ย้อนรอยประวัติศาสตร์ยุคสงครามปฎิวัติ “ซามูไรพเนจร : ปฐมบท”
05 มกราคม 2566 07:00 น.
Share on FacebookTweet about this on TwitterShare on Google+

หากคุณประทับใจในเรื่องราวการต่อสู้ของนักดาบสุดเทพ ผู้หมายมั่นว่าจะใช้เพลงดาบสร้างสันติ โดยไม่ฆ่าใคร พร้อมเรื่องราวดราม่า การต่อสู้สุดเข้มข้นใน ซามูไรพเนจร หรือ Rurouni Kenshin เวอร์ชั่นภาพยนตร์ ที่ “ซาโต้ ทาเครุ” ได้แสดงไว้ในบทบาท “ฮิมุระ เคนชิน” ได้อย่างน่าจดจำ…

 

และบทความนี้จะเป็นเรื่องราวที่จะพาทุกคน ย้อนกลับไปในช่วงเวลาอันดำมืดของหน้าประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น โลกแห่งการฆ่าฟัน ยุคสมัยที่กำลังเปลี่ยนผ่าน ที่มีนักฆ่าขั้นเทพเป็นฟันเฟืองตัวเล็กๆขับเคลื่อนสู่ยุคสมัยใหม่ “ซามูไรพเนจร : ปฐมบท” ภาพยนตร์ภาคสุดท้ายของ “ซามูไรพเนจร” ที่จะมาปิดตำนาน ด้วยเรื่องราว “จุดเริ่มต้นของมือพิฆาติบัตโตไซ จนถึงช่วงที่ละทิ้งการฆ่าฟัน และนำไปสู่เรื่องราวในภาคแรก” เราจึงพาทุกท่าน ทำการบ้านแบบอิงประวัติศาสตร์ก่อนรับชม เพื่อสร้างความเข้าใจในตัวละครเคนชินให้มากยิ่งขึ้น…

 

**อนึ่ง ประวัติศาสตร์จริง “ไม่มีเคนชิน” แต่จะเล่าแบบอิงสถานการณ์เพื่อเข้าใจโลก และตัวละครเท่านั้น**

 

เพลงประกอบบทความ กรุณาเปิดเพื่อเอาฟิลลิ่ง

 

 

“การฟื้นฟูเมจิ”

history-rurouni-kenshin-movie-the-beginning (12)

 明治維新 (เมจิอิชชิน) คือชื่อของยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนผ่านระบบการปกครองของประเทศญี่ปุ่นไปตลอดกาล ซึ่งในตอนนั้น รัฐบาลโชกุนโตกุกาว่า มีอำนาจเบ็ดเสร็จในการบริหารบ้านเมือง ทำให้การบริหารแผ่นดินมีช่องโหว่มากมาย ทั้งด้านโครงสร้างเชิงศักดินา ที่ให้อำนาจแก่เหล่าเจ้าขุนมูลนายมากมาย เหล่านักรบซามูไรเองก็ได้รับการเลี้ยงดูปูเสื่อจากเจ้านาย จนไม่สนใจกฎหมาย เชื่อมั่น ศรัทธาในคำสั่งเจ้านายของตนเท่านั้น อีกทั้ง ตัวแปรเล็กๆอย่างด้านงบประมาณในการจัดการบริหารบ้านเมือง ส่วนหนึ่ง ได้ตกไปอยู่ในมือของขุนนาง และซามูไรอย่างมากไม่ได้เอามาพัฒนาประเทศเท่าที่ควร จนชาวบ้านอดอยากปากแห้ง ทำงานส่งภาษีกันชนิดตายคาทุ่งนากันเลย

 

history-rurouni-kenshin-movie-the-beginning (4)

 

“ฮิโกะ เซจูโร่”

 

และนั่น ทำให้ “ชินตะ” เด็กชายตัวน้อยที่มากับพี่สาวทั้ง4คน จึงถูกขายมาเป็นทาส และถูกพวกโจรข้างทางสังหารเรียบทั้งขบวน โชคดีที่เด็กชายชินตะรอดมาได้ เพราะการช่วยเหลือของนักดาบพเนจรที่ชื่อ “ฮิโกะ เซจูโร่” เขาสังหารโจรเหล่านั้นทั้งหมด และด้วยความที่เขาเห็นความอ่อนโยนของชินตะที่ฝังศพของทุกคน รวมทั้ง พวกโจรที่ถูกเซจูโร่ฆ่าตาย นักดาบพเนจรจึงรับเขาเป็นศิษย์ผู้สืบทอดวิชา “เพลงดาบล่องนภา” (飛天御剣流 ฮิเท็น มิสุรุงิริว) เพลงดาบที่มีอาณุภาพร้ายกาจที่สุด “ที่มีไว้ใช้ปกป้องผู้คน”

 

history-rurouni-kenshin-movie-the-beginning (6)

และเปลี่ยนชื่อของ “ชินตะ” เป็น “ฮิมุระ เคนชิน” (เคน=ดาบ / ชิน=วิญญาณ รวมกันก็คือ จิตวิญญาณแห่งดาบ นั่นเอง) เพื่อใช้วิชาดาบ ออกปกป้องผู้คนตามเจตนารมย์ของเซจูโร่นั่นเอง…

 

 

 

 

Samurai-X-(7)

“คิโดะ ทากะโยชิ” (หรือ คาซึระ โคโกโร )

 

แต่ถึงจะบอกว่าเหล่าขุนนางและซามูไรได้ถูกเลี้ยงดูแบบ Overrate จัดๆ แต่ก็มีไดเมียวบางกลุ่ม และซามูไรที่ตั้งมั่นในความถูกต้อง เห็นเรื่องทุกข์ร้อนชาวบ้านมามากมาย ได้รวมตัวกัน…ที่ “แคว้นซัทสึมะ” แคว้นที่ทรงอำนาจบนเกาะคิวชูของญี่ปุ่น ภายใต้การนำของ ไซโก ทากาโมริ ได้ร่วมมือกับ “แคว้นโจชู” อันเป็นแคว้นใหญ่ในภูมิภาคชูโกกุ ภายใต้การนำของ “คิโดะ ทากะโยชิ” (หรือ คาซึระ โคโกโร คนๆนี้ จะเป็นเจ้านายของเคนชินในเวลาต่อมา) ได้ผนึกกำลังก่อตั้ง “กลุ่มพันธมิตรซัตโจ” (ซัทสึมะ+โจชู หรือ 薩長同盟 ซัทโชโดเม) ในการเริ่มโปรเจคท์  “ปฏิรูปสมัยเมจิ” เพื่อการยึดอำนาจจากรัฐบาลโชกุน ให้กลับไปอยู่ในมือของพระจักพรรดิ์

Emperor_Koumei

 

จักรพรรดิโคเม

 

แน่นอนว่าการใหญ่ระดับชาติ ต้องมีแบ็คอัพที่โคตรหนาเส้นใหญ่ งานนี้ จักรพรรดิโคเม (孝明天皇 Kōmei-tennō) พระราชบิดาในจักรพรรดิเมจิ ได้ทำการสนับสนุนในภารกิจนี้ รวมไปถึงองค์ความรู้จากซามูไรหัวก้าวหน้าอย่าง “ซากาโมโต้ เรียวมะ” ก็เป็นหนึ่งในไอเดียตั้งต้นที่จะโค่นระบอบโชกุนที่เหมือนจะอยู่ใต้พระราชอำนาจของพระจักพรรดิ์ แต่ในความเป็นจริงแล้วล้นฟ้าอย่างมาก ทั้งกำลังรบ และด้านการบริหารบ้านเมือง 

 

 

หลังการสิ้นพระชนม์ของ จักรพรรดิโคเม ก็คือจุดเริ่มต้นของการแตกหัก และนำไปสู่การต่อสู้ทางการเมืองที่นองเลือดทั้งในที่ลับ และที่แจ้ง ซามูไร ได้ผันตัวสู่การเป็นมือสังหาร บ้างก็ใช้อำนาจรัฐตั้งก๊กกลุ่มใหม่ขึ้นมาโดยอ้างความชอบธรรมจากรัฐบาลโชกุน ประเทศญี่ปุ่นได้เข้าสู้โหมดการเปลี่ยนแปลงจากสังคมระบบเจ้าขุนมูลนาย ไปสู่สังคมทุนนิยมจากชาติตะวันตกอย่างช้า ๆ

 

 

Samurai-X-(6)

ในตอนนั้น เคนชิน ก็เข้าสู่วัยหนุ่ม ที่ต้องการใช้วิชาดาบ “เปลี่ยนแปลงประเทศ” ไม่อยากให้ใครต้องถูกกดขี่ อดอยากอีกต่อไป เคนชินเชื่อมั่นในอุดมการณ์ของเหล่าพันธมิตรซัตโจ อย่างมาก แต่เซจูโร่ไม่เห็นด้วยกับยุคสมัยใหม่ที่มาจากการฆ่าฟัน ทั้งสองศิษย์ อาจารย์ ทะเลาะกันด้านความคิดอย่างรุนแรง ในที่สุด เคนชินก็ลาจากอาจารย์ ไปทำตามฝันของตัวเองในฐานะซามูไรของกลุ่มโจชู

 

history-rurouni-kenshin-movie-the-beginning (5)

และด้วยฝีมือเชิงดาบที่หาตัวจับได้ยาก ทำให้เคนชินได้เข้าทำงานกับ “คิโดะ ทากะโยชิ” หรือในอีกชื่อหนึ่ง “คาซึระ โคโกโร” หนึ่งในสามซามูไรที่เป็นผู้นำของรัฐบาลปฏิรูปนั่นเอง

 

history-rurouni-kenshin-movie-the-beginning (13)

แน่นอนว่า มือดีของโจชู คือ เคนชิน และพลพรรคมือสังหาร ในฝั่งของรัฐบาลโชกุนโตกุกาว่า ก็มีมือดีเช่นกัน ได้แก่  “กลุ่มชินเซ็น” และ “กลุ่มมิมาวาริน” ทั้งสองฝั่งต่างดำเนินงานในรูปแบบต่างกัน แต่ก็มีเป้าหมายที่ชัดเจนอย่างหนึ่งก็คือ สังหารคนสำคัญของแต่ละฝ่าย นั่นเอง

 

 

Samurai-X-(8)

เคนชิน ที่เข้าสู่โลกของมือสังหารในฐานะ “ฮิโตะกิริ บัตโตไซ” (บัตโตไซจอมผ่าร่างคน) ที่ทำให้เขาต้องลงมือสังหารผู้คนตามใบสั่งมากมาย สร้างชื่อไต่ระดับจนเป็นมือดีของกลุ่มโจชูได้

 

จนกระทั่งมีเหยื่อรายหนึ่งที่เป็นคนของรัฐบาลเกียวโต “คิโยซาโตะ อากิระ” ซามูไรหนุ่มอนาคตไกล ที่ต่อสู้กับเขาจนวินาทีสุดท้ายของชีวิต และได้ฝากรอยแผลเป็นบนใบหน้า ที่ไม่มีวันหายไป…

 

 

รูโรนิ เคนชิน ซามูไรพเนจร ปฐมบท (Rurouni Kenshin The Beginning)   ตัวอย่าง   Netflix.mp4_snapshot_00.17_[2021.06.30_14.15.09]

ที่นั่น เคนชินได้พบกับ “ยูกิชิโร่ โทโมเอะ” สาวสวยผู้ลึกลับ ที่ค่อยๆลดความคมของมือสังหารลง และเติมหัวใจให้เคนชินเป็นคนมากขึ้น…

 

 

 

ชีวิตมือสังหารที่หัวใจแตกสลาย

history-rurouni-kenshin-movie-the-beginning (1)

หลังจากคนสำคัญของกลุ่มพันธมิตรซัตโจ ได้ล้มหายตายจากไปมาก บวกกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน รวมไปถึงชื่อเสียงของ บัตโตไซที่ลือลั่น ทำให้ คาซึระ โคโกโร ตัดสินใจดึงเกมให้ช้าลง ด้วยการอยู่เงียบๆซักพัก รอจังหวะทำการใหญ่อีกครั้งในเวลาที่เหมาะสม และนั่นส่งผลให้เหล่าซามูไรมือสังหาร ต้องแยกย้ายกันไป และเคนชิน กับ โทโมเอะ ต้องออกจากเกียวโต ไปยังบ้านไร่ปลายนาอันแสนสงบสุข เพื่อรอคำสั่งใหม่ต่อไป

 

history-rurouni-kenshin-movie-the-beginning (2)

เคนชินที่สับสนในชีวิต ถูกความอ่อนโยน เบาบาง ของโทโมเอะ ดึงให้ชีวิตเขาช้าลง ทำให้เขาได้รับรู้ถึงความสุขในการใช้ชีวิตในอีกรูปแบบหนึ่ง และเริ่มเข้าใจความหมายของการใช้ชีวิตแล้ว ทั้งสองใช้ชีวิตในฐานะหมอสมุนไพรในหมู่บ้านเล็กๆอย่างมีความสุข 

 

history-rurouni-kenshin-movie-the-beginning (7)

เรื่องราวเหมือนจะจบ แต่นี่คือจุดเริ่มต้น เพราะทางรัฐบาลโตกุกาว่าเองก็ได้ส่ง “นักรบดำ” กองทหารรับจ้างมือดีเตรียมแผนการสังหารมือพิฆาตบัตโตไซ และมีโทโมเอะ เป็นสายลับให้กลุ่มดังกล่าว เพราะเธอตั้งใจจะล้างแค้นให้“คิโยซาโตะ อากิระ” ซามูไรหนุ่มว่าที่คู่หมั้น ที่ถูกบัตโตไซฆ่าตายนั่นเอง แต่ในตอนนี้ โทโมเอะได้ละทิ้งความแค้น และรักเคนชินจากใจจริง จนเกิดความลังเลที่จะสานต่อภารกิจหาจุดอ่อนของมือสังหารไร้หัวใจ…

 

history-rurouni-kenshin-movie-the-beginning (1)

โทโมเอะ และ เคนชิน ก็ถูกไล่ล่าโดยพวกนักรบดำจนได้ ด้วยจำนวนคน และฝีมือที่ต่างกัน ทำให้เคนชินสุญเสียประสาทสัมผัสไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง จนในที่สุด ด้วยความรักของโทโมเอะที่ตั้งใจจะเข้าไปจัดการกับศัตรู ก็ถูกเคนชินสังหารโดยไม่ได้ตั้งใจ และแผลที่สอง ก็เกิดขึ้นในตอนนั้น พร้อมกับผู้ที่เห็นเหตุการณ์จากที่ไกลๆ “ยูกิชิโร่ เอนิชิ” น้องชายของโทโมเอะนั่นเอง เอนิชิจากไปพร้อมความแค้นสุมอก และรอวันที่จะกลับมาเอาคืนเคนชินในอนาคต…

 

รูโรนิ เคนชิน ซามูไรพเนจร ปฐมบท (Rurouni Kenshin The Beginning)   ตัวอย่าง   Netflix.mp4_snapshot_01.29_[2021.06.30_14.21.06]

เคนชิน อยู่ในสภาพหมดอาลัยตายอยากขั้นสุด เขาแบกศพโทโมเอะกลับบ้านด้วยจิตใจอันแหลกสลาย แต่ในวันนั้น  คาซึระ โคโกโร ก็กลับมารับเขาในฐานะ “ลูกน้องคนสนิท” มือขวาของแคว้นโจชู โดยได้เขามอบหน้าที่มือสังหารให้ “ชิชิโอ มาโคโตะ” มือสังหารรุ่นน้องของเคนชินไปแล้ว เขาจึงกลับมาจับดาบฆ่าคนอีกครั้ง คราวนี้ เป็นการจับดาบเพื่อไม่ให้สิ่งที่เคยทำสูญเปล่า เขาตัดสินใจเผาบ้านตัวเองพร้อมศพโทโมเอะ

 

 

Samurai-X-(15)

เคนชิน ออกจากเงามืดมาเป็น “แนวหน้าของขบวนพยุหะสังหารของโจชู” ทำหน้าที่ปกป้องพวกพ้องซามูไรคณะปฎิวัติด้วยกัน อีกทั้งยังเป็นหน่วยที่มีไว้รับมือกับกลุ่มชินเซนโดยเฉพาะ และนั่นทำให้ เคนชิน ได้บพกับ “หมาป่าแห่งมิบุ” ไซโต้ ฮาจิเมะ (ต่อมาหลังจบยุคปฎิวัติ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ฟุจิตะ โกโร่)

 

 

 

 

รูโรนิ เคนชิน ซามูไรพเนจร ปฐมบท (Rurouni Kenshin The Beginning)

ศึกเดือด พลิกฟ้าชะตากรรมประเทศ!

戊辰戦争 (โบชินเซนโซ) สงครามโบชิน ศึกสงครามครั้งใหญ่ที่เป็นการต่อสู้อย่างเป็นทางการระหว่าง ฝ่ายปฎิวัติ และ ฝ่ายรัฐบาลโชกุนโตกุกาว่า เกิดจากความไม่พอใจในบรรดาขุนนาง และซามูไรหนุ่มจำนวนมาก จากการจัดการกับคนต่างด้าวของรัฐบาลโชกุน หลังการเปิดประเทศญี่ปุ่น อีกทั้งคณะปฎิวัติ คือกำลังสำคัญของพระจักรพรรดิเมจิด้วย

โตกุกาว่า โยชิโนบุ

ซึ่งในตอนแรก ทางโชกุน โตกุกาว่า โยชิโนบุ เองก็เคยคิดจะคืนอำนาจให้ โดยหวังว่าจะได้กลับมาลงสู่สนามการเมืองอย่างสบายใจ แต่ทว่าทางฝ่ายปฎิวัติค่อนข้างหัวรุนแรง และไม่โอเคกับการมีชื่อของโตกุกาว่าในสายงานบริหารประเทศหลงเหลือ เข้าทางสำนวน “ตัดบัวไม่ไว้รากเผาซากไม่ให้เหลือ” แคว้นซัตสึมะ และ แคว้นโจชู ลงนามสนับสนุนยกเลิกอำนาจตระกูลโตกุกวาว่าทั้งหมด พร้อมยึดทรัพย์สินคืนพระจักพรรดิ์ 

 

 

17 มกราคม 1868 โชกุนโตกุกาว่า โยชิโนบุ  ประกาศไม่ยอมรับคำสั่งของรัฐ ทำให้โยชิโนบุเปิดฉากการรบเพื่อยึดราชสำนักจักรพรรดิที่เกียวโต  มาตั้งมั่นที่ปราสาทโอซากา เพื่อเตรียมโจมตี 

แต่กองทัพจักรพรรดิ์ ได้เตรียมตัวรออยู่แล้ว

 

และการรบครั้งสำคัญที่พลิกโฉมญี่ปุ่น เข้าสู่ยุคสมัยใหม่ก็มาถึง การต่อสู้ระหว่างฝ่ายสนับสนุนองค์จักรพรรดิกับฝ่ายสนับสนุนระบอบโชกุน เริ่มต้นเมื่อวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 1868 ในชื่อ ยุทธการโทบะ–ฟูชิมิ อันเป็นซีนเปิดเรื่องของภาพยนตร์ ซามูไรพเนจรภาคแรกสุดนั่นเอง

 

history-rurouni-kenshin-movie-the-beginning (9)
ศึกนี้ เคนชินได้ใช้ทุกอย่างที่มี เข้าร่วมศึกในฐานะหน่วยทะลวงฟัน แม้รู้ทั้งรู้ว่าฝ่ายพันธมิตรซัตโจ หรือคณะปฎิวัติจะมีกำลังพลน้อยกว่า แต่พวกเขามีกำลังทหารและยุทธโธปกรณ์ที่ล้ำสมัยที่สุดในญี่ปุ่น โดยมีทั้งปืนใหญ่ ปืนยาว ปืนกล ในการรบ ซึ่งทางด้านกองกำลังของโชกุนนั้นไม่มีอาวุธพวกนี้มากนัก เนื่องด้วยการที่โชกุนใช้เงิน หมดไปในการฝึกทหารของฝรั่งเศส ทำให้ไม่ค่อยมีเงินไปซื้ออาวุธ ทำให้ในกองกำลังของโชกุนมีทั้งส่วนที่ทันสมัยและล้าสมัยปนกันไป ใช้งานได้ไม่เต็มที่ ที่แม้ว่าวัดกันที่กำลังคนจะเหนือกว่า แต่ทางเทคโนโลยี และอาวุธ กลยุทธ์นั้น ฝั่งคณะปฎิวัติดูจะเหนือกว่า 

 

history-rurouni-kenshin-movie-the-beginning (10)

 พลเรือเอก เฮนรี เคปเปล (Henry Keppel)

 

แถมกองเรือราชนาวีอังกฤษนำโดย พลเรือเอก เฮนรี เคปเปล (Henry Keppel) และ พลเรือเอก เฮนรี เบล (Henry H. Bell)  ผู้สนับสนุนรายใหญ่ของคณะปฎิวัติเอง ก็ได้ออกตัวและมาช่วยสนับสนุน โดยการเอากองเรือมาปิดท่าเรือโอซาก้า หลักๆเลย เพราะพวกเขาต้องการปกป้องเส้นทางการเดินเรือพานิชย์นาวีที่สำคัญใน เมืองเฮียวโก(ปัจจุบันคือโกเบ) ไม่ให้รับผลกระทบจากสงคราม อีกทั้งกองเรืออังกฤษเองก็มั่นใจเหลือล้นว่าศึกนี้คณะปฎิวัติชนะแน่นอน กระแสของสงครามพลิกกลับไปยังกลุ่มของจักรพรรดิ ที่แม้จะมีขนาดเล็กกว่า  ในที่สุด โชกุน โตกุกาว่า โยชิโนบุ จึงเป็นฝ่ายขอยอมแพ้ ส่วนผู้ภักดีต่อโตกุกาว่า กลุ่มชินเซน และอื่นๆ ได่ล่าทัพขึ้นตอนเหนือของเกาะฮอนชูและเกาะฮอกไกโดในภายหลัง 

 

 

history-rurouni-kenshin-movie-the-beginning (11)

ฟ้าหลังฝน ยุคสมัยใหม่มาถึง นักฆ่าไร้ประโยชน์!

 

หลังโยชิโนบุยอมจำนน ประเทศญี่ปุ่นส่วนมากก็ยอมรับการปกครองของจักรพรรดิ แต่ก็มีไดเมียวในภาคเหนือหลายคนตั้งพันธมิตรเพื่อต่อกรกองทัพจักรพรรดิจนเกิดสงครามย่อยมากมายหลายครั้ง ในที่สุด กลุ่มชินเซ็นแตกพ่าย  รัฐบาลใหม่ดำเนินรวมประเทศภายใต้การปกครองทรงอำนาจโดยชอบเดียวโดยราชสำนักจักรพรรดิ ที่พำนักของจักรพรรดิย้ายจากเกียวโตไปโตเกียวในปลาย ค.ศ. 1868 อำนาจทางทหารและการเมืองของแว่นแคว้นต่าง ๆ ทยอยถูกริดรอนไป และไม่ช้าแคว้นต่าง ๆ ก็กลายสภาพเป็นจังหวัด ซึ่งจักรพรรดิทรงตั้งผู้ว่าราชการ มาดูแลจังหวัดต่างๆ รวมทั้งมีการเวนคืนทรัพย์และยกเลิกชนชั้นซามูไร ทำให้ซามูไรจำนวนมากเปลี่ยนเข้าตำแหน่งงานมาบริหารราชการแผ่นดิน หรือผู้ประกอบการ แต่บีบให้อีกจำนวนมากยากจน ไม่ต่างกับคนจรจัด

 

ใน ค.ศ. 1869 มีการสร้างศาลเจ้ายะซุกุนิในกรุงโตเกียวเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้เสียชีวิตในสงครามโบชิน

 

ดาบสลับคม

และเคนชิน ก็ได้วางดาบฆ่าคน เดินทางไปหา อาไร ชัคคู เพื่อสร้างดาบแห่งการปกป้อง ที่มีชื่อว่า “ดาบสลับคม”

เคนชินก็ออกเดินทาง ในฐานะ คนพเนจร เร่ร่อนช่วยคนไปเรื่อย ในยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่แสนยุ่งเหยิงนี้…

Samurai-X-(16)

“เมื่อสงครามจบแล้ว…ข้าน้อยจะไม่ฆ่าใครอีก ไม่อีกแล้ว…”

 

 

นี่คือเรื่องราวอิงประวัติศาสตร์ จากการ์ตูน ซามูไรพเนจร และเตรียมความพร้อมสู่การรับชมภาพยนตร์ ภาคสุดท้าย ที่เราจะได้เห็นอีกมุมของมือสังหารกลับใจ ที่พาเราไปดูในยุคที่เขายังคงฆ่าคนราวกับเทพอสูร ใน “ซามูไรพเนจร : ปฐมบท”  ทาง NETFLIX เท่านั้น

 

 

แอดมิน AK47

 

 

 

ที่มา  

“Nagasaki in the Meiji Restoration: Choshu loyalists and British arms merchants”

The Making of Modern Japan. Harvard

Essay on The Meiji Restoration Era, 1868-1889

H. Van Straelen, Yoshida Shōin, Forerunner of the Meiji Restoration: A Biographical Study

Timeline of Religion and Nationalism in Meiji and Imperial Japan
Timeline of Modern Japan