How To Play Yu Gi Oh! Card : ep1.การเล่นการ์ดเกมยูกิโอในปัจจุบัน
How To Play Yu Gi Oh! Card : ep2.[Master Rules]
How To Play Yu Gi Oh! Card : ep3.Monster Card คืออะไร [Main Deck]
How To Play Yu Gi Oh! Card : ep4.Monster Card คืออะไร [Extra Deck]
How To Play Yu Gi Oh! Card : ep5.เพนดิวลั่มเจ้าปัญหา เล่นยังไง [Pendulum Card]
และด้วยการที่ในปัจจุบันการ์ดยูกินั้นมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ค่อนข้างมาก อีกทั้งรายละเอียดหลายๆอย่างที่ว่านี้นั้นแม้จะไม่ได้เป็นสิ่งที่จะได้ใช้ตลอดเวลาที่เล่นกันในเกม แต่ก็มีความสำคัญเกินกว่าจะตัดทิ้งได้ ทำให้รายละเอียดปลีกย่อยต่างๆภายในบทความชุดนี้อาจไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องจดจำมันให้ได้ทั้งหมดตั้งแต่แรก เพราะเป็นเนื้อหาที่เราจะจดจำมันได้เองหลังจากได้ใช้งานมันบ่อยๆหรือเจอจากการใช้ของคู่ต่อสู้ ฉะนั้นเพื่อให้ง่ายต่อการอ่าน ในทุกบทความทางผู้เขียนจึงได้ทำการแยกสีของเนื้อหาทั้งหมดไว้ให้โดยจะแบ่งเป็น
สีดำ – เนื้อหาปกติ
สีแดง- เนื้อหาสำคัญ
สีส้ม – เนื้อหาที่ไม่ต้องจำทั้งหมดตั้งแต่แรก
สีฟ้า – เนื้อหาที่เป็นการยกตัวอย่าง หรือ หมายเหตุ
ในส่วนของรูปภาพประกอบก็จะเป็นภาพรวมหรือตัวอย่าง ของเนื้อหาในแต่ละหัวข้อ ซึ่งผู้เขียนหวังว่านอกจากจะช่วยให้ทุกท่านได้เห็นภาพมากขึ้นแล้ว มันจะช่วยให้ท่านผู้อ่านที่ได้ย้อนกลับมาเปิดดู ได้เจอเนื้อหาที่ต้องการง่ายขึ้นด้วยนะครับ
How to play Yugioh [Update : Master Rule 5]
เกมการ์ดยูกิโอเป็นเกมการ์ดที่ผู้เล่น 2 คนนำเด็คการ์ด (สำรับไพ่, กองการ์ด) ของตน ที่จัดขึ้นอย่างถูกต้องตามเงื่อนไขของเกม มาต่อสู้กันโดยผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่ายจะทำการสับเด็คการ์ดและทำการจั่วการ์ดขึ้นมาคนละ 5ใบ ก่อนจะเริ่มการเล่นแบบสลับกันคนละเทิร์นไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ผู้ชนะ
(รายละเอียดของการเล่นระหว่างเทิร์นจะอยู่ด้านล่างของบทความนี้ครับ)
โดยเงื่อนไขการจบเกมเพื่อหาผู้แพ้ชนะในแต่ละ Macth ก็จะมีด้วยกันดังนี้
1.Life Points : ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายจะมี Life Points เริ่มต้นกันคนละ 8,000 แต้ม โดยผู้เล่นที่ Life Point เหลือศูนย์ก่อนเป็นฝ่ายแพ้
2.Can’t Draw : เมื่อผู้เล่นไม่สามารถทำการจั่วการ์ดจากกองการ์ด (Main Deck) ได้อีก ไม่ว่าจะเป็นช่วง Draw Phase หรือ การจั่วที่เกิดจากเอฟเฟคการ์ดก็ตาม
(จั่วแล้วเหลือ 0 ใบพอดีได้ แต่ถ้าต้องจั่วแล้วกองการ์ดมีไม่พอ หรือ ไม่มีให้จั่วแล้วก็คือแพ้ เช่น เหลือการ์ด 1 ใบแล้วต้องจั๋ว 1 ใบ ก็จะถือว่ายังไม่แพ้ แต่ถ้ามีเอฟเฟคให้จั่ว 2 ใบ แต่กองการ์ดเหลือ 1 ใบก็จะถือว่าแพ้เลย เพราะไม่สามารถทำการจั่วการ์ดจากกองการ์ดได้เป็นต้น)
3.Card Effect : การแพ้ชนะที่เกิดจาก การทำเงื่อนไขของการ์ดบางใบในเกมสำเร็จ เช่น เอฟเฟคของการ์ดเอ็กโซเดีย ตอนเรามีชิ้นส่วนทั้ง 5 ใบ ครบบนมือของเรา เป็นต้น
4.Surrender : ผู้เล่นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเอามือวางไว้บนกองการ์ดของตนเองและประกาศขอยอมแพ้
โดยผู้ที่สามารถเอาชนะได้ 2 ใน 3 Macth ก่อนก็จะถือว่าเป็นผู้ชนะการดูเอลในรอบนั้นไป (การชนะ2 ใน 3 Macth เท่ากับ ชนะ 1Game)
อุปกรณ์พื้นฐานในการเล่นการ์ดยูกิโอ
(ภาพตัวอย่าง เด็คการ์ดทั้ง 3แบบ)
1.เด็คการ์ด(การ์ดแต่ละชื่อห้ามมีซ้ำในเด็คเกิน 3ใบ [รวม Side Deck])
-Main Deckจำนวน 40-60 ใบ
กองการ์ดหลักที่ใช้ในระหว่างการเล่น
-Extra Deck จำนวน 0-15 ใบ
กองการ์ดมอนสเตอร์ชนิดพิเศษ สำหรับให้ผู้เล่นสามารถเลือกอัญเชิญออกมาได้ในระหว่างการเล่นโดยต้องผ่านเงื่อนไขการอัญเชิญที่ถูกต้อง
-Side Deck จำนวน 0-15 ใบ
กองการ์ดสำรองสำหรับใช้เปลี่ยนกับ Main Deck หรือ Extra Deck ในช่วงระหว่างพัก Macth
เพื่อพลิกแพลงการเล่น โดยทั้ง 2 ฝ่ายจะเริ่มเปลี่ยนการ์ดใน Main Deck หรือ Extra Deck กับ Side Deck ของตนได้ก็ต่อเมื่อการต่อสู้ใน Macth แรกจบลงก่อนเท่านั้น (ง่ายๆคือเปลี่ยนตั้งแต่ก่อนสู้ Macth แรกกันไม่ได้)
และถ้าสู้กัน Macth ที่ 2แล้วยังไม่มีใครชนะครบ 2ครั้ง ก็จะสามารถเปลี่ยน Side Deck กันได้อีกรอบ ก่อนจะเริ่มการต่อสู้ใน Macth ที่ 3 ต่อไป
*การเปลี่ยนการ์ดในเด็คจำนวนการ์ดในกองจะต้องเท่าเดิมเสมอ เช่น Main Deck มี 43ใบ ตอนเปลี่ยน Side Deck เสร็จ Main Deck ก็ยังต้องมี 43ใบเท่าเดิม เป็นต้น
**นอกจากนี้เมื่อเล่นจบ Game (คือได้ผู้ชนะ 2 ใน 3 แล้ว) ผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องสลับการ์ด กลับไปตาม List Deck เดิมของตนในตอนแรกเสมอ (ใบไหนอยู่ Main Deck ใบไหนอยู่ Side Deck ในตอนแรก ตอนจบ Game ก็ต้องกลับไปตามนั้นทุกครั้ง)
ในการแข่งขันตามงานแข่ง ผู้เล่นทุกคนจะต้องส่ง List Deck ทั้ง Main, Extra และ Side Deck ให้กับผู้ดูแลการแข่งขันนั้นๆ ก่อนงานเริ่มเสมอ ทำให้ถ้าหากระหว่างงานมีการตรวจเด็ค แล้ว List ที่กำลังเล่นอยู่ไม่ตรงกับในเอกสาร
เช่น กำลังเล่น Macth แรกแต่ใน Main Deck มีการ์ดใน Side Deck หลงมา ก็จะถูกปรับแพ้ Match นั้นทันทีนั่นเอง
(ในบางกรณี หากกรรมการผู้ตัดสิน หรือ Judge เห็นว่าเป็นการจงใจโกง ก็อาจจะได้รับโทษมากกว่านั้น ตั้งแต่ ปรับแพ้ในรอบนั้นไปเลย หรือ ถ้าพฤติกรรมน่าเกลียดมากๆ อาจถึงขั้นเชิญออกจากงานแข่งนั้นๆเลยก็เป็นได้)
หมายเหตุ : เช่นเดียวกับเกมการ์ดส่วนใหญ่ที่จะมี Banlist หรือ การ์ดที่ถูกจำกัดจำนวนที่สามารถใส่ได้ในเด็ค จากปกติที่ใส่ได้ชื่อละ 3ใบให้ลดลงมาเหลือแบบละ 2ใบ, 1ใบ หรือห้ามใส่เลยเป็นต้น โดย Banlist ก็จะมีการอัพเดทเป็นระยะ เพื่อคอยปรับสมดุลของเกมโดยจะอัพเดทเป็นประจำในช่วงเดือนที่ 1, เดือนที่ 4, เดือนที่ 7 และเดือนที่10 ของทุกปี
2.เครื่องคิดเลข หรือ กระดาษและปากกา
สำหรับจด Life Points ระหว่างการเล่น (ทั้งนี้ในการแข่งขันแบบทางการ จะไม่อนุญาตให้ผู้เข้าแข่งขันใช้ เครื่องมือสื่อสารเป็นตัวคำนวณ Life Point ได้)
(เครื่องคิดเลขตรงกลางนั้นจะเป็นสินค้า Official สำหรับใช้เล่นการ์ดยูกิโดยเฉพาะ)
3.Sleeve Card / Card Protector (ซองสำหรับใส่การ์ด)
เพื่อถนอมไม่ให้การ์ดเกิดรอยระหว่างการเล่น โดย Main Deck และ Side Deck จะต้องเป็นลายเดียวกัน ที่ไม่มีตำหนิเด่นชัด (หากถูกพบระหว่างงานแข่งจะถือว่าเป็นการ Mark Card และจะได้รับโทษตามสมควร) ส่วน Extra Deck นั้นก็จะต้อง มีลายที่ “ไม่เหมือนกับ Main Deck” ด้วย (ในกรณีที่ใน Side Deck มีการ์ดที่จะใช้เปลี่ยนใน Extra Deck การ์ดใบนั้นๆจะต้องมี ลวดลายของซอง เหมือนกับของ Extra Deck)
(ปกติจะนิยมใส่กัน 2ชั้น แต่บางคนก็ใส่3ชั้น.. บอกเลยว่า หนาตึ้บ!)
อย่างไรก็ตาม ในการเล่นเบื้องต้นใช้แค่ซองใสไว้ใส่กันรอยก็พอแล้วครับสำหรับหัดเล่น (ถ้าใส่ซองคลุม 2ชั้นก็จะช่วยกันน้ำได้มากขึ้นด้วยนะเออ)
4.กล่องใส่การ์ด
ตรงตามตัวอักษรครับ แต่แนะนำให้หาที่คั่นการ์ด สำหรับแบ่งว่า ส่วนไหน เป็น Main Deck, Extra Deck และ Side Deck ก็จะสะดวกขึ้นมากเลยครับ
(กล่องใส่การ์ดหลายๆรูปแบบ เลือกใช้ตามความชอบเลย แต่ส่วนมากเด็คที่ใช้เล่นก็จะใส่กล่องขนาดพกพาง่ายกันนั่นล่ะ, ส่วนเวลาลงแข่งอย่างเป็นทางการ ภายในกล่องจะมีได้แค่ การ์ด ที่อยู่ใน ListDeck เท่านั้น)
5.แผ่นรองเล่น / พื้นสนาม (Playmat)
ใช้สำหรับระบุตำแหน่งต่างๆบนสนาม หรือ เพื่อถนอมการ์ดเวลาเล่น แต่ถ้าเล่นจนจำพื้นสนามได้แล้ว (หรือบังเอิญตอนนั้นมีเด็คแต่ไม่มีแผ่นสนาม) จะใช้โต๊ะเปล่าหรือเล่นกันบนพื้นแบบสมัยเรียนก็ได้ครับ ตามแต่ผู้เล่นทั้ง 2ฝ่ายจะตกลงกันเลย (แต่ยังไงถ้าเล่นบนพื้นจริงๆนี่ก็ต้องดูสุขภาพไขข้อกันหน่อยนะครับ ฮา)
(ด้านบนเป็นแบบกระดาษแถมจากกล่อง Starter, ด้านล่างเป็น Playmat แผ่นยาง ซึ่งตัวอย่างในภาพเป็น Playmat รุ่นที่ปรับช่องเป็นแบบ Master Rule 5 แล้ว)
(แต่แบบในภาพนี้ก็น่าคิดถึงนะ!)
อุปกรณ์เสริมการเล่นที่ควรมีติดไว้
โดยอุปกรณ์เหล่านี้มักจะถูกนำมาใช้เพราะเอฟเฟคของการ์ดบางใบเท่านั้น
1.เหรียญ : สำหรับการทอย หัวหรือก้อย (ตอนทอยก็ระวังจะโดนการ์ดด้วยนะ เดี๋ยวการ์ดจะเสียหายเอาได้นะ!)
2.ลูกเต๋า : สำหรับการทอยหาแต้ม เพื่อตัดสินว่าใครจะได้เริ่ม ก่อนหรือหลัง, ใช้หาผลลัพธ์ของเอฟเฟคของการ์ดบางใบ หรือ สำหรับใช้ในการนับจำนวนเม็ดเคาน์เตอร์ ของการ์ดบางใบ
(ลูกเต่าแบบไหนก็ใช้ได้ แต่ปกติก็นิยมแบบหน้า 6 กันนะ)
3.การ์ด Token Monster : การ์ดที่มีลักษณะพื้นหลังเป็นสีเทาและห้ามนำไปอยู่ในเด็คการ์ดเด็ดขาด (ไม่จำเป็นต้องมีหน้าตาตรงตามเอฟเฟคการ์ดที่ใช้เป๊ะๆ แค่ให้สามารถระบุได้ว่า Token Monster ตัวนั้นกำลังตั้งโจมตีหรือป้องกัน และไม่ไปสับสนกับการ์ด Token หรือการ์ดใบอื่นบนสนามเป็นใช้ได้)
(การ์ดโทเค่นจะมีสีเทา ซึ่งรุ่นเก่าจะไม่มี Level แต่ Token รุ่นใหม่ มีการใส่ Level และค่าพลังเพิ่มขึ้นมาให้ตรงกับที่ การ์ดที่ใช้เรียกมันออกมาระบุเอาไว้ [ยกเว้น Token ที่เป็นตัวละคร หรือ มาจาก Event พิเศษอื่นๆ] ซึ่งโทเค่นทุกใบใช้แทนโทเค่นใบอื่นได้หมด แต่ถ้าใช้ภาพที่ตรงกับการ์ดต้นของมัน ก็จะดูง่ายกว่านะ)
ประเภทของการ์ดในยูกิโอ
จะแบ่งออกเป็น 3 ชนิดใหญ่ๆคือ การ์ดมอนสเตอร์, การ์ดเวทมนตร์ และ การ์ดกับดัก โดยแต่ละชนิดก็จะมีประเภท, หน้าตา, สัญลักษณ์และรายละเอียดต่างๆดังนี้ *การ์ด 1ใบสามารถมีเอฟเฟคได้มากกว่า 1เอฟเฟค หรือมีเอฟเฟคหลายประเภทได้ โดยจะมี เครื่องหมาย“.” หรือ “,” ช่วยกำกับเอาไว้ในเอฟเฟคแต่ละอันเสมอ*
1.การ์ดมอนสเตอร์
การ์ดที่มีลักษณะพื้นหลังหลากหลายสีแต่พื้นฐานแล้วจะมีสีเหลือง /ครีม และสีส้ม /น้ำตาล เป็นชนิดการ์ดที่ผู้เล่นจะสามารถทำการอัญเชิญ ลงมาบนสนามได้ในช่วง Main Phase เพื่อนำไปต่อสู้หรือเพื่อใช้เอฟเฟคทำคอมโบใดใดต่อไปในระหว่างการเล่น (รายละเอียดเพิ่มเติมในช่วงของ Phase)
กฎการอัญเชิญพื้นฐานของเกมนี้จะถูกเรียกว่าการ “Normal summon” หรือ “การอัญเชิญแบบปกติ” โดยการอัญเชิญรูปแบบนี้ให้ผู้เล่นดูที่จำนวนดาวบนการ์ดมอนสเตอร์ ซึ่ง 1-4 ดาว จะสามารถอัญเชิญลงมาจากบนมือได้เลย โดยจะลงมาตั้งป้องกันคว่ำหน้าหรือตั้งโจมตีหงายหน้าก็ได้ (แต่ลงมาตั้งป้องกันหงายหน้าไม่ได้นะ) แต่ถ้าหากมีจำนวนดาว 5-6 ผู้เล่นจะต้องทำการสังเวยมอนสเตอร์บนสนาม 1 ตัวเพื่ออัญเชิญ แบบปกติ / แบบสังเวย Monster ระดับ 5-6 ดาวตัวนั้นจากบนมือ และจะต้องสังเวยมอนสเตอร์บนสนาม 2 ตัวเพื่ออัญเชิญ Monster ระดับ 7 ดาวขึ้นไปจากบนมือ (แต่มอนสเตอร์ระดับสูงบางใบก็อาจจะมีระบุให้ใช้มากกว่า 2 เช่น เทพโอเบลิสก์ / เทพโอชีริส / เทพราห์ เป็นต้น)
*จำนวนดาวบนการ์ดมอนสเตอร์จะเรียกว่า เลเวล แต่ในชุดบทความนี้ผุ้เขียนจะขอเรียกว่าดาว เพื่อเวลาผู้เล่นใหม่ดูข้อมูลเทียบกับภาพจะได้เข้าใจง่ายๆนะครับ*
การสังเวยมอนสเตอร์เพื่ออัญเชิญแบบปกตินี้ จะถูกเรียกว่า การ “Tribute Summon” (ซึ่งจะนับเป็นการอัญเชิญแบบปกติ) แต่การสังเวยมอนสเตอร์ จากเงื่อนไขของเอฟเฟคการ์ด ที่เรียกว่าการ “Tribute” นั้น นับเป็นคนละอย่างกันนะ (ซึ่งส่วนมากเอฟเฟคประเภท ห้ามสังเวย ก็จะครอบคลุมถึงการสังเวยทั้งสองแบบ)
นอกจากนี้ผู้เล่นจะไม่สามารถทำการพลิกหงายมอนสเตอร์ที่พึ่งถูกอัญเชิญลงมาแบบคว่ำหน้าในเทิร์นเดียวกันได้ แต่ผู้เล่นจะสามารถทำการพลิกหงายมาตั้งโจมตี (พลิกหงายมาตั้งป้องกันหงายหน้าเองไม่ได้นะ) หรือ ที่เรียกว่า “Flip Summon” มอนสเตอร์ที่คว่ำหน้าอยู่กี่ใบต่อเทิร์นก็ได้ (ตราบที่มันไม่ได้พึ่งถูกอัญเชิญลงมาคว่ำอย่างที่กล่าวไป) รวมไปถึงการพลิกหงายยังนับว่าเป็นการเปลี่ยน Position ของการ์ดด้วย (มีอธิบายเพิ่มเติมในช่วง Phase)
*อย่างไรก็ตามในเกมการ์ดยูกิโอนั้นก็มีกรณีที่ Monster จะมีเอฟเฟคระบุเกี่ยวกับการสังเวย Monster 3 ตัวเพื่อลงมันแบบ Normal summon หรือ มีเงื่อนไขการลง Normal summon ของมันแตกต่างไปเป็นกรณีพิเศษอยู่เหมือนกัน เช่น เป็นมอนสเตอร์ระดับ 8 ดาว ที่มีเอฟเฟคทำให้สามารถ Normal summon ลงมาได้เลย แต่จะแลกมากับพลังโจมตีและพลังป้องกันของตัวมันที่จะหายไปครึ่งหนึ่งเป็นต้น
รายละเอียดบนการ์ด
ธาตุทั้งหมดของการ์ด Monster ในปัจจุบัน
เผ่าทั้งหมดของการ์ด Monster ในปัจจุบัน
ประเภทของการ์ดมอนเตอร์นั้นจะมีการแตกแขนงออกไปหลายประเภท โดยจะแบ่งออกได้เป็น 2กลุ่มใหญ่ๆดังนั้น
กลุ่มที่อยู่ใน Main Deck
- Normal Monster (มอนสเตอร์ปกติ)
- Effect Monster
- Ritual Monster (พิธีกรรม)
- Pendulum Monster ***
กลุ่มที่อยู่ใน Extra Deck
- Syncho Monster
- Xyz Monster (Exceed Monster)
- Link Monster
*เนื่องจากข้อมูลของการ์ดมอนสเตอร์นั้นมีรายละเอียดปลีกย่อยค่อนข้างเยอะ ทางผู้เขียนจึงนำรายละเอียดต่างๆเหล่านั้นแยกไปเป็นอีก 2 บทความ โดยสามารถดูเพิ่มเติมได้ตาม Link ด้านล่างนี้เลยครับ
(สำหรับผู้เล่นใหม่ แนะนำให้เปิดดู Link การ์ดมอนสเตอร์ใน Main Deckก่อนนะครับ)
ลิ้งบทความการ์ดมอนสเตอร์ใน Main Deck
ลิ้งบทความการ์ดมอนสเตอร์ใน Extra Deck
การ์ดเวทมนตร์
การ์ดที่มีลักษณะพื้นหลังเป็นสีเขียว เป็นชนิดการ์ดที่สามารถใช้กี่ใบก็ได้ระหว่างการเล่นในแต่ละเทิร์น แต่จะใช้ได้เฉพาะในเทิร์นของตัวเองเท่านั้น (ยกเว้นเวทย์ความเร็วสูง / ฉับพลัน)อีกทั้งการ์ดเวทมนตร์ยังสามารถใช้งานในเทิร์นที่หมอบได้ด้วย ยกเว้นเวทมนตร์ความเร็วสูง / ฉับพลัน
-การ์ดเวทมนตร์แบบปกติ
เป็นการ์ดที่เมื่อสั่งใช้งานเสร็จแล้วจะถูกส่งลงสุสานไป
-การ์ดเวทมนตร์แบบต่อเนื่อง
เป็นการ์ดเวทมนตร์ที่จะเปิดทำงาน และค้างอยู่บนสนามจนกว่าจะถูกทำลายจาก เงื่อนไขของตัวเองหรือถูกทำลายจากผลของการ์ดอื่น
-การ์ดเวทมนตร์ความเร็วสูง (Speed 2)
เป็นการ์ดเวทมนตร์ที่สามารถ “เปิดสั่งใช้งาน” ในเทิร์นของฝ่ายตรงข้ามได้ และจะไม่สามารถใช้งานในเทิร์นที่ถูกหมอบได้เช่นเดียวกับการ์ดกับดัก (แต่ถ้าใช้ในช่วงเทิร์นของเรา ก็สามารถใช้จากบนมือเมื่อไหร่ก็ได้ ถ้าสามารถทำได้ตามเงื่อนไขของการ์ดใบนั้นๆ)
-การ์ดเวทมนตร์สวมใส่
เป็นการ์ดเวทมนตร์ที่จะยังคงอยู่บนสนามตราบใดที่มอนสเตอร์ที่สวมใส่มันอยู่ยังหงายหน้าอยู่บนสนาม และมอนสเตอร์ 1 ตัวสามารถสวมใส่การ์ดสวมใส่กี่ใบก็ได้ในเวลาเดียวกัน
-การ์ดเวทมนตร์พิธีกรรม
เป็นการ์ดที่ทำให้ผู้เล่นสามารถอัญเชิญแบบพิธีกรรมได้ตามเงื่อนไขที่เอฟเฟคการ์ดแต่ละใบกำหนด ซึ่งก็จะเกี่ยวกับการรวมจำนวนดาวของมอนสเตอร์ที่เป็นวัตถุดิบให้เท่ากับหรือมากกว่า มอนสเตอร์พิธีกรรมที่จะอัญเชิญออกมา (รายละเอียดเพิ่มเติมในบทความการ์ดมอนสเตอร์ใน Main Deck)
-การ์ดเวทมนตร์ฟิลด์ หรือ เวทมนตร์สนาม
เป็นการ์ดที่มีช่องสนามเป็นของตัวเอง และจะเปิดการทำงานค้างไว้บนสนามคล้ายกับเวทมนตร์ต่อเนื่อง ซึ่งแต่ละฝ่ายสามารถ “มีอยู่บนสนามได้คนละ 1 ใบ” เท่านั้น (เท่ากับบนสนามมีการ์ดสนามทำงานพร้อมกันได้สูงสุด 2 ใบ, แต่การ์ดประเภทนี้ ไม่สามารถถูกนำไปไว้ในช่อง เวทมนตร์ / กับดัก ทั่วไปได้)
*โดยหากผู้เล่นสั่งใช้งานการ์ดเวทย์สนามในขณะที่มีเวทย์สนามถูกใช้งานค้างไว้อยู่ก่อนแล้ว การ์ดเวทย์สนามใบเก่าจะ “ถูกส่งลงสุสาน” ไปโดยกรณีนี้นั้น จะ “ไม่ถือว่าเป็นการถูกทำลาย” (การ์ดเวทย์สนามบางใบจะมีความสามารถ เมื่อมันถูกทำลาย)
การ์ดกับดัก (Speed 2)
การ์ดที่มีลักษณะพื้นหลังเป็นสีชมพู เป็นชนิดการ์ดที่จะต้องทำการหมอบเอาไว้ก่อน 1 เทิร์นจึงจะสามารถเปิดใช้งานได้ (เว้นแต่จะมีเอฟเฟคที่ทำให้ข้ามกฎนี้ไปได้) โดยการ์ดชนิดนี้จะสามารถเปิดใช้งานได้ทั้งในเทิร์นของตัวเอง (หลังจากผ่านเทิร์นที่ถูกหมอบไปแล้ว) และในเทิร์นของฝ่ายตรงข้าม
-การ์ดกับดักปกติ
เป็นการ์ดที่เมื่อสั่งใช้งานเสร็จแล้วจะถูกส่งลงสุสานไป
-การ์ดกับดักต่อเนื่อง
เป็นการ์ดกับดักที่จะ ค้างอยู่บนสนาม หลังจากถูกสั่งใช้งานจนกว่าจะถูกทำลายจากเงื่อนไขของตัวเองหรือถูกทำลายจากผลของการ์ดอื่น
-การ์ดกับดัก Counter (กับดักเคาน์เตอร์)
เป็นการ์ดกับดักที่จะถูกส่งลงสุสานเมื่อใช้งานเสร็จแล้ว แต่จะมีความพิเศษตรงที่เป็นการ์ดชนิดเดียวที่มีความเร็วหรือ Speed สูงที่สุดในเกม (รายละเอียดจะอยู่ในหัวข้อถัดไป)
หมายเหตุ : การ์ดกับดักที่กลายเป็น Monster ได้ จะถูกย้ายจากโซนเวทมนตร์กับดักขึ้นมาอยู่ในโซน Monster แทน โดยตัวของมันจะยังถือว่าเป็นการ์ดกับดักอยู่
Speed
ในเกมการ์ดยูกินั้นผู้เล่นสามารถสั่งใช้งานเอฟเฟคของการ์ดเพื่อขัดขวาง หรือ แทรกแซง การเล่นของฝ่ายตรงข้ามได้ ทำให้มีเรื่องของ Speed หรือความเร็วของการ์ดเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยการ์ดที่มีความเร็วน้อยกว่าจะไม่สามารถสั่งใช้งานเพื่อขัดขวางการสั่งใช้งานของการ์ดที่มีความเร็วสูงกว่าได้ (แต่จะขัดการ์ดที่มีความเร็วเท่ากัน หรือ น้อยกว่าได้) ซึ่งจะแบ่งความเร็วของการ์ดได้ดังนี้
-การ์ดทั่วไปนับเป็น Speed 1
-การ์ดมอนสเตอร์ที่ระบุว่าเป็น Quick Effect, การ์ดเวทมนตร์ความเร็วสูงและการ์ดกับดักนับเป็น Speed 2
-การ์ดกับดักเคาเตอร์นับเป็น Speed 2.5
Chain
กล่าวอย่างง่ายๆว่ามันคือลำดับการทำงานของเอฟเฟคการ์ดที่ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายเปิดใช้งานเพื่อแทรกแซงใส่กันเป็นลูกโซ่ (หรือเป็นทอดๆ)
โดยการ Chain ในแต่ละครั้ง การ์ดต่างๆที่ทำการเปิดใช้งานแทรกขึ้นมานั้นจะถูกนับเป็นตัวเลขตามลำดับการสั่งใช้งานของการ์ด โดยเมื่อไม่มีการ์ดใดๆเปิดใช้งานแทรกแล้วเอฟเฟคการ์ดที่มีเลขมากสุดจะเกิดขึ้นก่อน (หรือก็คือการ์ดที่ใช้งานล่าสุดจะเกิดผลก่อนแล้วไล่ลำดับย้อนกลับไปยังใบแรกสุดนั่นเอง)
*ในการแทรก Chain ผู้เล่นจะต้องถามอีกฝ่ายก่อนเสมอว่าต้องการจะทำการ Chain แทรกอะไรหรือไม่หากผู้เล่นอีกฝ่ายไม่ทำ เราจึงจะสามารถเปิด Chain ใส่การ์ดของตนเองได้ต่อ เช่น เราสั่งใช้งานการ์ดขึ้นมาเป็นเชนที่ 1 หากอีกฝ่ายปฏิเสธที่จะขึ้น Chain ที่ 2 กลับมา เราก็จะสามารถสั่งใช้งานการ์ดอีกใบขึ้นมาเป็น Chain ที่ 2 เองได้ และผู้เล่นอีกฝ่ายก็จะได้สิทธิ์แทรกเป็นเชนที่ 3 ต่อไป (หากเขาสามารถทำเช่นนั้นได้) โดยการ Chain ก็จะสลับกันในรูปแบบนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายจะไม่สามารถทำการ Chain ต่อไปได้อีก (หรืออาจจะเลือกที่จะไม่ทำการ Chain ต่อ) เอฟเฟคการ์ดที่อยู่ในการ Chain นั้นก็จะเริ่มทำงานไล่จาก Chain ที่มีลำดับตัวเลขสูงที่สุดอย่างที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ เป็นต้น
**Missing Time**
เนื่องจากการ์ดยูกิเป็นเกมที่มีจำนวนการ์ดเยอะเอามากๆทำให้มีเอฟเฟคของการ์ดหลายๆใบที่เมื่อถูกใช้งานแทรกกันแล้วจะเกิดช่องโหว่ของเอฟเฟคการ์ดขึ้น หรือก็คือในบางสถานการณ์เอฟเฟคการ์ดบางอย่างที่ควรจะเกิดขึ้นตามลำดับ Chain มันกับไม่เกิดขึ้น เป็นต้น
ซึ่งหากเป็นการเล่นกันเองแบบสบายๆนั้น ผู้เล่นสามารถที่จะตกลงกันเพื่อหาผลลัพธ์ที่ทั้งสองฝ่ายพึงพอใจที่สุดไปก่อนได้ แล้วค่อยนำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นไปปรึกษาในกลุ่ม Community เพื่อเป็นการแชร์ข้อมูล และช่วยกันหาทางแก้ไขสถาการณ์เหล่านั้นเมื่อเกิดขึ้นอีกได้นั่นเอง
(แน่นอนว่าหากมันเป็นการเกิด Missing Time จากการ์ดที่ใช้กันบ่อยก็อาจจะได้รับคำตอบจาก community เลย และจะมีระบุเอาไว้ใน Official Website ของ Yugioh ด้วย (แต่เป็นภาษาญี่ปุ่นซะส่วนใหญ่)
อย่างไรก็ตามในจุดนี้เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ทุกการแข่งขันจะต้องมีเจ้าหน้าที่กรรมการ หรือ ผู้ตัดสิน (Jugde) คอยตรวจสอบและช่วยชี้แจงในระหว่างการแข่งขันเสมอ รวมไปถึงคอยอธิบายและตรวจสอบเอฟเฟคของการ์ดให้ถูกต้อง กรณีเกิดข้อสงสัยระหว่างผู้เล่นอีกด้วย
*ในการแข่งขัน การตัดสินใจของ หัวหน้าผู้ตัดสินประจำงาน (Head Judge) ถือเป็นที่สิ้นสุด ไม่ว่าจะกรณีใดใดก็ตาม*
พื้นที่ต่างๆบนสนาม
พื้นที่บนสนามจะแบ่งเป็นสองฝั่งคือฝั่งของเราและฝั่งของคู่ต่อสู้ตามภาพ โดยพื้นที่ของผู้เล่นแต่ละคนจะมีพื้นที่ดังนี้
-Deck Zone / Main Deck
พื้นที่สำหรับวางเด็คการ์ดของผู้เล่นแต่ละฝั่ง (ไม่สามารถหยิบขึ้นมาดูระหว่างการเล่นได้ ยกเว้นจะมีเอฟเฟคการ์ดเข้ามาเกี่ยวข้อง)
-Graveyard Zone (โซนสุสาน)
พื้นที่สำหรับการ์ดที่ออกจากสนามหรือถูกใช้งานแล้ว
-Extra Deck Zone
พื้นที่สำหรับวาง Extra Deck
*Graveyard และ Extra Deck นั้นสามารถหยิบมาตรวจสอบการ์ดได้เสมอ แต่ผู้เล่นห้ามทำการสลับตำแหน่งของการ์ด(เพราะมีการ์ดที่มีเอฟเฟคเกี่ยวกับลำดับการ์ดพวกนี้อยู่ แต่เนื่องจากไม่ค่อยมีคนใช้กันผู้เล่นส่วนใหญ่เลยไม่ได้ซีเรียสตรงจุดนี้มากนัก (แต่ควรซีเรียสเวลาไปเล่นที่งานแข่งนะ) นอกจากนี้ในกรณีเดียวกัน Extra Deck ก็จะต้องสลับเด็คแบบเดียวกับ Main Deck ในตอนเริ่มเล่น เพราะมีเอฟเฟคการ์ดจำพวกสุ่มทิ้งการ์ดจาก Extra Deck อยู่เหมือนกัน แต่เพราะการ์ดที่มีเอฟเฟคแบบนั้นมีไม่มาก ผู้เล่นจึงมักจะสับเด็คเฉพาะตอนที่อีกฝ่ายจะใช้เอฟเฟคกัน เป็นต้น)
-Monster Zone (โซน Monster)
พื้นที่สำหรับวางมอนสเตอร์
-Spell and Trap Zone (โซนเวทมนตร์กับดัก)
พื้นที่สำหรับใช้งานการ์ดเวทมนตร์ หรือ หมอบการ์ดกับดัก โดยหากมีการ์ดเต็มทั้ง 5 ช่องแล้วผู้เล่นก็จะไม่สามารถสั่งใช้งานการ์ดเวทย์ได้อีก
-Pendulum Zone (ช่องวาง Scale)****
พื้นที่การใช้งานเกี่ยวกับการ์ด Monster Pendulum และยังนับว่าเป็นช่องโซน เวทมนตร์ / กับดัก ด้วย, ซึ่งช่องทั้ง 2 ช่องนี้ จะถูกเรียกว่า Pendulum Zone ก็ต่อเมื่อมี Monster Pendulum ถูก วางเอาไว้เป็น Scale หรือ ไม่มีการ์ด เวทมนตร์ / กับดัก อยู่ในช่องนั้นๆ, โดยรายละเอียดเพิ่มเติมจะเป็นบทความเฉพาะแยกออกไปตาม Link นี้เลยครับ
(ลิ้งบทความ Pendulum)
-Field Zone (โซนเวทมนตร์สนาม)
พื้นที่สำหรับสั่งใช้งาน และวางการ์ดเวทมนตร์สนาม (กรณีที่ช่อง เวทมนตร์ / กับดักถูกใช้งานจนเต็มทั้ง 5 ช่องแล้วการ์ดเวทมนตร์สนามจะยังสามารถใช้งานได้ปกติ เพราะพวกมันแยกช่องกันใช้ และการ์ดเวทมนตร์สนาม จะไม่สามารถถูกนำไปวางในช่อง เวทมนตร์ / กับดัก ตามปกติได้)
-Extra Monster Zone*
เป็นพื้นที่ตรงกลางสนาม 2 ช่องที่ผู้เล่นจะใช้ร่วมกัน โดยผู้เล่นสามารถเลือกใช้งานช่องใดก็ได้โดย “ผู้เล่นแต่ละคนจะสามารถครอบครองพื้นที่ Extra Monster Zone ตรงกลางสนามนี้ได้เพียงครั้งละ 1 ช่องเท่านั้น” หรือก็คือยึด 2 ช่องพร้อมกันไม่ได้ (เว้นเสียแต่ว่าผู้เล่นจะทำให้เกิดเงื่อนไขพิเศษจากกฏของการทำการ Link เพื่อให้ได้สิทธิในการควบคุมทั้ง 2ช่องมา ซึ่งรายละเอียดอยู่ในหัวข้อ Link Monster ตาม Link ด้านล่างนี้เลยครับ)
(ลิ้งบทความการ์ดมอนสเตอร์ใน Extra Deck)
-Remove Zone (พื้นที่นอกสนาม)*
เป็นพื้นที่นอกสนามที่ใดก็ได้โดยไม่ได้จำกัดไว้ตายตัวแบบพื้นที่โซนอื่นๆ (ที่เป็นช่องสี่เหลี่ยมแบบบนสนาม) แต่โดยปกติแล้วมักจะวางไว้เหนือช่องสุสานของฝั่งตัวเองเพื่อความสะดวกในการใช้งาน
ในกรณีที่เป็นการเล่นที่ไม่มีแผ่นรองสนาม ผู้เล่นจะนำการ์ด 1ใบ(ที่ไม่ได้ใช้เล่นในเกม และจะไม่ทำให้เกิดความสับสนระหว่างเล่น) มาวางไว้ที่จุดกึ่งกลางสนาม เพื่อระบุตำแหน่งของ ช่อง Extra Monster ซึ่งจะอยู่ด้านข้างของการ์ดที่นำมาวางใบนั้นพอดี นั่นเอง
*ในระหว่างการเล่น ผู้เล่นไม่สามารถทำการขยับเคลื่อนการ์ดที่อยู่บนสนามไปจากช่องเดิมโดยพลการได้โดยเด็ดขาด หากจะเคลื่อนการ์ดบนสนามไปช่องช่องอื่นจะต้องทำโดยเกิดจากเอฟเฟคของการ์ด หรือ จากการอัญเชิญ / สั่งใช้งานใหม่เท่านั้น* (เพราะมีการ์ดที่มีเอฟเฟคเกี่ยวกับช่องบนสนามด้วย)
Phase
ในเกมยูกิโอนั้นจะเป็นการสลับเทิร์นของผู้เล่นทั้งสองฝ่ายซึ่งในแต่ละเทิร์นของผู้เล่นแต่ละคน จะถูกแบ่งออกเป็น Phase ต่างๆที่เรียงลำดับกันดังนี้(ส่วนวิธีหาว่าจะใครเริ่มเล่นก่อนก็เบสิคอย่าง เป่ายิ่งฉุบ หรือใช้วิธี ทอยเต๋า ก็แล้วแต่ผู้เล่น 2คนตกลงกันได้เลยครับ)
-Draw Phase
Phase ที่ให้ผู้เล่นเจ้าของเทิร์นจั่วการ์ดขึ้นมือ 1 ใบ
*จำไว้เสมอว่า “ในเทิร์นที่ 1 ของผู้เล่นคนแรก” จะไม่ได้ทำการจั่วการ์ดในช่วง Draw Phase นะครับ (เท่ากับว่าในเทิร์นที่1นั้น ผู้เล่นคนแรกมีการ์ดให้เล่น 5 ใบ ในขณะที่เทิร์นที่ 1 ของผู้เล่นที่ได้เริ่มเล่นทีหลังจะมีการ์ดให้เล่น 6 ใบ เพราะเขาได้จั่ว Draw Phase ตามปกตินั่นเอง) *
-Standby Phase
Phase ที่เกิดขึ้นทันทีเมื่อพูดเล่นจั่วไพ่ในช่วง Draw Phase โดยจะไม่มีอะไรเป็นพิเศษใน Phase นี้ นอกจากเกิดเอฟเฟคของการ์ดตามเงื่อนไขที่ระบุเอาไว้ว่า จะทำงานเมื่อเข้าสู่ Standby Phase เป็นต้น
-Main Phase 1
Phase ที่พูดเล่นสามารถทำการ Normal Summon ได้ 1 ครั้ง หรือ ทำการเปลี่ยน Position ของ Monster ตัวใดก็ได้บนสนามที่เราควบคุมอยู่ “ตัวละ 1 ครั้ง” ระหว่างการตั้งโจมตีและป้องกัน หรือ จากป้องกันคว่ำหน้าเป็นตั้งโจมตีหงายหน้า (ในการคว่ำหรือหมอบการ์ดมอนสเตอร์จะเกิดจากตอนถูกอัญเชิญเท่านั้น นอกเสียจากจะมีเอฟเฟคของการ์ดที่ระบุให้ทำได้ หรือก็คือ โดยปกติผู้เล่นจะไม่สามารถจับมอนสเตอร์กลับไปคว่ำโดยตรงได้นั่นเอง)
รวมไปถึงใช้งานการ์ดต่างๆในมือตามเงื่อนไขที่ทำได้เช่น ใช้งานการ์ดเวทมนตร์, หมอบการ์ด เวทมนตร์ / กับดัก หรือ ใช้งานเอฟเฟคมอนสเตอร์บางใบจากบนมือ
*ประเภทเอฟเฟคมอนสเตอร์ชนิดต่างๆจะอยู่ในบทความของรายละเอียดการ์ดมอนสเตอร์ตาม Link ด้านล่างนี้นะครับ
(ลิ้งบทความการ์ดมอนสเตอร์ใน Main Deck)
-Battle Phase
Phase ที่พูดเล่นจะสั่งให้มอนสเตอร์ของเราที่ตั้งโจมตีอยู่ทำการโจมตีใส่มอนสเตอร์ฝั่งตรงข้ามตามที่ผู้เล่นเลือก หรือ โจมตีผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามโดยตรงหากไม่มีมอนสเตอร์ของอีกฝ่ายอยู่บนสนามให้โจมตี
(ผู้เล่นที่เริ่มเล่นคนแรก จะยังไม่สามารถทำการโจมตีได้)
โดยเมื่อเข้าสู่ Battle Phase ก็จะแบ่งออกได้เป็น Step ดังนี้ (ซึ่งสาเหตุที่จุดนี้มีรายละเอียดเยอะเพราะมันจะไปมีผลในเรื่องของลำดับการออกผลจากเอฟเฟคการ์ดที่มีผลเกี่ยวข้องกับช่วงนี้นั่นเอง)
Start Step
Battle Step / Damage Step*ในส่วนนี้เล่นไปบ่อยๆก็จะจำได้เองครับ*
ช่วงการคำนวณความเสียหายกับ Life Points ที่เกิดจากการต่อสู้ (ซึ่งในช่วงคำนวณความเสียหายนี้ก็จะแบ่งเป็นขั้นตอนย่อยสำหรับดูลำดับการออกผลของเอฟเฟคการ์ดได้ดังนี้)
Start of the Damage Step – ช่วงเข้าดาเมจสเต็ป
Before Damage Calculation – ก่อนคำนวณความเสียหาย
During Damage Calculation - ระหว่างคำนวณความเสียหาย
After Damage Calculation – หลังคำนวณความเสียหาย
End of Damage Step – จบดาเมจสเต็ป
End Step
-Main Phase 2
จะเข้าสู่ Phase นี้เมื่อผู้เล่นทำการเข้าสู่ Battle Phase มาก่อนเท่านั้น(ดูภาพรวมได้ที่แผนผังในภาพเกี่ยวกับ Phase) โดยจะเหมือนกับ Main Phase 1 โดยที่ข้อจำกัดต่างๆอย่างการ Normal Summon, การเปลี่ยน Position มอนสเตอร์ ก็จะนับรวมกันกับ Main Phase 1
-End Phase
เป็น Phase ก่อนเข้าเทิร์นของฝ่ายตรงข้าม ที่ ผู้เล่นจะต้องทำการทิ้งการ์ดบนมือให้เหลือไม่เกิน 7ใบ เอฟเฟคของการ์ดที่ระบุว่าจะหมดในช่วง End Phase เราสามารถเลือกลำดับก่อนหลัง ในการหมดสถานะของการ์ดได้ตามใจชอบ แต่ผู้เล่นเจ้าของเทิร์นยังสามารถสั่งใช้งานเอฟเฟคของการ์ดบางใบได้ ในช่วงนี้
-End of Turn
เมื่อจบการกระทำต่างๆในช่วง End Phase ก็จะนับว่าเป็นการ จบเทิร์น (End of Turn) ซึ่งจะนับว่าอยู่คนละช่วงกับช่วง End Phase เอฟเฟคประเภทที่ทำงานจนจบเทิร์น จะหมดสถานะพร้อมกันในตอนนี้ และผู้เล่นเจ้าของเทิร์นจะทำอะไรไม่ได้อีกในช่วงนี้
บทความโดย WolfTales