื่องมีอยู่ว่า วันนี้ (9 มิถุนายน 2020) มีการการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปตามวาระ เรื่องอื่นๆเราขอไม่กล่าวถึง แต่สาระสำคัญอยู่ที่ว่า หลังการประชุมภายในกันเสร็จสิ้น ทางด้านรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คุณรัชดา ธนาดิเรก ได้ออกมาเปิดเผยหลังการประชุมว่า “ปัจจุบันมีการใช้สื่อออนไลน์ อิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศมากขึ้น ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ทั้งการดาวน์โหลดหนัง เพลง เกม การจองโรงแรม สะดวกรวดเร็วมากขึ้น แต่กรมสรรพากรไม่สามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศ และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มให้เหมาะสมกับรูปแบบการประกอบธุรกิจในปัจจุบัน ครม.จึงเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่..) พ.ศ. …. (การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ หรือ e-Service) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
สาระสำคัญคือ
1. แก้คำนิยามของคำว่า”สินค้า” เสียใหม่
เดิมเนี่ยทางภาษาราชการ จะไม่ค่อยนับพวกไฟล์อิเลคโทรนิคที่จับต้องไม่ได้เป็นสินค้า แต่ตอนนี้ คำว่า “สินค้า” จะนับรวมพวก “ทรัพย์สินที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่าง” ที่อาจมี “ราคา” หรือ “ไม่มี” ก็ได้ ซึ่งไม่ว่าจะมีไว้เพื่อขาย เพื่อใช้ หรือเพื่อการใดๆ ก็จะถูกนับเป็นสินค้า
และเพิ่มบทนิยามคำว่า “บริการอิเล็กทรอนิกส์” โดยจะหมายถึง “บริการที่ส่งมอบโดยผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือเครือข่ายทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นใด” ก็คือถ้ามีผู้เก็บไฟล์ และปล่อยให้ผู้อื่นที่นอกเหนือจากเจ้าของไฟล์นั้นๆ ก็จะถือว่าเป็นการ”บริการทางอิเล็กทรอนิกส์”
และคำว่า “อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม” ก็จะหมายถึง “ตลาด” หรือ วิธีการอะไรก็ตามแต่ ที่ผู้ให้บริการ สามารถขายสินค้า ขายสิ่งที่มี ทั้งไฟล์ต่างๆ ให้กับลูกค้า หรือผู้ที่เสียเงินเข้าถึงไฟล์นั้นๆ
2.ร่างนี้ มีกำหนดข้อบังคับใหม่
ก็คือ “ผู้ประกอบการที่ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ” (หมายถึงพวกที่เอาแพลตฟอร์มต่างประเทศมาทำตลาดในไทยทั้งหลาย) ที่มีรายได้รวมกันเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และให้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (โดยจุดนี้ ในร่างจะกล่าวถึงพวกแอพ หรือสโตร์เกม สื่อต่างๆจากนอกประเทศไทย ไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนในประเทศ)
ส่วนพวกสโตร์นอกประเทศที่ไม่มีการทำตลาดในไทย แต่มีการซื้อขายกัน กำหนดให้รายได้ที่ได้รับจากการให้บริการนั้นเป็นฐานภาษีมูลค่าเพิ่มของดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างประเทศ ซึ่งหากดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างประเทศมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และให้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นกัน
3.ผู้ประกอบการทำเอกสารออนไลน์ได้
กำหนดให้การดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารหลักฐานหรือหนังสืออื่นใดตามประมวลรัษฎากร และการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถกระทำผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ได้
4.ห้ามแพลตฟอร์มต่างประเทศออกใบกำกับภาษี
กำหนดห้ามไม่ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศออกใบกำกับภาษี
โดยพรบ.ฉบับนี้ ได้มีการรับฟังความเห็นจากผู้ให้บริการ ผู้ที่มีส่วนได้เสียแล้ว ระหว่างวันที่ 14-29 ม.ค. 2563 เผยแพร่ผลการรับฟังความคิดเห็นพร้อมรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายให้ประชาชนได้รับทราบ และผ่านการตรวจพิจารณาจาก สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ลำดับต่อไปคือ ส่งร่างพระราชบัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา และประกาศในราชกิจจานุเบกษา พร้อมทั้ง กรมสรรพากรจะดำเนินการจัดทำคู่มือการใช้กฎหมายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แก่ผู้ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย รวมถึงให้ข้อมูลตัวอย่างฐานภาษีของอิเล็กทรอนิกส์แต่ละลักษณะ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติตามกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม เมื่อร่างพระราชบัญญัติ e-Service บังคับใช้ ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างประเทศต่างๆ ที่ให้บริการและมีรายได้ในไทย ต้องมาจดทะเบียนเสียภาษีกับกรมสรรพากร ทำให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการและสามารถสร้างรายได้ให้กับรัฐ ซึ่งคาดว่ากระทรวงการคลังจะจัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นประมาณ 3,000 ล้านบาท โดยในต่างประเทศ เช่น ออสเตรเลียและเกาหลี ก็ใช้กฎหมายลักษณะนี้เช่นกัน ซึ่งได้ผลมาแล้ว
ซึ่งทางอธิบดี กรมสรรพากร ได้ออกมาระบุว่า การจัดทำร่างกฎหมายดังกล่าวกรมสรรพากรได้นำผลการศึกษาของ “องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา” (OECD) ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ให้บริการ e-Service จากต่างประเทศที่มีข้อเสนอแนะให้ผู้ประกอบการต่างประเทศหรือดิจิทัลแพลตฟอร์มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและมีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่หน่วยงานจัดเก็บภาษีเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพและดำเนินการได้มากที่สุด
นี่คือข้อความจากหน้าเวปไซท์รัฐบาลไทย มีเนื้อหาe-Serviceเต็มๆดังนี้
เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ (e-Service))
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป และรับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่กระทรวงการคลังเสนอ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการ (มติคณะรัฐมนตรี 17 กรกฎาคม 2561) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว เป็นการแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร ซึ่งประกอบกิจการให้บริการโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามประมวลรัษฎากร โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศแก่ผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในประเทศ หากผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศมีรายรับจากการให้บริการดังกล่าวเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และให้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับกรณีผู้ประกอบการต่างประเทศได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้รับบริการในประเทศไทยผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างประเทศ กำหนดให้รายได้ที่ได้รับจากการให้บริการนั้นเป็นฐานภาษีมูลค่าเพิ่มของดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างประเทศ ซึ่งหากดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างประเทศมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และให้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ เพื่อป็นการสนับสนุนให้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เกิดความเหมาะสมและส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศ
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
1. แก้ไขเพิ่มเติมให้การดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารหลักฐานหรือหนังสืออื่นใดตามประมวลรัษฎากรสามารถดำเนินการด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้
2. แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “สินค้า” และเพิ่มบทนิยามคำว่า “บริการทางอิเล็กทรอนิกส์” และคำว่า “อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม”
3. แก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศแก่ผู้ใช้ซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน โดยคำนวณจากภาษีขายโดยไม่ให้หักภาษีซื้อ และกำหนดให้ผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์
4. แก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่ของผู้จ่ายเงินในการนำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม และหน้าที่ของผู้ประกอบการในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศแก่ผู้ใช้ซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน
5. กำหนดให้การดำเนินการทางทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกระทำโดยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้
6. กำหนดห้ามมิให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศออกใบกำกับภาษี
-
BEYBLADE X : 10 ตัวน่าซื้อ ของมันต้องมีในปี 2024
#beybladex #kctoysbeybladex #beybladexthailand
-
KARATE KID: LEGENDS [เรื่องย่อ / ตัวอย่าง / หนังใหม่ /2025]
#KarateKidMovie #KarateKi #เฉินหลง #JackieChan
-
20 ตัวละครจากเกมยอดนิยมที่ถูกค้นหามากที่สุดในเวปไซต์สำหรับผู้ใหญ่ 2024
#Ranking #website #Games #PC #Console