Gunpla Tips#2 [GP01] เพิ่มความสมจริงด้วยการแกะลาย, ปิดรอยประกบ, สีพู่กัน, สีปากกา
14 มีนาคม 2558 11:33 น.
Share on FacebookTweet about this on TwitterShare on Google+

กันพลา หรือ Gundam Plastic Model ถือเป็นของเล่นที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอย่างหนึ่ง ที่นอกจากผู้ต่อหุ่นจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกลไกของตัวหุ่นที่ซับซ้อนแล้ว ยังสามารถพัฒนาเป็นงานศิลปะชั้นสูง ที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย จะเห็นได้จากการจัดการจัดงานประกวดผลงานการต่อหุ่นประเภทนี้ ที่ผลงานแต่ละชิ้นมีความสวยงามเกินกว่าจะเป็นของเล่นพลาสติกธรรมดา

 

และในบทความนี้ทีมงานเมทัลบริดจะมาแนะนำเทคนิคเบื้องต้นที่จะทำให้หุ่นพลาสติกกันดั้ม ดูสวยงามสมจริงมากยิ่งขึ้น แต่สำหรับมือใหม่ที่พึ่งเริ่มต่อกันดั้ม ผมขอแนะนำว่าให้ฝึกเทคนิคพื้นฐานจากบทความตอนที่ 1 ก่อนครับ 

 

Gunpla Tips#1 เทคนิคการต่อหุ่นกันดั้มเบื้องต้น Click

 

Gunpla Tips#3 เสริมพาร์ทด้วย Epoxy Putty , Plaplate 

 

Gunpla Tips#4 แอร์บรัช, ไล่เฉดสี , ติดไฟ LED

 

Gunpla Tips#5 การยืดสัดส่วน เพิ่มความสูงของกันพลา

 

Gunpla Tips#6 weathering /เทคนิคทำสีเสมือนจริง / สนิม

 

Gunpla Tips#7 Diorama /เทคนิคทำฉาก / แขวนหุ่นลอยได้

 

ในบทความนี้จะพูดถึงเทคนิคหลักๆที่ผู้ต่อกันดัมนิยมทำกัน โดยสามารถเลือกทำแค่บางวิธี หรือจะทำทั้งหมดก็ได้ และผมจะค่อยๆทำให้ดูไปทีละอย่างเริ่มจาก การแกะลาย , การปิดรอยประกบ , การทำสีพู่กัน , การทำสีปากกา

 

 

gunpla-tips-2-crop-(1) 

หุ่นที่จะมาเป็นแบบในครั้งนี้คือ Master Grade 1/100 GP01  ที่ผ่านการตัดเส้นมาแล้ว ซึ่งสภาพเดิมๆก่อนตัดเส้นจะให้ความรู้สึกที่ราบเรียบมาก ไม่มีความงามเอาซะเลย (ตามไปดูสภาพเดิม Click)

 

 

 

การแกะลาย

กันดั้มหลายๆตัวที่เป็นรุ่นเก่าหรือรุ่นเล็ก (HG) จะมีลวดลายบนตัวน้อยกว่า หุ่นที่ออกมาในรุ่นหลังๆ ซึ่งต่อให้ใช้ปากกาเดินลายไปแล้ว ตัวหุ่นก็ยังดูราบเรียบไม่สมกับเป็นหุ่นรบที่สร้างจากเทคโนโลยีชั้นสูง แต่เราก็สามารถเพิ่มลวดลายเพิ่มเติมให้ตัวหุ่นได้ด้วยการแกะลาย ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่ผมถนัดคือการใช้ เข็มหมุดปักกระดานบอร์ด ควบคู่กับเทปไดโม ซึ่งมันก็คือเทปสำหรับทำตัวอักษรนูนนั่นเอง หาซื้อได้ที่ B2S

 

 gunpla-tips-2-(8) 

จุดที่จะลองเทคนิคแกะลายให้ดูกัน ก็คือชิ้นส่วนแขนที่ราบเรียบอันนี้

 

 

gunpla-tips-2-(9) 

เริ่มจากการวาดลวดลายด้วยดินสอไปบนชิ้นงานก่อน ส่วนจะวาดลายไหนคงต้องศึกษาดูจากหุ่นตัวอื่นๆที่เราชอบแล้วลองวาดไปบนชิ้นงาน ถ้าสวยถูกใจก็ลงมือแกะลายกันได้เลย

 

 

gunpla-tips-2-(10) 

แปะเทปกาวไดโมตามแนวดินสอที่วาดไว้แล้ว ซึ่งตัวเทปจะมีความหนาคล้ายๆไม้บรรทัด ทำให้สามารใช้เข็มหมุดกดลากตามแนวได้ง่าย แต่ขอแนะนำว่าให้เริ่มจากกดเข็มหมุดเบาๆกอน แล้วลากซัก2-3ทีจนได้แนวร่อง แล้วค่อยออกแรงขูดจนได้ความลึกที่ต้องการ สำหรับหุ่นตัวนี้ลายเดิมที่มากับหุ่นค่อนข้างหน้า ลายใหม่ที่แกะเพิ่มจึงทำให้ลึกพอสมควร

 

 

gunpla-tips-2-(11) 

ขูดเส้นเรียบร้อยแล้วก็แกะเทปไดโมออก แต่จะมีคราบกาวไดโมติดอยู่ ไม่ตกใจ สามารถใช้ยางลบ ลบออกได้

 

 

gunpla-tips-2-(12)

แกะลายแล้ว ก็ใช้ปากกาเดินลายวาดลงไป ลองเปรียบเทียบแขนซ้าย-ขวา ลายที่เพิ่มเข้ามาช่วยให้ดูดีขึ้นไหมครับ

***การแกะลายควรระวังให้มาก เพราะถ้าพลาดแล้วยาวเลย ต้องใช้พุดตี้มาอุดรอยและขัดซ่อมเอา

 

 

 

การปิดรอยประกบ

หุ่นรุ่นเก่าๆหรือรุนเล็ก(HG) อาจมีรอยประกบชิ้นส่วนโชว์ให้เห็น ซึ่งตามความเป็นจริงมันไม่ควรจะมีให้เห็นในหุ่นรบ การจะปิดรอยประกบให้เรียบเนียนสามารถทำได้ง่ายๆ แต่ก่อนทำต้องมั่นใจว่าจะไม่แกะชิ้นส่วนนั้นเพื่อกลับมาทำอะไรกับมันอีก เพราะการปิดรอยจะเป็นการเชื่อมชิ้นส่วนเขาด้วยกันแบบถาวร

 

gunpla-tips-2-(17) 

เจ้าหุ่น MG GP01 นอกจากรายละเอียดจะจึดชืดแล้ว ยังทิ้งรอยประกบตรงน่องไว้ มองดูไม่งามตา

 

 

gunpla-tips-2-(18) 

เทคนิคง่ายๆเลยคือใช้กาวร้อน หรือกาวช้าง ทาตรงรอยประกบทั้ง 2 ด้านแล้วรอซัก 5 วินาทีให้กาวเข้าเนื้อพลาสติก แล้วคอยประกบเข้าหากัน

 

 

gunpla-tips-2-(19) 

พอประกบกันแล้วให้ออกแรงบีบให้เนื้อกาวปลิ้นออกมา ถ้าไม่มีก็ให้ทากาวย้ำร่องข้างนอกเพื่อปิดรอยประกบ

 

 

gunpla-tips-2-(20) 

รอจนกาวแห้งสนิท ก็ใช้มีดขูดกาวที่ปลิ้นออกไปแล้วใช้กระดาษทรายเบอร์ 600ขัด แล้วตามด้วยกระดาษทรายเบอร์ 1000 ขัดอีกที่ เท่านี้รอยประกบก็เรียบเนียนแล้ว แต่ถ้าสีของกาวกับพลาสติกไม่เสมอกัน ก็จำเป็นต้องใช้เทคนิคการทาสีเข้าช่วย

 

 

ประกบด้วยกาวแป้ง

อีกเทคนิคที่ใช้ปิดรอยประกบแบบเหนื่อชั้นไปอีกขั้นคือการใช้กาวร้อน(ช้าง) ควบคู่กับแป้งทาตัว จะทำให้เกิดกาวที่มีลักษณะคล้ายปูนซีเมนเชื่อมพลาสติกเข้าด้วยกัน ช่วยปิดรอยประกบได้เรียบเนียนขึ้นไปอีกขั้น

 

gunpla-tips-2-(21) 

วางชิ้นส่วนที่จะประกบไว้ให้พร้อม แล้วเทแป้งทาตัวรอไว้ แล้วค่อยทากาวร้อนตรงจุดที่จะประกบ แล้วรีบเอาจุดที่ทากาวมาแตะกับแป้ง แล้วรีบเอาชิ้นส่วนไปประกบเข้าด้วยกัน

 

 

gunpla-tips-2-(23) 

ประกบแล้วบีบให้แน่น จนกาวแป้งทะลักออกมา รอให้แห้งแล้วใช้มีดขูดส่วนเกินออกแล้วค่อยลงกระดาษทรายขัดให้เรียบต่อไป วิธีนี้จะได้ผลงานที่เนียนกว่า แต่ต้องมีความชำนาญพอสมควร ถ้ามือใหม่ทำมีโอกาสเละได้ ต้องระวัง

 

*** กาวร้อมมีอันตราย เวลาใช้พยายามอย่าให้โดนผิวหนัง โดยเฉพาะดวงตา

 

 

 

การทำสีพู่กัน

การทำสีกับงานพลาสติก จำเป็นจะต้องรู้จักคุณสมบัติของสีอคิลิคก่อน สีประเภทนี้จะใช้ “ทินเนอร์” เป็นตัวทำละลาย ซึ่งสามาถหาซื้อทินเนอร์ได้ทั้งของดีมียี่ห้อตามร้านกันพลา และแบบถังปี๊บเล็กตามร้านวัสดุก่อสร้าง ซึ่งราคาก็แตกต่างกันมากพอสมควร อุปกรณ์อื่นๆที่จำเป็นคือ ถาดผสมสี และพูกัน รวมไปถึงแอร์บรัชด้วย

 

gunpla-tips-2-gunse 

สีทากันดั้มยี่ห้อที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้กันคือ Mr.Color และ Gaia 

 

 

 

gunpla-tips-2-st-color 

ถ้าตามห้างจะมีสีอคิลิคยี่ห้อ ST ก็เอามาใช้ได้เหมือนกัน

 

 

gunpla-tips-2-(13) 

 

เรื่องของสีอคิลิค สำหรับคนที่มีพื้นฐานการระบายสีจากงานศิลปะอยู่แล้วสามารถเลือกซื้อแม่สี (แดง เหลือง น้ำเงิน) มาผสมสีเอาเองได้โดยในคู่มือการต่อกันดั้มจะมีเฉดสีให้เทียบดู อย่างสีเหลืองกันดัมจะใช้สีเหลือง(แม่สี)บวกกับสีแดงแต้มนิดเดียวผสมกัน แต่สำหรับมือใหม่ที่ผสมสีไม่แม่น สามารถเลือกซื้อเบอร์สีสำเร็จมาใช้ได้เลย เช่นสีแดงกันดั้ม เท่ากับเบอร์ 108

 

 

gunpla-tips-2-(88)

เทคนิคการใช้ทินเนอร์ จะมีความเหลวเหมือนน้ำ การใช้งานจะนับหน่วยเป็นหยด การเทออกจากขวดให้ใช้พู่กันทาบกับฝาขวดเพื่อหยดทินเนอลงบนจานผสมสี  หรือถ้าจะให้แม่นยำสามารถใช้ตัวดูดสีได้ แล้วผสมกับสีในปริมาณ 1/2 หรือ 1/4  แล้วแต่ความข้นของสี หรือจะผสมกับสีที่แห้งไปแล้วก็ยังได้ กะให้ความข้นของสีได้ประมาณนมกล่องก็เป็นอันใช้ได้ นอกจากนั้นตัวทินเนอร์เพียวๆ ยังใช้ทาบนพื้นผิวสีเพื่อเก็บงานให้เรียบเนียนมากยิ่งขึ้นได้อีกด้วย สุดท้ายตัวทินเนอยังใช้เป็นตัวทำความสะอาดอุปกรณ์ได้ด้วย เทคนิคคือให้ใช้ทิชชู่ ชุบทินเนอร์ให้ชุ่มแล้วนำมาเช็ดทำความสะอาดอุปกรณ์

 

 

 

gunplatip-Mr Retarder Mild

การทาสีอคิลิคที่ใช้ทินเนอร์เป็นส่วนผสมจะทำให้สีแห้งเร็วมาก สำหรับงานชิ้นใหญ่ บางครั้งทาสียังไม่ทันทั่วชิ้นงาน สีก็หนึดซะก่อน ทำให้เกลี่ยไม่เนียน ซึ่งส่วนผสมเพิ่มเติมทีทำให้งานสีพู่กันเรียบเนียนมากยิ่งขึ้นคือการผสม Mr Retarder Mild เป็นการหน่วงสีให้แห้งช้าลง สามารถใช้พูกันเกลี่ยสีให้บางเฉียบเรียบเนียนได้ดียิ่งขึ้น ถือเป็นสิ่งจำเป็นมากในการทำสีเงาเมทัลลิคที่ต้องการความเรียบเนียนสูง

 

 

 ***การทำงานสีอคิลิคทินเนอร์ เป็นสารระเหยที่มีความอันตรายต่อร่างกาย ควรใส่หน้ากากปิดจมูกด้วย

 

 

 

gunpla-tips-2-(16)

การทาสีบนพื้นผิวปรกติให้พยายามปัดแปรงไปในทิศทางเดียวกันเพื่อได้ชิ้นงานที่เรียบเนียนเสมอกัน แต่ถ้าเป็นจุดเล็กๆทีละเอียดอ่อนและรู้สึกไม่มั่นใจในความแม่นยำของมือเรา สามารถใช้สก๊อตเทปแป๊ะจุดแล้วค่อยระบายสี แล้วแกะสก๊อตเทปออก ส่วนรอยสีที่เยอะออกมากก็ใช้ พู่กันหัวเล็กจุ่มทินเนอร์เพื่อทาลบรอยเลอะออกไปได้

 

 

 

 gunpla-tips-2-crop-(7)

ผลงานหลังจาก แกะลาย ลบรอยประกบ ทำสี ติดดีคอล รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงไหมครับ บางคนที่ชอบผลงานสไตล์สะอาดเนียบก็สามารถพ่นเคลียจนงานได้เลย

 

 

 

การทำสีปากกา

ในยุคนี้จะมีอุปกรณ์ทำสี ที่ช่วยให้เราสะดวกมากยิ่งขึ้นนั่นคือ ปากกา Gundam Marker หลากหลายชนิด จากบทความตอนที่ 1 ได้พูดถึงปากกาสำหรับตัดเส้นไปแล้ว ในตอนที่ 2 จะเป็นปากกาอีก 2 ชนิดที่เอาไว้เพิ่มความสมจริงให้ผลงานมากยิ่งขึ้น

 

gunpla-tips-2-(24) 

การทำคราบเหล็ก

ชิ้นงานที่เป็นสีดำหรือเทาเข้ม สามารถเติมความสมจริงใหดูเหมือนเป็นเหล็กที่ผ่านการใช้งานได้ด้วยการใช้ ปากกาสีเงินหัวตัด ปากกาชนิดนี้จะมีสีเมทัลลิคเหลวอยู่ในด้ามปากกา การใช้งานให้กดหัวปากกาลงเพื่อให้สีไหลออกกมาสำหรับลากเส้น

 

 

 

gunpla-tips-2-(25) 

เทคนิคการวาดให้ลากสีไปตามขอบนูนทั่วชิ้นงาน เป็นการไฮไลรายละเอียดให้เด่นชัดขึ้น สำหรับรอบคราบที่เหมือนเหล็กให้ใช้ทิชชู่ซับสีที่ยังไม่แห้ง กดย้ำๆจะได้รอยเลอะที่คล้ายเหล็ก ดูสมจริงขึ้นไปอีกขั้น

 

 

 

gunpla-tips-2-(26) 

ชิ้นส่วนที่เป็นสีเข้มๆอย่างเช่นสีแดง หรือ สีน้ำเงิน ก็นำมาทำคราบเหล็กได้เช่นกัน เปรียเทียบซ้าย-ขวา

 

 

 

gunpla-tips-2-(27)

ร่องรอยจากสงคราม

สำหรับคนที่อยากให้กันดั้มดูสมบุกสมบัน เหมือนผ่านการใช้งานจริงในสงคราม สามารถเติมรายละเอียดให้ชุดเกราะรอบๆตัวโดยใช้ปากกาประเภท Gundam Marker Real Touchซึ่งปากกาประเภทนี้จะให้สีที่มีความเหลวและเจือจางกว่าสีจากปากกาชนิดอื่น เราสามารถนำมาใช้ไล่สี “เฉดดิ้ง” ที่ให้อารมณ์ใกล้เคียงกับการทำแอร์บรัชได้

 

 

 

gunpla-tips-2-(29) 

เริ่มจากระบายปากกาเรียลทัชไปบนจุดที่ต้องการให้เลอะ แล้วรีบใช้ทิชชู่กดลงไปตรงๆ 1 ครั้งเพื่อซับสีออก แล้วใช้ทิชชู่เช็ดส่วนที่เหลือเพื่อไล่น้ำหนักรอยเลอะตามต้องการ

 

 

gunpla-tips-2-(30)

เทคนิคการลงรอยคราบเลอะให้เลือกทำตามหลักความเป็นจริงคือ จุดที่อยู่ลึกตามซอกหลืบรอยต่อ ก็น่าจะมีรอยเลอะมากกว่าจุดที่ เปิดเผยเด่นชัด สำหรับจุดที่เป็นเหลี่ยมตามขอบชิ้นงาน สามารใช้ยางลบ มาลบรอยปากกาออกเพื่อสร้างเส้นไฮไลบนชิ้นงานได้

 

 

 

ดูสวยขึ้นไหม

ผลงานหลังจาก แกะลาย , ลบรอบประกบ , ลงสีพู่กัน , ทำคราบเหล็ก , ทำคราบเลอะ

gunpla-tips-2-realtouch technic  

 

gunpla-tips-2-crop-(5)

gunpla-tips-2-crop-(4)

gunpla-tips-2-(1xx)

gunpla-tips-2-crop-(3)

 

 

จากที่กล่าวไปตอนต้นว่า การต่อกันดัมนั้นคืองานศิลปะ จึงมีเทคนิคการสร้างผลงานอีกมากมายที่อาจจะได้กล่าวในตอนต่อไป ทั้งเรื่อง การใช้พุดตี้(Epoxy) การพ่นแอร์ปรัช การติดไฟ และอีกหลายเทคนิค ใครสนใจจะอ่านต่อ ช่วยแสดงตัวที่ด้านล่างด้วยนะครับ

 

 

By Webmaster

 

บทความ Gunpla Tips ทั้งหมด

Gunpla Tips#1 เทคนิคการต่อหุ่นกันดั้มเบื้องต้น Click

Gunpla Tips#2 เพิ่มความสมจริงด้วยการแกะลาย, ปิดรอยประกบ, สีพู่กัน, สีปากกา Click 

Gunpla Tips#3 เสริมพาร์ทด้วย Epoxy Putty , Plaplate 

Gunpla Tips#4 แอร์บรัช, ไล่เฉดสี , ติดไฟ LED

Gunpla Tips#5 การยืดสัดส่วน เพิ่มความสูงของกันพลา

Gunpla Tips#6 weathering /เทคนิคทำสีเสมือนจริง / สนิม

Gunpla Tips#7 Diorama /เทคนิคทำฉาก / แขวนหุ่นลอยได้