How To Play Yu Gi Oh! Card : ep1.การเล่นการ์ดเกมยูกิโอในปัจจุบัน
How To Play Yu Gi Oh! Card : ep2.[Master Rules]
How To Play Yu Gi Oh! Card : ep3.Monster Card คืออะไร [Main Deck]
How To Play Yu Gi Oh! Card : ep4.Monster Card คืออะไร [Extra Deck]
How To Play Yu Gi Oh! Card : ep5.เพนดิวลั่มเจ้าปัญหา เล่นยังไง [Pendulum Card]
Trading Card Game อย่างการ์ดยูกินั้นนับได้ว่าเป็นหนึ่งในเกมการ์ดที่อยู่คู่เด็กไทยเรามาอย่างยาวนาน ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมาการ์ดยูกิก็ได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงมาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งโดยส่วนมากแล้วก็จะเป็นการแก้ไขคำเรียกต่างๆและเพิ่มเติมการ์ดประเภทใหม่ๆเข้ามา
ทำให้สิ่งต่างๆที่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาเหล่านี้ นอกจากที่มันจะทำให้การ์ดยูกิเติบโตไปข้างหน้าแล้ว มันก็ยังทำให้ผู้เล่นหน้าเก่าหลายๆท่านค่อยๆถอยห่างออกไปเช่นกัน รวมถึงรายละเอียดของเกมที่มากขึ้นก็ยังทำให้ผู้เล่นหน้าใหม่เรียนรู้ได้ยากขึ้นตามไปด้วย
(เดินทางมาไกลหลายภาคแล้ว จริงๆยังมีภาคใหม่ที่ยังไม่ได้แปลไทยด้วยนะ)
อย่างไรก็ตาม จากความผูกพันที่มีมาอย่างยาวนานระหว่างการ์ดยูกิกับคนไทยที่เติบโตมากับสื่อการ์ตูนและเกมอย่างเราๆ ก็ทำให้ในหลายๆครั้งที่เราต่างมักจะรู้สึกอยากหยิบจับเกมการ์ดสุดคลาสสิคนี้มาเล่นให้หายคิดถึงบ้าง แต่ก็มักจะต้องเปลี่ยนใจไปเสียทุกที ไม่ว่าจะเป็นเพราะการ์ดใหม่ๆที่ไม่คุ้นเคย หรือกฎสมัยใหม่ที่ดูซับซ้อน จนทำเราไม่รู้จะเริ่มต้นจากตรงไหนก่อนดี
(เอฟเฟคสมัยก่อนเทียบกับเอฟเฟคสมัยนี้ ซึ่งอย่าว่าแต่ผู้เล่นเก่าเลย ผู้เล่นปัจจุบันเจอใบใหม่ออกเอฟเฟคมายิบแบบนี้ ก็มีมึนเหมือนกันครับ ฮา)
ดังนั้นในวันนี้ ทางเราจึงได้ตัดสินใจที่จะทำชุดบทความ “วิธีการเล่นการ์ดยูกิในปัจจุบัน” ขึ้น เพื่อเป็นเหมือนกับคู่มือสรุปการเล่น ให้กับผู้ที่ไม่เคยเล่นการ์ดยูกิมาก่อน หรือ เป็นผู้เล่นเก่าที่อยากจะกลับมาเล่นยูกิอีกครั้ง ให้ได้สามารถเริ่มเล่นได้อย่างสะดวกและเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น(…หรือป่าวนะ… ฮา)
โดยตัวของบทความชุดนี้จะประกอบไปด้วยบทความทั้งหมด 5 บทที่มี Link เชื่อมโยงกันเพื่อที่ท่านผู้อ่านจะได้สามารถย้อนกลับมาเปิดดูได้เสมอเมื่อต้องใช้งานเนื้อหาในส่วนนั้นๆ
เช่น การ์ดประเภท Pendulum ใช้งานยังไง, รายละเอียดช่วงคำนวณความเสียหายมีอะไรบ้าง เป็นต้น
(การ์ด Pendulum ที่ใครๆต่างก็ไม่ค่อยจะชอบหน้าซักเท่าไหร่)
และด้วยการที่ในปัจจุบันการ์ดยูกินั้นมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ค่อนข้างมาก อีกทั้งรายละเอียดหลายๆอย่างที่ว่านี้นั้นแม้จะไม่ได้เป็นสิ่งที่จะได้ใช้ตลอดเวลาที่เล่นกันในเกม แต่ก็มีความสำคัญเกินกว่าจะตัดทิ้งได้ ทำให้รายละเอียดปลีกย่อยต่างๆภายในบทความชุดนี้อาจไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องจดจำมันให้ได้ทั้งหมดตั้งแต่แรก เพราะเป็นเนื้อหาที่เราจะจดจำมันได้เองหลังจากได้ใช้งานมันบ่อยๆหรือเจอจากการใช้ของคู่ต่อสู้ ฉะนั้นเพื่อให้ง่ายต่อการอ่าน ในทุกบทความทางผู้เขียนจึงได้ทำการแยกสีของเนื้อหาทั้งหมดไว้ให้โดยจะแบ่งเป็น
สีดำ – เนื้อหาปกติ
สีแดง- เนื้อหาสำคัญ
สีส้ม – เนื้อหาที่ไม่ต้องจำทั้งหมดตั้งแต่แรก
สีฟ้า – เนื้อหาที่เป็นการยกตัวอย่าง หรือ หมายเหตุ
ในส่วนของรูปภาพประกอบก็จะเป็นภาพรวมหรือตัวอย่าง ของเนื้อหาในแต่ละหัวข้อ ซึ่งผู้เขียนหวังว่านอกจากจะช่วยให้ทุกท่านได้เห็นภาพมากขึ้นแล้ว มันจะช่วยให้ท่านผู้อ่านที่ได้ย้อนกลับมาเปิดดู ได้เจอเนื้อหาที่ต้องการง่ายขึ้นด้วยนะครับ
บทความกฎกติกาและอุปกรณ์การเล่นพื้นฐานที่ผู้เล่นต้องรู้จักก่อนเป็นอันดับแรก
บทความของการ์ดมอนสเตอร์ชนิดต่างๆภายใน Main Deck ที่เป็นหัวใจสำคัญของเกมการ์ดยูนี้
บทความของการ์ดมอนสเตอร์พิเศษแต่ละประเภทที่อยู่ใน Extra Deck ส่วนเสริมการเล่นที่ทำให้การเล่นของการ์ดยูกิเกิดความหลากหลายอย่างน่าสนใจ
Pendulum Card
บทความแนะนำเกี่ยวกับการ์ดเพนดิวลั่ม ประเภทการ์ดมอนสเตอร์ที่มีกฎยิบย่อยมากที่สุดของเกม
และเมื่อท่านผู้อ่านได้เข้าใจถึงพื้นฐานจาก Linkด้านบนมาพอสมควรแล้วสิ่งต่อมาที่ต้องมีก่อนที่จะไปเริ่มเข้าสู่การเล่นเกมการ์ด ซึ่งจะขาดไปไม่ได้เลยนั่นก็คือ “การจัดเด็ค”
ในการจัดเด็คของการ์ดยูกินั้น หลักๆแล้วภายในเด็คจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆดังนี้ (จริงๆจุดนี้จะจัดตามใจ หรือ ลองจัดตามในเน็ตก็แล้วแต่สะดวกได้เลยครับ)
โครงเด็ค – ชุดการ์ดหลักในเด็คของผู้เล่น ซึ่งส่วนมากจะเป็น Theme เดียวกัน หรือเป็นชุดการ์ดที่สามารถทำคอมโบร่วมกันได้อย่างรุนแรง และมีประสิทธิภาพในด้านต่างๆ
การ์ดสามัญ – ชุดการ์ดสนับสนุนการเล่นพื้นฐานที่เรามักจะสามารถเห็นได้ในทุกๆเด็ค เช่น การ์ดชุบชีวิต เป็นต้น
การ์ดเสริม – การ์ด หรือ ชุดการ์ดสนับสนุนที่มีความเหมาะสมกับโครงเด็คของเราไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการทำคอมโบ หรือมาช่วยกลบจุดอ่อนของเด็คก็ตาม
*ในการจัดเด็คนั้น โครงเด็คบาง Theme ก็มีจำนวนการ์ดที่ใช้ในการเล่นน้อย (เช่น 6 ใบ ก็ทำคอมโบกันได้แล้ว ขณะที่โครงเด็คปกติอาจต้องใช้ถึง 15-20ใบ เป็นต้น) เราจึงมักจะเห็นการนำโครงเด็คขนาดเล็กเหล่านี้มาใส่เป็นการ์ดเสริมให้กับโครงเด็คหลักเพราะสามมารถเล่นด้วยกันได้อยู่เสมอ
ซึ่งในปัจจุบันการ์ดยูกิก็ได้มีการออกแบบ Theme Deck ใหม่ๆมามากมายที่มีแนวการเล่นเป็นเอกลักษณ์ของพวกมันเอง ทำให้เหมาะมากที่ผู้เล่นใหม่จะเริ่มหาเด็คถูกใจจาก Theme Deck เหล่านี้แล้วค่อยศึกษาการเล่น ว่าการ์ดแต่ละใบในชุดมันใช้ทำอะไรได้บ้าง และเหมาะกับการเล่นแบบไหน หรือจะเริ่มศึกษาจากเด็คที่เหล่าตัวละครในการ์ตูนใช้ ก็ได้เช่นกัน
ช่องทางต่างๆเกี่ยวกับการเล่นการ์ดยูกิ
อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากการศึกษาหรือทำความเข้าใจด้วยตัวเองแล้ว ก็คงจะไม่สามารถที่จะตอบโจทย์ในรายละเอียดหลายๆอย่างได้ ดังนั้นอีกทางเลือกหนึ่งที่ตอบโจทย์ที่สุดก็คือ การได้ลองเล่นของจริงที่ร้านค้าต่างๆซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญคอยสอน หรือเข้าไปสอบถามสิ่งที่อยากจะรู้ อยากศึกษาจาก Community ต่างๆในแวดวงการ์ดยูกิประเทศไทย ตาม Linkช่องทางด้านล่างนี้เลยครับ
เพจข่าวสาร Official https://www.facebook.com/Thaiyugiohclub/
เพจพูดคุย Community https://www.facebook.com/
เพจร้านค้าตัวแทนจำหน่าย https://www.facebook.com/Moderncards.th
(ภาพบรรยากาศร้าน Modern Card ที่ชั้น 4 ตึก Always One ตรงข้ามตึก Mega Plaza)
แต่หากใครอยากจะลองศึกษาผ่านโปรแกรมก็สามารถเริ่มได้จากทั้งเกมยูกิในแต่ละภาคที่เคยวางขายบนแพลตฟอร์มต่างๆหรือจะเป็นเกมในมือถือทั้งระบบ IOS, Android และบน Steam อย่างYugioh! Duel Link ที่เป็นเหมือนเกมฉบับย่อส่วนของการ์ดยูกิหลักก็ได้เช่นกัน
(ใน Duel Linkพื้นที่สนามและจำนวนการ์ดในเด็คจะถูกปรับให้มีขนาดเล็กลง รวมถึงเอฟเฟคการ์ดบางอย่างก็ถูกเปลี่ยนให้เข้ากับรูปแบบเกมมากขึ้น)
นอกจากนี้สำหรับท่านที่ไม่ถนัดภาษาญี่ปุ่นและอังกฤษ หรือขี้เกียจแปล ก็สามารถโหลด App แปลเอฟเฟคการ์ดเวอร์ชั่นภาษาไทยที่แปลโดยทาง Official ยูกิในประเทศไทย ซึ่งผู้เขียนมองว่ามันเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้กับผู้ที่อยากเล่นการ์ดยูกิได้เป็นอย่างดีเลยล่ะครับ
Application – DOWNLOAD KK Card Info
แถมท้าย – การ์ดยูกิที่เราเห็นว่ามีทั้งภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่นนั้น จะมีความต่างกันก็คือ TGC การ์ดภาษาอังกฤษ และ OCG การ์ดภาษาญี่ปุ่น ซึ่ง 2แบบนี้จะแตกต่างกันหลักๆที่ Banlist และการจัดการแข่งขัน โดยประเทศไทยของเราก็จะเล่นในฝั่งของ OCG หรือก็คือการ์ดยูกิภาษาญี่ปุ่นนั่นเองครับ
บทความโดย WolfTales