How To Play Yu Gi Oh! Card : ep1.การเล่นการ์ดเกมยูกิโอในปัจจุบัน
How To Play Yu Gi Oh! Card : ep2.[Master Rules]
How To Play Yu Gi Oh! Card : ep3.Monster Card คืออะไร [Main Deck]
How To Play Yu Gi Oh! Card : ep4.Monster Card คืออะไร [Extra Deck]
How To Play Yu Gi Oh! Card : ep5.เพนดิวลั่มเจ้าปัญหา เล่นยังไง [Pendulum Card]
ด้วยการที่ในปัจจุบันการ์ดยูกินั้นมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ค่อนข้างมาก อีกทั้งรายละเอียดหลายๆอย่างที่ว่านี้นั้นแม้จะไม่ได้เป็นสิ่งที่จะได้ใช้ตลอดเวลาที่เล่นกันในเกม แต่ก็มีความสำคัญเกินกว่าจะตัดทิ้งได้ ทำให้ รายละเอียดปลีกย่อยต่างๆภายในบทความชุดนี้อาจไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องจดจำมันให้ได้ทั้งหมดตั้งแต่แรก เพราะเป็นเนื้อหาที่เราจะจดจำมันได้เองหลังจากได้ใช้งานมันบ่อยๆหรือเจอจากการใช้ของคู่ต่อสู้ ฉะนั้นเพื่อให้ง่ายต่อการอ่าน ในทุกบทความทางผู้เขียนจึงได้ทำการแยกสีของเนื้อหาทั้งหมดไว้ให้โดยจะแบ่งเป็น
สีดำ – เนื้อหาปกติ
สีแดง- เนื้อหาสำคัญ
สีส้ม – เนื้อหาที่ไม่ต้องจำทั้งหมดตั้งแต่แรก
สีฟ้า – เนื้อหาที่เป็นการยกตัวอย่าง หรือ หมายเหตุ
ในส่วนของรูปภาพประกอบก็จะเป็นภาพรวมหรือตัวอย่าง ของเนื้อหาในแต่ละหัวข้อ ซึ่งผู้เขียนหวังว่านอกจากจะช่วยให้ทุกท่านได้เห็นภาพมากขึ้นแล้ว มันจะช่วยให้ท่านผู้อ่านที่ได้ย้อนกลับมาเปิดดู ได้เจอเนื้อหาที่ต้องการง่ายขึ้นด้วยนะครับ
————————————————-
Normal Monster / มอนสเตอร์ปกติ
การ์ดมอนสเตอร์ที่ไม่มีเอฟเฟคพิเศษใดๆ โดยจะมีลักษณะพื้นหลังของการ์ดเป็นสีเหลือง หรือ ครีม และในช่องที่ปกติจะเป็นเอฟเฟคของมอนสเตอร์เหล่านี้ จะมีคำบรรยายหรือเนื้อเรื่องสั้นๆเกี่ยวกับตัวมันเขียนเอาไว้แทน
Effect Monster / มอนสเตอร์เอฟเฟค
การ์ดมอนสเตอร์ที่มีเอฟเฟคเฉพาะตัวในแต่ละใบ โดยจะมีลักษณะพื้นหลังของการ์ดเป็นสีส้ม หรือ น้ำตาล ซึ่งในมอนสเตอร์เอฟเฟคเหล่านี้ก็จะมีชนิดและประเภทการใช้งานเพิ่มเติมอีกดังนี้
ชนิดของ Effect Monster
ชนิดของ Effect Monster เหล่านี้จะถูกระบุไว้ด้านซ้ายบนของช่องอธิบายเอฟเฟค / อยู่หลังคำว่า Effectอย่างชัดเจน โดยแต่ละชนิดก็จะมีความพิเศษของพวกมันแตกต่างกันดังนี้
Reverse : Flip Monster / มอนสเตอร์รีเวิร์ส
การ์ดมอนสเตอร์ที่เอฟเฟคจะทำงานเมื่อมันถูกทำให้พลิกหงายหน้าจากสภาพคว่ำหน้าบนสนาม
Union Monster / มอนสเตอร์ยูเนี่ยน
การ์ดมอนสเตอร์ที่มีเอฟเฟคเกี่ยวกับการเปลี่ยนตัวเองไปเป็นการ์ดสวมใส่ให้กับมอนสเตอร์ตัวอื่นบนสนาม
Gemini : DualMonster / มอนสเตอร์ดูอัล
การ์ดมอนสเตอร์ที่ถือว่าเป็นการ์ดมอนสเตอร์ปกติ (การ์ดเหลือง) ซึ่งมันจะกลายเป็นมอนสเตอร์ที่มีเอฟเฟค(การ์ดส้ม)ก็ต่อเมื่อพูดเล่นทำการประกาศ Normal summon ให้กับมันซ้ำอีกครั้งหนึ่ง (การประกาศนี้ไม่ต้องสังเวยเพิ่ม เพียงแค่ประกาศให้คู่ต่อสู้รับทราบเท่านั้น)
*ยังนับเป็นการเสีย Normal summon ในเทิร์นนั้นเช่นกัน*
Spirit Monster /มอนสเตอร์สปิริต
การ์ดมอนสเตอร์ที่ไม่สามารถถูกอัญเชิญแบบพิเศษได้และจะกลับขึ้นมือเจ้าของในช่วง End Phase ที่พวกมันทำการ Normal summon หรือ ถูกพลิกหงายหน้าเสมอ
*ถ้าคว่ำอยู่ไม่ต้องกลับขึ้นมือ*
Tuner Monster / มอนสเตอร์จูนเนอร์
การ์ดมอนสเตอร์ที่มีหน้าที่เป็นการ์ดวัตถุดิบหลักสำหรับใช้ในการอัญเชิญมอนสเตอร์ประเภท Synchro ที่อยู่ใน Extra Deck ออกมา (ดูเพิ่มเติมในการ์ดมอสเตอร์ Synchro ในลิ้ง Extra Deck) คลิก
Toon Monster / มอนสเตอร์การ์ตูน
การ์ดมอนสเตอร์ที่มีจำนวนไม่มากนักและค่อนข้างมีความหลากหลายในกลุ่มของพวกมันเอง โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในลิงค์บทความเด็คการ์ดในปัจจุบันของเปกาซัส ได้เลยครับ ธีมเปกาซัส
ประเภทการทำงานของ Effect Monster
การทำงานของ Effect Monster จะหมายถึงการสั่งใช้งานหรือการออกผล ในระหว่างการเล่น ซึ่งก็จะสามารถแบ่งการทำงานเอฟเฟคเหล่านั้นออกมาได้ดังนี้
Continuous Effect / เอฟเฟคที่มีผลต่อเนื่อง
ประเภท Effect ของการ์ดมอนสเตอร์ที่จะทำงานอยู่ตลอดเวลาตราบที่มอนสเตอร์ตัวนั้นยังหายหน้าอยู่บนสนาม
เช่น ไซโคช็อคเกอร์ที่มีเอฟเฟคระงับการทำงานของการ์ดกับดักทั้งหมดบนสนามตราบที่มันหงายหน้าอยู่บนสนามเป็นต้น
ซึ่งเอฟเฟคประเภทนี้ จะไม่มีการสั่งใช้งาน (Activate Effect)
Ignition Effect / เอฟเฟคสั่งใช้งาน
ประเภท Effect ของการ์ดมอนสเตอร์ที่จะทำงานก็ต่อเมื่อผู้เล่นทำการประกาศใช้งานในช่วง Main Phase (โดยจะมีเงื่อนไขที่ทำให้ประกาศสั่งใช้ได้แตกต่างกันไปตามเอฟเฟคที่ระบุไว้บนการ์ดนั้นๆ)
Trigger Effect (Speed 1-2)
ประเภท Effect ของการ์ดมอนสเตอร์ที่จะทำงานเมื่อเกิดเหตุการณ์ตรงกับเงื่อนไขที่ระบุไว้ในการ์ด (ซึ่งมีผลบังคับใช้ หรือไม่บังคับ นั้นจะขึ้นอยู่ที่การระบุในเอฟเฟคของการ์ดเอง
เช่นถ้าเขียนว่า You can ก็คือเมื่อมีเงื่อนไขให้ใช้งานได้ ผู้เล่นจะสามารถเลือกว่าจะใช้หรือไม่ใช้เอฟเฟคก็ได้
Quick Effect (Speed 2)
ประเภท Effect ของการ์ดมอนสเตอร์ที่จะถูกระบุไว้ใน Effect ว่าเป็น Quick Effect ซึ่งส่วนใหญ่จะมีผลในการแทรกแซงการเล่นของฝ่ายตรงข้ามเป็นหลัก
*คำว่า Quick Effect จะไม่มีระบุอยู่ในการ์ดภาษาญี่ปุ่น ฉะนั้นต้องศึกษาเอฟเฟคของการ์ดใน Deck ของเราให้ดีก่อนใช้งาน
Ritual Monster / มอนสเตอร์พิธีกรรม
การ์ดมอนสเตอร์ที่มีลักษณะพื้นหลังของการ์ดเป็นสีฟ้า ที่มีการอัญเชิญเฉพาะตัว โดยผ่านการอัญเชิญแบบพิธีกรรม ด้วยเอฟเฟคของ การ์ดเวทมนตร์พิธีกรรม หรือ จากเอฟเฟคของการ์ดอื่นๆ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการรวมจำนวนดาวของ “มอนสเตอร์ที่จะใช้เป็นเครื่องสังเวย” จากบนมือหรือบนสนามรวมกันให้ได้เท่ากับหรือมากกว่าดาวของมอนสเตอร์พิธีกรรมที่ต้องการจะเรียกออกมา และจะเรียกวิธีการอัญเชิญนี้ว่า “Ritual Summon หรือ การอัญเชิญแบบพิธีกรรม”(และจะนับเป็นการอัญเชิญแบบพิเศษ)
(อาจแตกต่างไปตามเอฟเฟคของการ์ดได้เช่น การ์ดพิธีกรรมบางใบก็อาจจะสามารถใช้มอนสเตอร์จากเด็คหรือในสุสานเป็นเครื่องสังเวยได้ เป็นต้น)
ซึ่งในปกติแล้วการ์ดมอนสเตอร์พิธีกรรมหากถูกนำส่งลงสุสานจะไม่สามารถชุบชีวิตกับขึ้นมาได้นอกเสียจากว่า การ์ดมอนสเตอร์พิธีกรรม “ใบนั้น” จะเคยถูกอัญเชิญลงมาบนสนามด้วย การอัญเชิญแบบพิธีกรรม ตามเงื่อนไขของมันแล้วเท่านั้น ตัวอย่างเช่นมอนสเตอร์พิธีกรรมที่ถูกทิ้งจากบนมือจะไม่สามารถชุบชีวิตกับขึ้นมาได้ แต่ถ้าหากเป็นมอนสเตอร์พิธีกรรมที่ถูกทำลายจากบนสนามจะสามารถชุบชีวิตกลับมาได้เป็นต้น
Pendulum Monster/ มอนสเตอร์แพนดิวลั่ม
เนื่องจากเป็นการ์ดมอนสเตอร์ที่มีเงื่อนไขและรายละเอียดการใช้งานเยอะ(และวุ่นวาย) ที่สุดในเกม ทางผู้เขียนจึงได้ทำเป็นบทความแยกออกไปต่างหาก ซึ่งสามารถตามไปดูได้ที่ Link นี้เลยครับ How To Play Yu Gi Oh! Card : ep5.เพนดิวลั่มเจ้าปัญหา เล่นยังไง [Pendulum Card]
บทความโดย WolfTales
-
Blokees Saint Seiya – Star Edition : 1st [กล่องสุ่ม / ราคา / วันวางขาย / สั่งซื้อ]
#Blokees #SaintSeiya #Toys #Model #กล่องสุ่ม
-
ทำความรู้จักม้ามืดของปี 2024 Balatro: เกมไพ่ผสมกลยุทธ์สุดมันส์
#เกมส์ #เกมไพ่ #เกมกลยุทธ์ #เกมมือถือ
-
Dynasty Warriors: Origins [สั่งซื้อเกมถูก , PS5, Xbox Series,PC]
วีรบุรุษไร้นาม จะลุกขึ้นต่อสู้ในโลกของสามก๊ก