การ์ดเกม Cardfight Vanguard V Series (การ์ดไฟท์ แวนการ์ด วี ซีรีส์) คือ ???
การ์ดไฟท์ แวนการ์ด คือ การ์ดเกมชนิดหนึ่งที่ได้ต้นกำเนิดมาจากการ์ตูนของญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า Cardfight! Vanguard โดยในขณะนี้ การ์ตูนเรื่อง การ์ดไฟท์ แวนการ์ด ก็ได้มีออกมาเป็นการ์ตูนด้วยกันหลายภาค
และนี่คือบทความที่จะพาทุกท่าน ไปสู่การ “รีเมค” การ์ดไฟท์ แวนการ์ด ให้สนุก และเข้าใจง่ายขึ้น ลุ้นดวง และใช้ฝีมือในการคิด วิเคราะห์กันมากขึ้น กับ Cardfight Vanguard V Series (การ์ดไฟท์ แวนการ์ด วี ซีรีส์)
สารบัญ
เงื่อนไขการชนะ+อุปกรณ์ในการเล่น
ขั้นตอน(Flow)การเล่นการ์ดเกมนี้ แบบย่อ สำหรับมือใหม่
How to Play ขยายความจาก Flow ลำดับต่าง ๆ ในเทิร์นการเล่น
ไรด์เฟส / เมนเฟส / แบทเทิลเฟส การ์เดี้ยนคอล ไดร์ฟเช็ก ดาเมจเช็ก
อธิบายสนามการเล่น (Play Map) ระบบใหม่Imaginary Gift
ไอเดียของเกมนี้ จะให้ผู้เล่นสมมติแทนตัวเองคือหนึ่งในร่างวิญญาณที่ต้องคอย “ชี้นำ” (Vanguard) ให้เหล่ามอนสเตอร์ต่างๆ บน “ดาวเคราะห์ เคลย์”
ซึ่งผู้เล่นจะต้องทำการสิงร่าง หรือ Ride ยูนิตเป็นร่างอวตารในดาวเคราะห์แห่งนี้ แล้วพาพรรคพวกไปถล่มคู่ต่อสู้
การเอาชนะในเกมการ์ดนี้ คือ ผู้เล่นที่สามารถทำความเสียหายต่อผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามได้ “6 Damage” (แดมเมจ) ก่อนจะเป็นผู้ชนะ”
หรือ “หากผู้เล่นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งการ์ดหมดเด็คก่อน” ก็จะถือว่า “แพ้” ไปทันที
อุปกรณ์ในการเล่น
แน่นอนว่านี่คือการ์ดเกม อย่างไรเสียก็ต้องมี “การ์ด” เป็นหัวใจหลักในการเล่น ซึ่ง ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายจะต้องมี “กองการ์ด” ที่เรียกว่า “DECK” (เด็ค) โดยใน เด็คจะมีการ์ดได้ทั้งหมดจำนวน 50 ใบ (ไม่นับ อิมเมจินารีกิฟท์) โดยห้ามใส่การ์ดใบใดใบหนึ่งซ้ำกันเกิน 4 ใบ
ซึ่งถ้าใครไม่รู้จะเริ่มยังไง “Trial Deck (TD)” หรือ “เด็คเริ่มต้น” คือชุดการ์ดสตาร์ทเตอร์สำเร็จรูปที่เหมาะกับคุณ เพราะในนั้นจะมีสิ่งที่จำเป็นเบื้องต้น เช่นการ์ดแบบต่างๆครบทุกเกรด (ยกเว้นเกรด4) / Play Mat และคู่มือการเล่นคร่าวๆในแผ่น ซึ่งชุดเริ่มต้น สามารถหาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อ หรือร้านการ์ด หรือแม้แต่ทางออนไลน์ก็มี
หรือคุณจะเดินไปร้านการ์ดแล้วบอกกับทางร้านว่า “ขอซื้อ TD ชุด Vanguard V หน่อยครับ” ส่วนคุณจะเล่น Deck ไหนอะไรยังไงนั้น อยู่ที่ความชอบล้วนๆแล้วล่ะครับ
ใน1 เด็คคุณจะต้องเตรียมพื้นที่ให้สำหรับกองการ์ดดังนี้
-Trigger Unit ที่มีขอบสีเหลืองอยู่ด้านล่างของการ์ดจำนวน 16 ใบเท่านั้น และในนั้นจะนับรวมการใส่การ์ด Heal Trigger ได้สูงสุดไม่เกิน 4 ใบในเด็ค (ซึ่งจะขออธิบายในภายหลังว่า ทริกเกอร์คืออะไร)
-การ์ดมอนสเตอร์ เกรด 1-4 แล้วแต่จัดวาง แต่จะใส่ซ้ำได้ไม่เกินแบบละ 4 ใบ
-การ์ดมอนสเตอร์เกรด 0 สำหรับเริ่มต้น 1 ใบ
ทั้งหมดที่ว่ามา จะต้องรวมกันให้ได้ 50 ใบ
ซึ่งในการเล่นการ์ดชุด Cardfight Vanguard V Series (การ์ดไฟท์ แวนการ์ด วี ซีรีส์) จะมี การ์ดที่เรียกว่า “อิมเมจินารีกิฟท์” หรือเรียกสั้นๆว่า “กิฟท์” เพิ่มเข้ามา
ผู้เล่นจะได้รับ เมื่อทำการไรด์แวนการ์ดเกรด 3 ลงสนามได้ ไม่ถูกนับรวมในกองหลัก 50 ใบ (ใส่กี่ใบก็ได้ไม่จำกัด แต่ส่วนมากก็ใส่กัน 4 ใบ ตามที่ Trial Deck จัดมาให้ในกล่องนั่นเอง เพราะถึงเวลาใช้งานจริงๆ เผลอๆเต็มที่ ก็แค่ 3 ใบ จบเกมแล้ว)
แต่ถ้าใครมีงบเหลือ ก็ควรหา “ซองการ์ดแบบทึบ” หรือ “Sleeve” มาใส่ เพราะถ้าการแข่งขันจริง กฎมีระบุว่า การ์ดทุกใบจะต้องใส่ซองการ์ดแบบทึบ ด้วย ซึ่งก็น่าจะเป็นการป้องกันการแอบดูหรืออย่างไรทางเราก็ไม่อาจทราบได้ (55+) แต่ถ้าไม่ซีเรียส เล่นขำๆ ก็ซองใสปึกละ 20 บาทตามร้านการ์ดมีขายเยอะแยะครับ อย่างน้อย ใส่กันรอยนิ้วมือ หรือกันการชำรุดเสียหายซักนิดก็ยังดีกว่าไม่มีอะไรป้องกันการ์ดของเราเลย
ขั้นตอนการเล่นการ์ดเกมนี้
“Stand Up The VANGUARD”
ในการเริ่มเล่น ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายจะต้องเลือก “การ์ดยูนิตเกรด 0″ จากในเด็คของตนเอง และวางลงบนพื้นที่ “แวนการ์ด เซอร์เคิล” ในรูปแบบคว่ำหน้าไว้ จากนั้นสับเด็คและเลือกว่าใครจะเริ่มเล่นก่อน แล้วจึงจั่วการ์ดขึ้นมาบนมือ 5 ใบ
หากผู้เล่นไม่พอใจการ์ดที่จั่วขึ้นมา “สามารถเลือกเปลี่ยนได้กี่ใบก็ได้ 1 ครั้ง” โดยเลือกการ์ดที่ไม่พอใจกลับเข้าใต้กองการ์ดและสับเด็ค จากนั้นจั่วการ์ดกลับขึ้นมาตามจำนวนที่นำเข้าเด็คกลับลงไป เสร็จแล้วจึงเริ่มเล่นและเปิดการ์ดที่อยู่ในตำแหน่ง แวนการ์ด เซอร์เคิล ของเรา
1. สแตนด์ แอนด์ ดรอว์
ยูนิตของคุณที่เรส (วางแนวนอน)อยู่จากเทิร์นที่แล้ว จะกลับมาเป็นสถานะ แสตน (จับวางตั้ง) ยกเว้นจะถูกผลของการ์ดใดๆห้ามเอาไว้ จากนั้น จั่วการ์ดจากเด็ค 1 ใบ
2. ไรด์เฟส
สามารถนำการ์ดบนมือของคุณ “ไรด์” วางทับลงไปบนแวนการ์ด แวนการ์ดตัวเก่าที่ถูกทับ จะกลายเป็น “โซล”
ยูนิตที่วางทับลงไปจะต้องเป็นเกรดเดียวกัน หรือสูงกว่าไม่เกิน 1 เกรดแวนการ์ดปัจจุบันของคุณ คุณทำการไรด์ได้แค่ 1 ครั้งต่อเทิร์น และ คุณเลือกที่จะไม่ไรด์ก็ได้
3. เมนเฟส
สิ่งที่คุณจะต้องทำต่อจากการไรด์ ก็คือ…
*คอล
วางยูนิตที่มีเกรดเท่ากับ หรือน้อยกว่าแวนการ์ดของคุณลงบน “เรียร์การ์ดเซอร์เคิล” คุณจะคอลกี่ครั้งก็ได้ต่อเทิร์น เว้นเสียแต่ว่าการ์ดจะระบุไว้ คุณสามารถคอลเรียร์การ์ดทับเรียร์การ์ดใบอื่นได้ แต่ถ้าคุณทำ คุณจะต้องรีไทร์เรียร์การ์ดที่ถูกทับ หรือก็คือย้ายมันไปดรอปโซน
*สลับแถว
คุณสามารถเคลื่อนย้าย สลับแหน่งยูนิต 2 ตัวที่อยู่ในแถวแนวตั้งเดียวกัน โดยสลับจากแถวล่างขึ้นมาบน หรือแถวบนลงล่างได้ ยูนิตไม่สามารถเคลื่อนย้ายข้ามแถวแนวตั้งซ้ายขวาได้ และไม่สามารถขยับเข้าออกแวนการ์ดเซอร์เคิลได้ ดังนั้นยูนิตที่อยู่ด้านหลังแวนการ์ดไม่สามารถขยับได้เลย สามารถสลับตำแหน่งระหว่างเรียร์การ์ด 2 ตัวในแถวหน้าและแถวหลังในคอลัมน์เดียวกันได้
*สั่งใช้งาน [ACT] ผลของการ์ด
สกิลของการ์ดที่สามารถใช้งานได้ในเมนเฟส สามารถสั่งใช้งานได้ในจุดนี้
*ประกาศจบเมนเฟส
เมื่อคุณพอใจกับการกระทำในเมนเฟสของคุณแล้ว สามารถประกาศจบเมนเฟส และเริ่มแบทเทิลเฟสได้
4.แบทเทิลเฟส
ในแบทเทิลเฟส คุณสามารถสั่งโจมตีกี่ครั้งก็ได้ตราบเท่าที่ยังมียูนิตที่โจมตีได้อยู่ เมื่อแบทเทิลเฟสเริ่ม คุณจะย้อนกลับไปเมนเฟสไม่ได้ และไม่สามารถทำการร่ายเงื่อนไข [ACT] ในเมนเฟสได้ และการขยับยูนิตลงแถวหลังจะทำไม่ได้
สิ่งที่จะเกิดขึ้นใน แบทเทิลเฟส มีดังนี้
*โจมตี
หากต้องการจะประกาศโจมตี ให้เลือกยูนิตแถวหน้าที่จะสั่งโจมตี และเรสยูนิตนั้น จากนั้นประกาศชื่อยูนิตแถวหน้าของผู้เล่นอีกฝ่าย เพื่อโจมตีการ์ดนั้น (ยกเว้นว่าการ์ดจะระบุเป้าหมายโจมตีเฉพาะ)
*บูส
หากคุณมีการ์ดที่แสตนอยู่ในแถวหลังด้านหลังตรงยูนิตที่คุณสั่งโจมตี และ ยูนิตนั้นมีสัญลักษณ์ “บูส” คุณสามารถเพิ่มพลังให้ตัวแถวหน้าได้ ซึ่ง จนกว่าจะจบการต่อสู้ ยูนิตที่โจมตีแถวหน้า ก็จะได้รับพลังเพิ่มตามพลังของยูนิตที่บูส (แถวหลัง)
หากยูนิตที่บูสถูกเคลื่อนย้าย ทำลาย โดนจับล๊อกห้ามเคลื่อนไหว หรือออกจากเกม ก่อนจบการต่อสู้ คุณจะสูญเสียบูสนั้น
และถ้าหากยูนิตที่บูสได้รับพลังเพิ่มระหว่างการต่อสู้นั้น ยูนิตแถวหน้าที่โจมตีอยู่จะได้รับพลังเพิ่มตามนั้นเช่นกัน
*การ์เดี้ยนคอล
ผู้เล่นอีกฝ่ายสามารถ “คอลการ์เดี้ยน” จากมือของเขาเพื่อปกป้องยูนิตที่ถูกโจมตี ผู้เล่นอีกฝ่ายสามารถคอลการ์เดี้ยนกี่ตัวก็ได้
ซึ่งใน Cardfight Vanguard V Series จะปรับกฎเป็น สามารถเอายูนิทบนมือลงสนามได้เลย ขอแค่มีพลังป้องกันที่สูงกว่าการโจมตีของฝ่ายตรงข้ามก็พอ ไม่ต้องรอส่งยูนิทที่มีเกรดเท่าแวนการ์ดเหมือนเมื่อก่อนแล้ว ตรงจุดนี้จะทำให้การต่อสู้มีความต่อเนื่อง และคล่องตัวขึ้น…
วิธีการคิดค่าพลังป้องกันก็คือ นำชิลด์ของยูนิตที่คอล+พลังโจมตีของยูนิตที่กำลังถูกโจมตี ค่าชิลด์จะมองเห็นได้ในกรอบทางด้านซ้ายของการ์ด
การ์เดี้ยนที่ถูกคอลจะถูกวางลงบนการ์เดี้ยนเซอร์เคิลในสภาพเรสจนกว่าจะจบการต่อสู้ เมื่อจบการต่อสู้ การ์เดี้ยนจะถูกส่งลงดรอปโซน
ยูนิตบางตัวจะมี “ชิลด์เป็น 0″ นั่นคือการ์ด “เพอร์เฟ็กต์การ์ด” (PG) ป้องกันสมบูรณ์แบบ แต่จะต้องทิ้งการ์ดในมือ 1 ใบลง ดรอปโซนเพื่อใช้งาน PG
นอกจากการ์เดี้ยนแล้ว ยังมีความสามารถที่เรียกว่ “อินเตอร์เซ็ปต์” ได้เช่นกัน (ความสามารถเฉพาะของเกรด 2) หากคุณมียูนิตบน เรียร์การ์ดเซอร์เคิลแถวหน้า ที่สามารถอินเตอร์เซ็ปต์ได้ คุณสามารถย้ายการ์ดนั้นไปยังการ์เดี้ยนเซอร์เคิล และนำชิลด์ของตัวนั้นมาคิดคำนวณในการต่อสู้ด้วย และยูนิตนั้นจะถูกรีไทร์เมื่อจบการต่อสู้เช่นเดียวกับการ์เดี้ยนตัวอื่น แม้ยูนิตจะเรสอยู่ก็สามารถอินเตอร์เซ็ปต์ได้
“แวนการ์ดไม่สามารถทำการอินเตอร์เซ็ปต์ได้” และ “การอินเตอร์เซปต์จะทำงานร่วมกับการคอลการ์เดี้ยนจากมือได้”
เมื่อจบการต่อสู้ เหล่าการ์เดี้ยนและยูนิตที่ทำการอินเทอร์เซ็ปทั้งหมดถูกรีไทร์ (ย้ายไปยังดรอปโซน)
*ไดร์ฟเช็ก
หลังจากการทำการ์เดี้ยนคอล หากคุณโจมตีด้วยแวนการ์ด คุณจะทำการ “ไดร์ฟเช็ค” แสดงการ์ดใบบนสุดของเด็คให้ผู้เล่นทั้งหมดดู และวางมันลงบนทริกเกอร์โซน
หากยูนิตที่แสดงเป็นทริกเกอร์ยูนิต และเป็นแคลนเดียวกับยูนิตตัวใดตัวหนึ่งบนแวนการ์ดหรือเรียร์การ์ดของคุณ ให้ถือว่า “ทริกเกอร์นั้นทำงาน” ถึงแม้ว่ายูนิตที่แสดงเป็นทริกเกอร์หรือไม่ หลังจากที่ทริกเกอร์แสดงผลแล้ว ให้นำการ์ดนั้นขึ้นมือคุณ
หากแวนการ์ดของคุณมีความสามารถ “ทวินไดร์ฟ” คุณจะสามารถไดร์ฟเช็คได้ 2 ครั้ง หากการเช็คครั้งแรกมีทริกเกอร์ จะต้องสั่งใช้งานผลของทริกเกอร์นั้นทั้งหมด ก่อนที่จะทำการเช็คอีกใบ
ยกตัวอย่างเช่นเมื่อดรอว์ทริกเกอร์ทำงาน ผู้เล่นจั่วการ์ด 1 ใบ และให้พลังแก่ยูนิตตัวหนึ่งของเขา จากนั้นจึงเช็คใบที่สอง
ความสามารถทวินไดร์ฟไม่สามารถใช้ได้ ถ้าไม่ได้อยู่ในช่องแวนการ์ด
การค้นหาผู้ชนะในการต่อสู้ครั้งนั้น ให้ดูพลังรวมของยูนิตทั้งสองตัว
-ถ้าพลังของยูนิตที่กำลังโจมตีอยู่ “น้อยกว่าพลังของยูนิตที่ถูกโจมตี” การโจมตีครั้งนั้นถือว่า “ไม่ประสบความสำเร็จ” (ไม่ฮิท)
-หากการโจมตีไม่เป็นผล จะไม่มีอะไรเกิดขึ้นทั้งนั้น
-หากพลังของยูนิตที่กำลังโจมตีมีค่าเท่ากับ หรือมากกว่าพลังของตัวที่ถูกโจมตี ถือว่าการโจมตีนั้น สำเร็จ (ตีฮิท)
-หากยูนิตที่ถูกโจมตีเป็น “เรียร์การ์ด” ให้นำยูนิตนั้นส่งไปยังดรอปโซน จากนั้นการต่อสู้ถือเป็นที่สิ้นสุด ค่าคริติคัลของผู้โจมตีจะไม่มีผลใด ๆ ถ้าเป้าหมายเป็นเรียร์การ์ด
-หากการโจมตีประสบความสำเร็จ และเป้าหมายเป็นแวนการ์ด ผู้ที่ถูกโจมตีจะต้องทำการ “ดาเมจเช็ค” ตามจำนวนคริติคัลของยูนิตที่โจมตี
ในการดาเมจเช็ค จะต้องย้ายการ์ดใบบนสุดของเด็คไปยังทริกเกอร์โซน หากการ์ดนั้นเป็นทริกเกอร์ จะมีผลให้ทำงานได้เหมือนกับตอนไดร์ฟเช็คทุกประการ
หลังจากที่ทริกเกอร์ทั้งหมดแสดงผลเรียบร้อยแล้ว การ์ดใบนั้นจะถูกย้ายต่อไปยังดาเมจโซน ทำแบบนี้ซ้ำไปซ้ำมาเรื่อยๆตามจำนวนคริติคัลของผู้โจมตี ทริกเกอร์แต่ละใบจะต้องแสดงผลอย่างสมบูรณ์เสียก่อน จึงจะสามารถดาเมจเช็คใบถัดไปได้ เช่น หากคุณให้พลัง +10000 แก่ยูนิตที่ถูกโจมตี ยูนิตนั้นจะได้รับพลังค้างไว้จนกว่าจะจบเทิร์น แต่ไม่ได้หมายความว่ายูนิตนั้นจะหลุดพ้นจากการโจมตีครั้งนั้น ให้ถือว่ายูนิตนั้นได้พ่ายแพ้การต่อสู้ครั้งนั้นไปเรียบร้อยแล้ว
อย่างไรก็ตาม มันก็จะช่วยให้คุณรอดตายจากการโจมตีในครั้งนั้นขึ้น ถ้า คุณจั่ว ดาเมจเช็คแสดง “ฮีลทริกเกอร์” เมื่อผู้เล่นมีค่าความเสียหาย มากกว่า หรือเท่ากับดาเมจของคู่ต่อสู้ คุณสามารถฮีลดาเมจก่อนที่จะวางการ์ดใบนั้นลงในดาเมจโซน (แต่ถ้าดาเมจคุณน้อยกว่า จะฮีลไม่ได้ และรับเพียงพลังโจมตี+10000 เท่านั้น)
ถ้าหากดาเมจของคุณมีมากกว่า หรือเท่ากับผู้เล่นอีกฝ่าย เช่น ถ้าคุณมี 5 ดาเมจ แล้วดาเมจเช็คได้ฮีลทริกเกอร์ที่แสดงผลได้ คุณสามารถฮีล 1 ดาเมจก่อน และค่อยวางฮีลทริกเกอร์นั้นลงในดาเมจโซน ทำให้คุณยังคงมี 5 ดาเมจเท่าเดิม และยังไม่แพ้การแข่งขันครั้งนั้น
คำอธิบายทริกเกอร์ในแบบใหม่
**คริติคอลทริคเกอร์ สามารถเลือกยูนิต 1 ตัว มอบพลัง+10000 และ ยังสามารถเลือกยูนิต 1 ตัว เพื่อเพิ่ม +1 คริติคอลได้
ไม่จำเป็นต้องให้ผลทั้งหมดตกอยู่ที่ยูนิทเดียวเท่านั้น
5.จบเทิร์น
ประกาศจบเทิร์นของคุณ และเริ่มเทิร์นของผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม
การวางการ์ดของ Cardfight! Vanguard จะมีพื้นที่การวางการ์ด ดังนี้
1.Vanguard Zone (แวนการ์ด โซน)
แวนการ์ด โซน เป็นโซนที่ผู้เล่นจะต้องเลือกการ์ด ยูนิตเกรด 0 จากในเด็คของตนเอง วางคว่ำหน้าไว้ตั้งแต่ก่อนเริ่มเกม (ส่วนมากไม่ค่อยหยิบพวกทริกเกอร์มาวางกัน) และทำการอัพเกรด) วางการ์ดที่มีเกรดสูงกว่าทับลงไปในช่องนี้ ยูนิทก่อนหน้าที่ถูกทับอยู่ใต้การ์ดแวนการ์ดในปัจจุบัน ก็จะกลายเป็นวิญญาณ ที่เรียกว่า “โซล” (Soul)
ซึ่ง “โซล” ก็จะเป็นค่า Cost ในการร่ายเงื่อนไขพิเศษตามการ์ดแต่ละใบ ซึ่งก็จะเรียกว่าการทำ “โซลบลาสท์” (ภาษาคนเล่นแวนจะเรียก “ถอดโซล” เป็นการย้ายโซลลงดรอปโซน) และ “โซลชาร์จ” (ภาษาคนเล่นแวนจะเรียก “ยัดโซล” นำการ์ดจาก Deck 1 ใบเข้าสู่ใต้ช่องแวนการ์ด) ตามเงื่อนไขนั่นเอง
ตัวอย่างในภาพคือ “โซล เซฟเวอร์ ดราก้อน” ที่จะเป็นตัวที่โคตรอภิมหาโหด เมื่อคุณทำการ “โซลบลาส 5 ใบ” ก็จะทำให้ยูนิทในสนามทั้งหมด 6 ตัว เพิ่มพลังโจมตี +15000 เป็นต้น
2.Rear-Guard Zone (เรียร์การ์ด โซน)
เรียร์การ์ด โซน เป็นโซนที่ผู้เล่นสามารถเลือกการ์ดยูนิตเกรดต่าง ๆ มาวางเพื่อใช้ในการต่อสู้กับผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามได้ โดยยูนิทที่ลงสนามจะต้องมีเกรดเท่ากับ หรือน้อยกว่าเกรดของแวนการ์ดในเวลานั้น
3.Guardian Zone (การ์เดี้ยนโซน)
การ์เดี้ยนโซน / GUARD เป็นโซนที่การ์ดจะถูกวางลงในช่วงการปะทะกัน โดยทั่วไปจะอยู่ด้านหน้าของแถวหน้า การ์ดเหล่านี้จะมีผลขณะเกิดการต่อสู้ในแอทแทคเฟสเท่านั้น และ การ์ดจะถูกรีไทร์ไปยังดรอปโซนหลังจากนั้น คุณสามารถ Guard (ป้องกัน) การโจมตีของผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามได้ ได้โดยใช้ยูนิตที่มีค่าพลังป้องกัน (ขอบซ้ายมือ) นำมารวมกับพลังโจมดีของยูนิทที่กำลังถูกจู่โจมได้
หรือการให้ยูนิทที่มีคุณสมบัติ “อินเตอร์เซปท์” ออกจากแถวหน้า มาลงในช่องนี้ก็ได้ เมื่อทำการอินเตอร์เซปท์ ก็จะต้องเอาการ์ดที่มาป้องกันลงดรอปโซนด้วย คิดให้ดีๆว่าจะแลกแล้วคุ้มมั้ย
รวมไปถึง การทำ PG หรือ Perfect Guard การป้องกันสมบูรณ์แบบสุดๆ ไม่ว่าพลังโจมตีจะมีมากนับหมื่นแสนล้านๆๆๆ ก็ป้องกันได้ แต่ต้องเป็นยูนิทที่มีสัญลักษณ์พลังป้องกันเป็น 0 แบบในภาพนะ และเมื่อใช้งาน ก็ต้องทิ้งการ์ดในมือ 1 ใบลง “ดรอปโซน” รวมไปถึงการ์ดที่ใช้ PG ด้วย
4.Damage Zone (ดาเมจ โซน)
ดาเมจ โซน เป็นโซนที่รวมการ์ดที่ใช้งานไม่ได้ แต่จะต้องอยู่คนละกองกับดรอปโซน การ์ดในดาเมจโซน จะต้อง“วางหงาย”เท่านั้น แสดงถึงดาเมจของแวนการ์ดของคุณ หากคุณมีการ์ดในดาเมจโซนของคุณ 6 ใบหรือมากกว่า คุณแพ้เกมนั้น
ซึ่งในดาเมจโซน การ์ดที่วางๆในช่องนี้ ก็จะยังนับเป็นค่า Cost ในการร่ายเงื่อนไขพิเศษของการ์ดบางใบ โดยจะเรียกว่า “เค้าท์เตอร์บลาสท์” (ภาษาคนเล่นแวนจะเรียก “คว่ำแดม” ) จับการ์ดในช่องแดเมจโซนคว่ำลง ตามจำนวนการร่ายของการ์ดที่ต้องการ และยังมีการ “เค้าท์เตอร์ชาร์จ” (ภาษาคนเล่นแวนจะเรียก “หงายแดม” ) คือการหงายการ์ดที่อยู่ในดรอปโซนสภาพคว่ำ เพื่อใช้ความสามารถของการ์ดตามต้องการ
ตัวอย่างในรูป คือ ดราโกนิค โอเวอร์ลอร์ด ได้อธิบายคุณสมบัติไว้ว่า … เมื่อการ์ดนี้เป็นแวนการ์ด ในเทิร์นคุณ ให้ทำการ โซลบลาสท์ 1 ใบ เพื่อเพิ่มพลังโจมตี+10000
และถ้าในเทิร์นคุณ ดราโกนิคโอเวอร์ลอร์ด โจมตีสำเร็จ ให้ทำการ “เค้าท์เตอร์บลาสท์” (คว่ำการ์ดในช่องแดเมจโซน) + ทิ้งการ์ดบนมือ 1 ใบ สามารถสแตนด์ เตรียมพร้อมตั้งท่าโจมตีได้อีกรอบ แต่ไดร์ฟหายไป 1 ครั้ง
ถ้าไม่สามารถทำการ “บลาสท์” หรือ “ชาร์จ” ได้ ตามเงื่อนไขที่การ์ดต้องการเช่นไม่มีการ์ดในแดเมจโซน / ไม่มีการ์ดในโซลมากพอ สกิลก็จะไม่สามารถใช้งานได้นั่นเอง
5.Drop Zone (ดรอบ โซน)
ดรอบ โซน เป็นโซนที่ทิ้งการ์ดใช้งานแล้ว จะต้องแยกไว้อีกกองหนึ่งจากเด็ค เมื่อคุณจะรีไทร์การ์ด ก็โยนการ์ดนั้นลงในดรอปโซน (เมื่อคุณใช้งานฮีลทริกเกอร์ และมีการฮีลดาเมจ คุณจะต้องย้ายการ์ดจากดาเมจโซนไปยังดรอปโซน)
6.Deck Zone (เด็ค โซน)
เด็ค โซน เป็นโซนที่อยู่ด้านขวาของสนาม เมื่อคุณจั่วการ์ด คุณจะต้องหยิบการ์ดใบบนสุดของเด็คไปไว้บนมือคุณ หากการ์ดในเด็คของคุณเท่ากับ 0 เมื่อไร คุณจะแพ้เกมทันที
7.Trigger Zone (ทริกเกอร์ โซน)
เมื่อเข้าสู่ แอทแทคเฟส ผู้ที่โจมตีด้วยแวนการ์ด จะสามารถทำการ “ไดร์ฟเช็ก” เพื่อเปิดหา “ทริกเกอร์” เงื่อนไขเพิ่มพลังจากยูนิตทริกเกอร์ที่อยู่ในเด็ค 1 ใบ และถ้าเป็นยูนิทเกรด 3 จะสามารถทำการ ทวินไดร์ฟ เช็กทริกเกอร์ได้สองครั้ง… หลังจากที่ทริกเกอร์แสดงผลแล้ว ให้นำการ์ดนั้นขึ้นมือ
ส่วนผู้ที่ถูกโจมตีด้วยแวนการ์ด จะสามารถทำการ “ดาเมจเช็ก” เพื่อเปิดหา “ทริกเกอร์” เงื่อนไขเพิ่มพลังจากยูนิตทริกเกอร์ที่อยู่ในเด็ค ตามจำนวนค่า “คริติคอล” เช่น โดนสองคริติคอล ก็เปิดดาเมจเช็ก 2 ครั้งเป็นต้น หลังจากที่ทริกเกอร์แสดงผลแล้ว ให้นำการ์ดนั้นลงสู่ดรอปโซน
จุดวางการ์ด Imaginary Gift เมื่อผู้เล่นสามารถเรียกยูนิตระดับ 3 และมีเครื่องหมายอิมาจินารี ก็จะให้งาน Gift ได้ ซึ่งแต่ละแคลนก็จะมีกิฟท์ที่มีคุณสมบัติต่างกันออกไปอีก
Cardfight Vanguard V Series จะมีการแบ่งไทป์ของเด็คเป็นสามแบบคือ
Force I : วางไว้ที่ช่องแวนการ์ดหรือเรียร์การ์ด และยูนิตในช่องนั้นจะ +10000 ในเทิร์นตนเอง (สามารถซ้อนทับได้)
Force II : วางไว้ที่ช่องแวนการ์ดหรือเรียร์การ์ด ค่าคริติคอลพื้นฐานของยูนิตในช่องนั้นจะกลายเป็น 2 (ความสามารถซ้อนทับไม่ได้ 1 ช่อง 1 ใบเท่านั้น)
Accel I : วางเป็นช่องเรียร์การ์ดแบบพิเศษ อยู่เหนือช่องเรียร์การ์ดแถวหน้า เริ่มจากซ้ายมือเรา สลับกับขวามือเรา เมื่อวางแล้วยูนิตที่คอลลงในช่องนั้นจะ +10000 ในเทิร์นตนเอง
Accel II : วางเป็นช่องเรียร์การ์ดแบบพิเศษ อยู่เหนือช่องเรียร์การ์ดแถวหน้า เริ่มจากซ้ายมือเรา สลับกับขวามือเรา เมื่อวางแล้วจะได้จั่วการ์ด 1 ใบ และยูนิตในช่องนั้นจะ +5000 ในเทิร์นตนเอง
Protect I: ได้รับการ์ด Imaginary Gift Protect นำขึ้นมือ 1 ใบ การ์ดนั้นนับเป็น Sentinel มีความสามารถเดียวกับ Perfect Guard เมื่อใช้แล้วจะกลับไปนอกเด็คที่เดิมเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้
Protect II : วางในช่องเรียร์การ์ด ยูนิตนั้นจะได้พลัง +5000/เมื่ออินเตอร์เซ็ปต์ โล่+10000 (ซ้อนทับกันได้/ผลบวกพลังส่งผลในเทิร์นอีกฝ่ายด้วย)
และถ้าคุณ “ไรด์ยูนิทเกรด 3″ ทับแวนการ์ดเดิม
แล้ว “การ์ดอิมาจินารีกิฟท์หมดกอง” หรือ “ไม่สามารถเสริมพลัง”
หรือ “ไม่สามารถทำตามข้อกำหนดที่ระบุบนการ์ดได้”
“คุณจะแพ้ทันที” โดยไม่มีเงื่อนไข
องค์ประกอบของการ์ด 1 ใบ มีอะไรบ้าง?
อธิบายศัพท์ในเกมเพิ่มเติม
การ์ดเกม Vanguard จะมีความสามารถพิเศษบนการ์ดแต่ละใบดังต่อไปนี้
[เกรด] ระดับ Grade ของยูนิตมอนสเตอร์ตัวนี้
[ Skill Icon ] ยูนิต แต่ละ Grade จะมีความสามารถแตกต่างกัน 3 แบบดังนี้
บูสท์ Boost > จะเพิ่มพลังให้ Unit ที่อยู่แถวหน้า
อินเตอร์เซปท์ Intercept > หาก Unit ตัวอื่นถูกโจมตี Unit ที่มีความสามารถ Intercept จะสามารถเลื่อนตำแหน่งขึ้นไปเป็น Guardian ได้โดยทันที
ทวินไดร์ฟ Twin Drive > เมื่อ Unit นี้อยู่ในสนามสามารถใช้พลังในการทำ Trigger ได้ 2 ครั้งเพื่อเพิ่มโอกาสในการเจอ
[Shield]
เมื่อนำการ์ดใบนี้ไปเป็น Guardian ก็จะเพิ่มค่าพลังนี้ให้ยูนิตที่ถูกโจมตี
[Text]
สกิลความสามารถเฉพาะตัวของยูนิตมีดังต่อไปนี้
AUTO (Automatic Ability) ความสามารถที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อตรงตามเงื่อนไข
ACT (Activated Ability) ความสามารถที่เกิดขึ้นจากการจ่ายค่าร่ายตอนเริ่มเทิร์น
CONT (Continuous Ability) ความสามารถที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตราบใดที่ Unit Card ใด ๆ ตามเงื่อนไขยังอยู่บนสนาม
Counter Blast > (หรือ คว่ำแดม) หากผู้เล่นได้รับ Damage ผู้เล่นสามารถเลือกใช้ความสามารถ Counter Blast โดยการหงายหน้าการ์ดตามจำนวนที่ความสามารถนั้นได้ระบุไว้
Counter Charge > (หรือ หงายแดม) เลือกการ์ด ในดาเมจโซนของคุณ และหงายการ์ดที่คว่ำจำนวนตามเงื่อนไข
Soul Blast > (หรือ ถอดโซล) ใช้ความสามารถจากการ์ด Soul ที่อยู่ใต้การ์ด Vanguard ตามจำนวนที่ระบุไว้ ซึ่งเมื่อใช้ไปแล้ว การ์ดที่ถูกใช้จะลงไปอยู่ใน Drop Zone
Soul Charge > (หรือ ยัดโซล) เพิ่มพลังหรือความสามารถต่าง ๆ โดยการดึงการ์ดจากเด็คเข้ามาใต้ Vanguard ให้เป็น Soul ตามจำนวนที่ระบุไว้
[Name] > ชื่อของยูนิต
[Clan] > เผ่าพันธุ์ของยูนิตแต่ละใบ
[Critical] > เมื่อยูนิตนี้ สามารถโจมตีฮิต แวนการ์ด ของอีกฝ่ายได้ ก็จะสร้าง Damage ตามค่านี้
[Power] > ค่าพลังของยูนิตใบนี้ เมื่อต่อสู้กับยูนิตด้วยกัน
***หากมีเงื่อนไขใหม่ๆ หรือเกมเพลย์ใหม่ๆจากภาค V Series จะนำมาอัพเดทภายหลัง
แอดมิน AK47
-
Blokees Saint Seiya – Star Edition : 1st [กล่องสุ่ม / ราคา / วันวางขาย / สั่งซื้อ]
#Blokees #SaintSeiya #Toys #Model #กล่องสุ่ม
-
ทำความรู้จักม้ามืดของปี 2024 Balatro: เกมไพ่ผสมกลยุทธ์สุดมันส์
#เกมส์ #เกมไพ่ #เกมกลยุทธ์ #เกมมือถือ
-
Dynasty Warriors: Origins [สั่งซื้อเกมถูก , PS5, Xbox Series,PC]
วีรบุรุษไร้นาม จะลุกขึ้นต่อสู้ในโลกของสามก๊ก