วิธีการเลือกใช้งานการ์ดจอ
10 กรกฎาคม 2560 10:08 น.
Share on FacebookTweet about this on TwitterShare on Google+

GPU_01

 

ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่ทั่วๆ ไปนั้นก็มีส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์อยู่หลายส่วนด้วยกัน  ซึ่งในแต่ละส่วนก็จะมีหน้าที่ๆ แตกต่างกันออกไป  และมีความสัมพันธ์กันในระหว่างการทำงาน  ส่วนประกอบหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะมี CPU ที่ทำหน้าที่เป็นสมองสั่งการทำงาน มี Motherboard เป็นเหมือนหัวใจคอยเลี้ยงการทำงานของร่างกาย  แล้วอีกส่วนที่มีความจำเป็นไม่แพ้กันก็คือ Graphic Card หรือการ์ดจอที่เปรียบได้ดั่งการแสดงภาพออกมาให้ได้เห็นนั้นเอง…  

 

 

บทความนี้จะขอแนะนำในเรื่องของ การ์ดจอ และการเลือกใช้งานที่เหมาะสมกับคอมพิวเตอร์ที่ต้องการกันนะครับ 

 

 

 

 

 

การ์ดจอคืออะไร??

 

GPU_02

 

“การ์ดจอ” หรือ “กราฟฟิกการ์ด” (Graphic Cardหรือคำศัพท์ทางคอมพิวเตอร์คือ GPU (Graphics Processing Unit) เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการประมวลผลทางงานภาพบนหน้าจอมอนิเตอร์  เพื่อใช้งานทั้งการทำงานด้านกราฟฟิก  หรือการดูหนังภาพยนตร์ต่างๆ   และรวมไปถึงการเล่นเกมที่ต้องใช้การประมวลผลแบบ 3D  นั่นเอง  โดยการ์ดจอจะถูกแบ่งประเภทออกได้ตามนี้…

 

 

 

1. การ์ดจอแบบออนบอร์ด 

 

GPU_03

 

เป็นการ์ดจอแสดงผลกราฟฟิกที่มาพร้อมๆ กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบราคาประหยัด  จะเป็นชิฟเซ็ต CPU ในตัวเองด้วย  แม้ว่าในปัจจุบันการ์ดจอแบบออนบอร์ดจะมีความสามารถในการเล่นเกมและดูหนังได้ก็จริง  แต่ก็ได้เพียงแค่ระดับหนึ่งเท่านั้น  ไม่เหมาะสำหรับการเล่นเกมที่ต้องใช้กราฟฟิกแบบหนักๆ ได้ 

 

 

 

 

 

2. การ์ดจอแยก 

 

GPU_04

 

เป็นการ์ดจอแสดงผลกราฟฟิกที่เป็นฮาร์ดแวร์แบบแยกขายต่างหาก  และถูกแบ่งออกเป็นอีกสองแบบคือ

 

 

- การ์ดจอสำหรับใช้ด้านการทำงาน รองรับการทำงานของกราฟฟิก  มีความสามารถในการเรนเดอร์กราฟฟิกที่สูง  มีราคาที่ค่อนข้างแพง  และ “ไม่ค่อยเหมาะกับการเล่นเกมมากนัก” เพราะเนื่องจากถูกออกแบบมาสำหรับการทำงานด้านเรนเดอร์กราฟฟิกเป็นหลัก  ทำให้การเล่นเกมนั้นค่อนข้างด้อยกว่าการ์ดจอแบบเล่นเกมอยู่มากทีเดียว

 

- การ์ดจอสำหรับเล่นเกม รองรับการเล่นเกมเป็นหลัก  มีความสามารถในการแสดงผลของความละเอียดของหน้าจอหรือ Solution และการแสดงผลแบบ FPS (Frame Per Secondที่สูง  แต่ค่อนข้างจะกินไฟมากๆ

 

 

 

 

 

การ์ดจอทำงานอย่างไร?

 

รูปจาก : TechTerms.com 

 

 

การทำงานในหน้าที่โดยหลักๆ ของการ์ดจอนั้นจะเป็นในเรื่องการแสดงผลของงานภาพ  เมื่อเราใช้งานคอมพิวเตอร์ทุกๆ ครั้ง  ไม่ว่าจะเป็นการดูหนังภาพยนตร์หรือเล่นวีดีโอเกม  แม้แต่การเปิดไฟล์เวิร์ดก็ตาม… คอมพิวเตอร์จะแยกการทำงานในส่วนการแสดงภาพทั้งหมดผ่านทางการ์ดจอแล้วขึ้นบนหน้าจอมอนิเตอร์ 

 

 

สิ่งหนึ่งที่สำคัญเลยก็คือ “พอร์ตรับสัญญาณภาพ” ที่ส่งจากการ์ดจอเข้าสู่จอมอนิเตอร์  โดยทั่วๆ ไปนั้นการ์ดจอจะมีช่องพอร์ตสำหรับส่งสัญญาณภาพด้วยกัน 3 แบบคือ

 

 

VGA (Video Graphics Array) เป็นช่องสำหรับส่งสัญญาณภาพไปยังจอมอนิเตอร์แบบ Analog   แสดงผลของอินเตอร์เฟสต่างๆ ในความละเอียดได้ถึง 1080p ในปัจจุบัน 

 

 

DVI (Digital Video Interface) เป็นช่องสำหรับส่งสัญญาณภาพไปยังจอมอนิเตอร์แบบ Digital  แสดงผลของอินเตอร์เฟสได้ดียิ่งขึ้น  และยังมีความเสถียรต่อสัญญาณรบกวนต่างๆ ได้ดี

 

 

HDMI (High Definition Multimedia Interface) เป็นช่องสำหรับส่งสัญญาณภาพไปยังจอมอนิเตอร์  ที่สามารถแสดงผลของอินเตอร์เฟสบนหน้าจอซึ่งมีความคมชัดและละเอียดสูงที่สุดในปัจจุบัน  รองรับการให้เสียงแบบดิจิตอลได้ดียิ่งขึ้น  โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้สายเชื่อมต่อหลายเส้น

 

 

 

 

หน่วยความจำของการ์ดจอ

 

GPU_05

 

การ์ดจอทุกรุ่นนั้นจะมีหน่วยความจำหรือ Ram (Random Access Memory) อยู่ในตัวเอง  และจะมีรหัสที่เรียกว่า DDR (Double Data Rate) ซึ่งเป็นหน่วยความจำภายในของการ์ดจอ  ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลมาจากหน่วยประมวลผลกลางหรือที่เรียกว่า CPU (Central Processing Unit) ยิ่งการ์ดจอในรุ่นใหม่ที่มีรหัส DDR 4 หรือ DDR 5 จะยิ่งมีการประมวลผลส่งผ่านข้อมูลจาก CPU ที่มากขึ้น  ทำให้การเล่นเกมสามารถทำได้ลื่นไหลมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

 

 

ทว่าหน่วยความจำของการ์ดจอที่สูงก็ใช่ว่าจะมีแสดงประสิทธิภาพในการแสดงผลได้ดี เพราะต้องมีความสัมพันธ์กับค่าที่เรียกว่า Bandwidth กับค่า Bus Width หรือปริมาณการรับส่งของข้อมูลไปมา  มองภาพง่ายๆ ก็คือ “ถนนกว้างๆ ” นั่นเอง  เพราะยิ่งค่า Bandwidth สูง  การรับส่งข้อมูลก็ยิ่งสูงมากขึ้นตาม 

 

 

 

 

 

แบรนด์ของการ์ดจอ

 

ในท้องตลาดปัจจุบันมีการวางจำหน่ายของการ์ดจอดังๆ อยู่หลายแบรนด์  แต่จะมีเจ้าของเทคโนโลยีด้วยการ์ดจออยู่สองแบรนด์ใหญ่คือ nVidia และ AMD

 

 

 

 

GPU_06

 

ในแบรนด์ของ nVidia ค่ายเขียวภายใต้สังกัดของ Intel กับการ์ดจอในรุ่นของ Geforce Series จะมีแบรนด์ที่ผลิตออกมาคือ Gigabyte, Asus, ATI, Galax และ INNO

 

 

จุดเด่นของการ์ดจอ nVidia Geforce คือความทนทานต่อการใช้งานมากๆ และค่อนข้างแพงมาก  เมื่อยิ่งเป็นการ์ดจอในรุ่นตัวท๊อปจะยิ่งแพงมากๆ

 

 

 

 

 

Print

 

ในแบรนด์ของ AMD กับการ์ดจอในรุ่นของ Redeon Series จะมีแบรนด์ที่ผลิตออกมาคือ Gigabyte, Sapphire, Powercolor 

 

 

จุดเด่นของการ์ด AMD Redeon คือราคาค่อนข้างถูกกว่าฝั่ง Geforce แต่ความทนทานค่อนข้างน้อยกว่านั่นเอง

 

 

 

ข้อมูลน่ารู้

 

- การ์ดจอที่มีคำว่า Ti” (Titaniumนั้นจะหมายถึงรหัสของการ์ดจอที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในรุ่นนั้นๆ อย่างเช่น GTX 1050Ti ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า GTX 1050  ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกัน

 

- การ์ดจอที่มีคำว่า OC” (Overclock) นั้นจะหมายถึงการ์ดจอที่การปรับแต่งมาจากโรงงานผู้ผลิต จะมีค่าสัญญาณของนาฬิกาที่สูงกว่าการ์ดจอในรุ่นปรกติ  ตัวอย่างเช่น GTX1050 Ti 4G OC  

 

 

 

 

 

แล้วการเลือกใช้งานการ์ดจอล่ะ?

 

ไม่ว่าคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้งานนั้นจะเป็นการทำงานกราฟฟิกหรือเล่นวีดีโอเกมก็ตาม  การเลือกใช้งานการ์ดจอนั้นต้องคำนึงถึงส่วนประกอบดังนี้คือ…  

 

 

 

1. เมนบอร์ดที่รองรับ

 

 

ให้ดูที่ Socket ของเมนบอร์ดว่าสามารถรองรับกับขั้วทองเหลืองของการ์ดจอที่ต้องการใช้งานได้ไหม  ตัวอย่างเช่น เมนบอร์ดในปัจจุบันแบบ PCI Express 2.0 Slots ต้องใช้ควบคู่กับการ์ดจอที่มีขั้วทองเหลืองแบบ PCI 2.0 หรือแบบ PCI E 3.0ได้  ทั้งนี้ให้ดูขั้วทองเหลืองของการ์ดจอด้วย 

 

 

GPU_08

 

ตัวอย่างของพอร์ต PCI Express ที่มีในเมนบอร์ดปัจจุบัน

 

 

 

 

 

2. ขนาดของเคสที่ใช้งาน  

 

GPU_09

 

ในส่วนนี้ถ้าเคสที่ใช้งานสามารถใส่เมนบอร์ดได้ก็สามารถใส่การ์ดจอได้เช่นกัน  เพราะมีพื้นที่สำหรับในการใส่การ์ดจออยู่แล้ว  แต่จะมีปัญหาด้านความร้อนอยู่บ้าง  ถ้าเคสมีระบบการระบายความร้อนที่ไม่ดีพอ  

 

 

 

 

 

3. ขนาดของตัวจ่ายกำลังไฟ 

 

GPU_10 

 

ส่วนนี้สำคัญมากๆ ต่อการใช้งานของการ์ดจอ  เพราะการ์ดจอเป็นอุปกรณ์ที่ที่ต้องใช้ไฟในการใช้งานมากที่สุด และยิ่งเป็นการ์ดจอสำหรับการเล่นเกมรุ่นใหม่ตัวราคาสูงๆ ขึ้นไป  การใช้กำลังไฟในการจ่ายเข้าการ์ดจอก็ยิ่งมากขึ้นตาม  ทั้งนี้… ตัวจ่ายกำลังไฟหรือเพาเวอร์ซัพฟลาย (Power Supplyรุ่นใหม่ๆ จะมีสายพิน (Pinแยกออกมาเพื่อใช้ต่อเข้ากับการ์ดจอเสริมอีกด้วย

 

 

 

=================================

 

 

 

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องอยู่ที่งบประมาณในการใช้จ่ายเป็นที่ตั้ง  เพราะหากใครที่ต้องการการ์ดจอสำหรับการเล่นเกมที่มีกราฟฟิกความละเอียดที่สูงๆ ในปัจจุบัน  อาจจะต้องจ่ายแพงมากๆ เพื่อซื้อการ์ดจอตัวท๊อปล่าสุด  ซึ่งแน่นอนว่ามันเปลื้องมากๆ ยิ่งในปัจจุบันด้วยแล้ว… อุปกรณ์ทางฮาร์ดแวร์ตกรุ่นอย่างรวดเร็ว  จึงไม่ค่อยมีความจำเป็นมากนักสำหรับการ์ดจอราคาสูง (ถ้าผู้ใช้ไม่ตามเทคโนโลยีรุ่นใหม่มากนัก)  เราสามารถซื้อการ์ดจอที่ตกรุ่นแล้วที่มีราคาถูกลงได้ทุกเมื่อ  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องดูว่าการ์ดจอที่ต้องการยังสามารถเล่นเกมในช่วงปัจจุบันได้หรือไม่? 

 

 

@Save สาย Pay