ใครที่เป็นแฟนๆ การ์ตูนคอมมิคอเมริกาต้องรู้จักเหล่าซูเปอร์ฮีโร่ของค่ายอย่าง DC และ Marvel ซึ่งเป็นค่ายหนังสือการ์ตูนชื่อดังของทางอเมริกา โดยในภาพยนตร์เรื่องล่าสุดอย่าง Justice League ที่เป็นการเปิดรวมตัวเพื่อจักรวาลเหล่าซูเปอร์ฮีโร่ของ DC ในยุคใหม่อย่างเป็นทางการ โดยที่ก่อนหน้านั้นทาง Marvel ได้ปูทางมานานแล้ว ซึ่งการรวมตัวของเหล่าซูเปอร์ฮีโร่ของทั้งสองค่ายมีความเหมือนที่แตกต่างกันอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว
ในบทความนี้ขอเสนอ 5 ความเหมือนที่แตกต่างของ Justice League กับ The Avengers ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้น… มาดูกันเลย!!
1. ปีที่เริ่มต้นการรวมตัวของเหล่าซูเปอร์ฮีโร่
การรวมทีมของเหล่าซูเปอร์ฮีโร่นั้นถือเป็นอีเวนท์สำคัญและต้องมีให้ได้เห็นอยู่บ่อยครั้ง ไม่เฉพาะแค่เหล่าซูเปอร์ฮีโร่ของฝั่งอเมริกาเท่านั้น… แม้แต่ซูเปอร์ฮีโร่ของฝั่งญี่ปุ่นก็มีให้เห็นบ่อยๆ ทุกๆ ปีเช่นกัน…
โดยการรวมทีมกันครั้งแรกของซูเปอร์ฮีโร่ฝั่งอเมริกานั้นเริ่มต้นจากค่าย DC ก่อนคือ Justice League America ที่เป็นการรวมตัวของซูเปอร์ฮีโร่ดังๆ ในค่ายอย่าง Aquaman, Green Lantern Cyborg, The Flash และ Wonder Woman ปรากฏในหนังสือการ์ตูนเรื่องที่ The Brave and the Bold ในเล่มที่ 28 (ส่วน Superman กับ Batman มาในภายหลัง) ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากมายในปี 1960
ส่วนการรวมทีมซูเปอร์ฮีโร่ฝั่งมาร์เวล เกิดขึ้นในปี 1963 ในชื่อ The Avengers ซึ่งนำเอาซูเปอร์ฮีโร่ที่ไม่ดังอย่าง Ironman, Hulk, Thor, Captain America, Antman ฯลฯ (แต่ปัจจุบันดังแล้ว) ซึ่งทางมาร์เวลได้พยายามสร้างจักรวาลซูเปอร์ฮีโร่ของตัวเองในช่วงเวลาที่เกือบจะเป็นวิกฤต เนื่องมาจากกำลังขาดทุนและเกือบจะล้มละลาย เป็นหนึ่งเหตุผลที่ทำให้มาร์เวลได้ขายลิขสิทธิ์ของซูเปอร์ฮีโร่ตัวเองให้กับบรรดาค่ายภาพยนตร์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Spiderman Fantastic Four, X-Men รวมไปถึง Daredevil นั่นเอง
2. ความสามารถของซูเปอร์ฮีโร่
แน่นอนว่าเป็นซูเปอร์ฮีโร่ก็ต้องมีความสามารถพิเศษติดตัวที่แตกต่างกันออกไป แต่เมื่อวัดกันที่สเกลของพลังพิเศษของแต่ละค่าย ทางฝั่งของ Justice League ที่มีความได้เปรียบอยู่มากตรงที่มีฮีโร่ในแบบอุดมคติหรือมีพลังพิเศษที่เหนือกว่ามนุษย์ธรรมดาทั่วๆ ไป อย่าง Superman ที่มีพละกำลังที่มหาศาล เปรียบได้กับ “เทพเจ้า” ที่คอยปกป้องเหล่ามนุษย์ รวมไปถึงซูเปอร์ฮีโร่ที่มีพลังพิเศษอีกมากมายหลายตัวอย่าง The Flash ที่สามารถย้อนเวลาได้ หรือ Wonder Woman ที่มีความเป็นเทพเจ้าในตัวเอง
ส่วนเหล่าซูเปอร์ฮีโร่ในฝั่งของ The Avengers จะมีความเป็นมนุษย์ในตัวเองที่สูงกว่า ตัวอย่างเช่น Ironman หรือ Captain America ที่ไม่ได้มีพลังโดดเด่นอะไรมายมาย ทั้งยังมีความนึกคิดในแบบของมนุษย์ทั่วๆ ไป (จึงไม่ต้องแปลกใจที่ซูเปอร์ฝั่งมาร์เวลจะตีกันเองบ่อยๆ ) ทำให้คนดูสามารถเข้าถึงจิตใจของซูเปอร์ฮีโร่ฝั่งนี้ได้ง่ายกว่าฝั่งของ DC นั่นเอง
3. ศัตรู
อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เหล่าซูเปอร์ฮีโร่ของแต่ละค่ายต้องเกิดการรวมตัวกันก็คือ “การปรากฏตัวของศัตรูระดับบอส” ซึ่งแน่นอนว่าลำพังแค่ซูเปอร์ฮีโร่ตัวคนเดียวคงอาจจะล้มบอสผู้แสนจะเก่งกาจไม่ไหวแน่ๆ การรวมพลังกันคือหนึ่งในวิธีที่ปราบมันลงได้ง่ายที่สุด แล้วยังสามารถดันให้ซูเปอร์ฮีโร่ตัวอื่นที่ไม่ค่อยโด่งดังขึ้นมาเป็นที่รู้จักกับคนดูได้มากยิ่งขึ้น…
ตัวอย่างก็เช่น Avengers : Infinity War กับการมาของบอสใหญ่ในจักรวาลมาร์เวลอย่าง Thanos ที่ต้องรวมพลังเหล่าทีม Avengers เข้าต่อกร หรืออย่างฝั่ง DC ในภาพยนตร์เรื่องล่าสุดอย่าง Justice League ที่ Steppenwolf วายร้ายสุดแกร่งที่เป็นลูกน้องของ Darkseid บอสใหญ่ประจำค่ายนี้
4. ความนิยม
ในเรื่องของความนิยมชมชอบในตัวของซูเปอร์ฮีโร่ของแต่ละค่ายนั้นเป็นเรื่องของบุคคลก็จริง แต่สำหรับในบ้านเราคงหนักไปทางซูเปอร์ฮีโร่ของมาร์เวลซะมากหน่อย (โดยมากจะรู้จักซูเปอร์ฮีโร่ของค่ายนี้ในรูปแบบของภาพยนตร์) ส่วนฝั่ง DC จะรู้จักกันแค่ตัวดังๆ อย่าง Superman หรือ Batman อันนี้คงต้องชมเชยทางมาร์เวลที่มีการปูทางจักรวาลซูเปอร์ฮีโร่ในยุคใหม่ๆ มาได้ดีอย่างมาก ดูสนุกสนานแล้วเข้าถึงกลุ่มคนดูทุกๆ วัยได้ไม่ยาก
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าซูเปอร์ฮีโร่ฝั่ง DCจะเสียเปรียบแต่อย่างใด เพราะตัวที่โดดเด่นอย่าง Superman หรือ Batman คือแม่เหล็กที่ดึงดูดคนดูได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะภาพยนตร์ของ Batmanที่สร้างปรากฏการณ์ในแง่คำวิจารณ์อย่างท่วมท้นอย่าง The Dark Knight ของสุดยอดผู้กำกับอย่าง คริสโตเฟอร์ โนแลน เป็นการเปิดศักราชภาพยนตร์ของฝั่ง DC ในโทนเรื่องที่มีโทนเรื่องและบรรยากาศอันจริงจังหนักแน่น จนกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ให้กับภาพยนตร์ในค่ายนี้ไปแล้ว
5. ฝั่งไหนเจ๋งกว่ากัน?
เมื่อถามว่าซูเปอร์ฮีโร่ของฝั่งไหนเจ๋งกว่ากัน? อันนี้คงตอบได้ยากมาก ซึ่งแต่ละฝั่งก็มีกลุ่มคนดูที่ชื่นชอบกันอยู่แล้ว (แถมบางคนก็ชอบทั้งสองฝั่งนั่นแหละ) เพราะคอมมิคมีมาอย่างยาวนานนับสิบๆ ปี ที่ให้ภาพยนตร์เป็นตัวจุดกระแสแล้วค่อยๆ สร้างฐานคนดูรุ่นใหม่เข้ามาเพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็นจักรวาลของซูเปอร์ฮีโร่เข้าสู่ตลาดภาพยนตร์ในแต่ละปี ที่ต้องมีให้ได้ดูกันอยู่ตลอด ซึ่งทั้งสองค่ายต่างก็พยายามผลักดันซูเปอร์ฮีโร่ของตัวเองให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น
++++++++++++++++++++++++++++++
นี่ก็เป็นความเหมือนที่แตกต่างของ Justice League กับ The Avengers หากใครมีข้อมูลอย่างนำเสนอก็บอกกล่าวกันได้นะครับผม
@Save สาย Pay
-
BEYBLADE X : 10 ตัวน่าซื้อ ของมันต้องมีในปี 2024
#beybladex #kctoysbeybladex #beybladexthailand
-
KARATE KID: LEGENDS [เรื่องย่อ / ตัวอย่าง / หนังใหม่ /2025]
#KarateKidMovie #KarateKi #เฉินหลง #JackieChan
-
20 ตัวละครจากเกมยอดนิยมที่ถูกค้นหามากที่สุดในเวปไซต์สำหรับผู้ใหญ่ 2024
#Ranking #website #Games #PC #Console