How To Play Yu Gi Oh! Card : ep5 เพนดิวลั่มเจ้าปัญหา เล่นยังไง [Pendulum Card]
20 ตุลาคม 2564 23:34 น.
Share on FacebookTweet about this on TwitterShare on Google+

 how-to-play-yu-gi-oh-card-ep5-pendulum-card (6)

 How To Play Yu Gi Oh! Card : ep1.การเล่นการ์ดเกมยูกิโอในปัจจุบัน

 How To Play Yu Gi Oh! Card : ep2.[Master Rules]

How To Play Yu Gi Oh! Card : ep3.Monster Card คืออะไร [Main Deck]

How To Play Yu Gi Oh! Card : ep4.Monster Card คืออะไร [Extra Deck] 

 How To Play Yu Gi Oh! Card : ep5.เพนดิวลั่มเจ้าปัญหา เล่นยังไง [Pendulum Card]

 

 

ด้วยการที่ในปัจจุบันการ์ดยูกินั้นมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ค่อนข้างมาก อีกทั้งรายละเอียดหลายๆอย่างที่ว่านี้นั้นแม้จะไม่ได้เป็นสิ่งที่จะได้ใช้ตลอดเวลาที่เล่นกันในเกม แต่ก็มีความสำคัญเกินกว่าจะตัดทิ้งได้ ทำให้ รายละเอียดปลีกย่อยต่างๆภายในบทความชุดนี้อาจไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องจดจำมันให้ได้ทั้งหมดตั้งแต่แรก เพราะเป็นเนื้อหาที่เราจะจดจำมันได้เองหลังจากได้ใช้งานมันบ่อยๆหรือเจอจากการใช้ของคู่ต่อสู้ ฉะนั้นเพื่อให้ง่ายต่อการอ่าน ในทุกบทความทางผู้เขียนจึงได้ทำการแยกสีของเนื้อหาทั้งหมดไว้ให้โดยจะแบ่งเป็น 

 

สีดำ   – เนื้อหาปกติ

สีแดง- เนื้อหาสำคัญ

สีส้ม   – เนื้อหาที่ไม่ต้องจำทั้งหมดตั้งแต่แรก

สีฟ้า   – เนื้อหาที่เป็นการยกตัวอย่าง หรือ หมายเหตุ

 

ในส่วนของรูปภาพประกอบก็จะเป็นภาพรวมหรือตัวอย่าง ของเนื้อหาในแต่ละหัวข้อ ซึ่งผู้เขียนหวังว่านอกจากจะช่วยให้ทุกท่านได้เห็นภาพมากขึ้นแล้ว มันจะช่วยให้ท่านผู้อ่านที่ได้ย้อนกลับมาเปิดดู ได้เจอเนื้อหาที่ต้องการง่ายขึ้นด้วยนะครับ

 
 

 

————————————————-

 

มอนสเตอร์ “เพนดิวลั่ม” คือ!?

how-to-play-yu-gi-oh-card-ep5-pendulum-card (1)

มอนสเตอร์เพนดิวลั่มคือการ์ดมอนสเตอร์รูปแบบต่างๆที่มีลักษณะพิเศษคือจะมีลายพื้นหลังครึ่งล่างเป็นสีเขียว แบบการ์ดเวทมนตร์ รวมไปถึงตรงกลางของการ์ดจะมีช่อง Effect อีกช่องหนึ่งเพิ่มขึ้นมาโดยจะเรียกว่าช่อง Effect Pendulum ซึ่งอยู่ระหว่างลูกศรสีฟ้าและสีแดงที่มีตัวเลขกำกับอยู่ด้านล่าง บริเวณทั้งซ้ายและขวาของตรงกลางการ์ดนั่นเอง

                

โดยพื้นฐานแล้วมอนสเตอร์เพนดิวลั่มจะมีครึ่งบนเป็นการ์ดมอนสเตอร์ปกติและมอนสเตอร์เอฟเฟคที่ใส่อยู่ใน Main Deck ของเรา แต่ก็จะมีมอนสเตอร์เพนดิวลั่มที่อยู่ใน Extra Deck ด้วยเช่นกัน

 

ในส่วนของครึ่งล่างการ์ดที่เป็นสีเขียวที่ถูกเพิ่มเข้ามานั้นเราสามารถอธิบายอย่างง่ายๆได้ว่า มันได้ทำให้มอนสเตอร์เพนดิวลั่มสามารถเป็นได้ทั้งการ์ดมอนสเตอร์และการ์ดเวทมนตร์ในใบเดียวกัน (เป็นการ์ดเวทมนตร์เฉพาะตอนอยู่ใน Pendulem Zone นอกนั้นจะนับเป็นการ์ดมอนสเตอร์) โดยที่แถบ Effect ตรงกลางการ์ดจะแสดงถึงเอฟเฟคที่จะแสดงผลออกมาเมื่อการ์ดใบนี้วางอยู่บนช่อง Pendulum Zone 

 

 

how-to-play-yu-gi-oh-card-ep5-pendulum-card (2)

Pendulum Zone

คือบริเวณซ้ายสุดและขวาสุดของ พื้นที่โซนเวทมนตร์กับดัก (Spell & Trap Zone) บนสนาม โดยช่องทั้งสองนี้จะถือว่าเป็นทั้ง Spell & Trap Zone และ Pendulum Zone ในเวลาเดียวกัน หรือก็คือหากคุณมีการ์ดเวทมนตร์หรือกับดักวางอยู่ คุณก็จะใช้การ์ด Pendulum ในช่องนั้นไม่ได้นั่นเอง

 

*ขณะที่มีการ์ดเวทมนตร์ /กับดัก วางอยู่ในช่องทั้ง 2 นี้ มันจะถูกนับว่าเป็น ช่องการ์ดเวทมนตร์ / กับดักเท่านั้น แต่ขณะที่การ์ด Pendulum วางอยู่ ช่อง Pendulum Zone นั้นๆจะถือว่ายังเป็นช่องในโซน เวทมนตร์ / กับดัก ด้วย

 

 

 

การใช้งาน

ในการใช้งานมอนสเตอร์เพนดิวลั่ม นอกเหนือจากรูปแบบมอนสเตอร์ (ตามสีท่อนบนของการ์ดใบนั้นๆ) ผู้เล่นจะสามารถสั่งใช้งานให้มอนสเตอร์เพนดิวลั่มที่อยู่บนมือของเรา ให้ไปวางไว้บนช่อง Pendulum Zone ของเรา โดยจะนับว่าเป็นการสั่งใช้งาน การ์ดเวทมนตร์ และจะต้องทำการวางลงในช่อง Pendulum Zone เท่านั้น

                

 

โดยความสำคัญของการวางมอนสเตอร์เพนดิวลั่มไว้ที่ Pendulum Zone ทั้งสองช่องนี้ ก็จะมีความสำคัญกับการทำ Pendulum Summon โดยตรง

 

 

 

Pendulum Summon และ ตัวเลข Scale

ตัวเลขที่อยู่ใต้ลูกศรสีฟ้าและแดงบนการ์ดมอนสเตอร์เพนดิวลั่ม จะถูกเรียกว่า “ค่า Scale” โดย เทิร์นละ 1 ครั้งในช่วง Main Phase ของผู้เล่น ผู้เล่นจะสามารถสั่งทำการ Pendulum Summon ได้ ซึ่งจะเป็นการ “อัญเชิญแบบพิเศษ” การ์ดมอนสเตอร์มากเท่าที่จะลงได้จากบนมือ หรือ ที่หงายหน้าอยู่บน Extra Deck (จะพูดถึงในหัวข้อถัดไป)  มาบนสนาม “พร้อมกัน” ทั้งนี้มอนสเตอร์ที่ถูกเรียกลงมานั้นจะต้องมีจำนวนดาวอยู่ระหว่างตัวเลข Scale ทั้ง 2 ฝั่งบนสนาม (และไม่ติดเงื่อนไขการอัญเชิญจากเอฟเฟคของตัวมันเองด้วยเช่น มอนสเตอร์พิธีกรรมที่ต้องลงจากการ์ดเวทมนตร์พิธีกรรมก่อน เป็นต้น)

 

how-to-play-yu-gi-oh-card-ep5-pendulum-card (3)

ตัวอย่าง ผู้เล่นทำการวางมอนสเตอร์เพนดิวลั่มที่มีค่า Scale 3 และ 6 ไว้บนสนาม มอนสเตอร์ที่อัญเชิญมาได้ก็คือมอนสเตอร์ที่มีดาว 4และ5 นั่นเอง 

 

 

how-to-play-yu-gi-oh-card-ep5-pendulum-card (4)

หมายเหตุ : Pendulum Summon ถือเป็นการอัญเชิญลงมาพร้อมกันเท่ากับว่าหากฝ่ายตรงข้าม “ขัดขา” ทำให้การอัญเชิญนั้นไม่สำเร็จ เช่น หงายการ์ดกับดักพระเจ้า ที่มีเอฟเฟคในการทำให้การอัญเชิญไร้ผลได้

 

โดยในกรณีนี้มอนสเตอร์ทุกตัวที่ถูกอัญเชิญด้วยการ Pendulum Summon ครั้งนั้น ถูกส่งลงสุสานไปเลยเพราะลงไม่สำเร็จนั่นเอง

 

 

 

 

มอนสเตอร์เพนดิวลั่มกับ Extra Deck

อีกหนึ่งความเฉพาะตัวของมอนสเตอร์เพนดิวลั่มนั้นก็คือเมื่อพวกมันถูกทำลายหรือสังเวยออกจากสนาม ทั้งตอนที่เป็นการ์ดมอนสเตอร์ เป็นการ์ดเวทมนตร์ “มันจะไปหงายหน้าอยู่บน Extra Deck แทนการลงสุสาน”

(กรณีนี้จะไม่เกี่ยวกับความจุของ Extra Deck ที่ต้องมี 0-15 ใบนะ)

 

ซึ่งในการทำ Pendulum Summon ผู้เล่นสามารถอัญเชิญมอนสเตอร์เพนดิวลั่มที่หงายหน้าอยู่บน Extra Deck เหล่านี้กลับมาบนสนามได้เช่นกัน

 

*แต่ถ้าถูกอัญเชิญมาจากสภาพหงายนหน้าบน Extra Deck มอนเตอร์ Pendulum เหล่านั้นจะต้องอัญเชิญลงบนช่อง Extra Monster Zone หรือ ช่องMonster Zone ที่ถูก ลูกศรจาก Link Monster ชี้อยู่เท่านั้น (หรือก็คือ ในกรณีนี้จะมีกฎอัญเชิญเดียวกับของ Link Monster เลย)*

 

how-to-play-yu-gi-oh-card-ep5-pendulum-card (5)

สรุปก็คือในการทำ Pendulum Summon นั้นผู้เล่นจะสามารถเลือกอัญเชิญมอนสเตอร์จากบนมือหรือที่หงายหน้าอยู่บน Extra Deck ซึ่งมีจำนวนดาวอยู่ระหว่างค่า Scale ทั้ง 2 ฝั่งที่กำลังวางไว้ ลงมาบนสนามพร้อมกันกี่ตัวก็ได้เท่าที่ผู้เล่นต้องการ

 

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันได้มีมอนสเตอร์เพนดิวลั่มที่เป็นลูกผสมของการ์ดมอนสเตอร์ใน Extra Deck อย่าง มอนสเตอร์เพนดิวลั่มที่เป็นมอนสเตอร์ฟิวชั่น, ซิงโคร หรือ เอ็กซีด เป็นต้น โดยมอนสเตอร์เหล่านี้จะมีการอัญเชิญลงมาบนสนาม “ครั้งแรก” ตามชนิดของพวกมัน แต่เมื่อออกจากสนามพวกมันจะไปหงายหน้าอยู่บน Extra Deck แทนการลงสุสานนั่นเอง

 

นอกจากนี้เนื่องจากมอนสเตอร์เอ็กซีดนั้นไม่มีจำนวนดาวเป็นของตัวเองทำให้โดยพื้นฐานแล้วพวกมันจะไม่สามารถถูก Pendulum Summon กลับมาบนสนามได้

 

ส่วนเอฟเฟคที่อยู่บนช่อง Effect Pendulum ตรงกลางของการ์ดนั้น เนื่องจากมอนสเตอร์เหล่านี้ไม่สามารถอยู่บนมือได้ทำให้พวกมันจะไปอยู่บนช่อง Pendulum Zone ได้จากผลของเอฟเฟคการ์ดเท่านั้นนั่นเอง

 

หมายเหตุ : แม้เวลาที่มอนสเตอร์เพนดิวลั่มออกจากสนามจะต้องไปหงายหน้าอยู่บน Extra Deck แต่ถ้าหากในขณะนั้นมีเอฟเฟคการ์ดที่ระบุให้การ์ดที่ออกจากสนามต้องถูก Remove หรือ ส่งกลับเข้าเด็ค แทนการลงสุสานแบบปกติ มอนสเตอร์เพนดิวลั่มเหล่านั้นก็จะต้องถูกส่งไปตามที่เอฟเฟคการ์ดพวกนั้นระบุไว้แทนที่จะไปหงายหน้าอยู่บน Extra Deck เช่นกัน

 

ซึ่งในกรณีที่มีเอฟเฟค ทำให้มอนสเตอร์เพนดิวลั่ม ไม่สามารถถูกส่งลงสุสาน เมื่อถูกนำออกจากสนามได้นั้น จะมีรายละเอียดหลักๆเพิ่มเติมอยู่ 2 กรณีดังนี้

กรณีที่ 1 : ถ้ามีการ์ด ที่มีเอฟเฟค ทำให้การ์ดทั้งหมดที่จะลงสุสาน จะถูกนำออกจากเกม หรือ นำกลับเข้า Deck แทนการถูกส่งลงสุสาน มอนสเตอร์เพนดิวลั่ม ที่ออกจากสนาม ไม่ว่าจะจาก Monster Zone หรือ Pendulum Zone จะถูกนำออกจากเกมทั้งหมด

 

กรณีที่ 2 : ถ้ามีการ์ดที่มีเอฟเฟค ทำให้มอนสเตอรที่จะถูกส่งลงสุสาน จะถูกนำออกจากเกม หรือ นำกลับเข้า Deck แทนการถูกส่งลงสุสาน มอนสเตอร์เพนดิวลั่ม ที่ออกจากช่อง Monster Zone บนสนามจะถูกนำออกจากเกม แต่ มอนสเตอร์เพนดิวลั่ม ที่ถูกนำออกจากสนามจากช่อง Pendulum Zone จะไปหงายหน้าอยู่บน Extra Deck แทน เพราะตอนออกจากสนามนับว่าเป็นการ์ดเวทมนตร์ ไม่ใช่มอนสเตอร์ จึงไม่ถูกผลของเอฟเฟคข้างต้นนั้นเอง

s-l1000

บทความโดย WolfTales