ของเล่นที่ถือว่าได้รับความนิยมมากอย่างหนึ่งคือ กันพลา หรือ Gundam Plastic Model ที่นอกจากจะเป็นการได้สะสมหุ่นตัวโปรดจากอนิเมะที่ชอบ การต่อกันพลายังถือว่าเป็นงานศิลปะอย่างหนึ่งด้วย เพราะต่อให้เป็น กันพลากล่องเดียวกัน แต่ถ้าฝีมือผู้ประกอบแตกต่างกัน ผลงานที่ออกมาก็แตกต่างกันราวฟ้ากับเหวเลยทีเดียว
สำหรับเทคนิคที่สูงกว่านี้สามารถอ่านได้ที่
Gunpla Tips#2 เพิ่มความสมจริงด้วยการแกะลาย, ปิดรอยประกบ, สีพู่กัน, สีปากกา Click
Gunpla Tips#3 เสริมพาร์ทด้วย Epoxy Putty , Plaplate
Gunpla Tips#4 แอร์บรัช, ไล่เฉดสี , ติดไฟ LED
Gunpla Tips#5 การยืดสัดส่วน เพิ่มความสูงของกันพลา
Gunpla Tips#6 weathering /เทคนิคทำสีเสมือนจริง / สนิม
Gunpla Tips#7 Diorama /เทคนิคทำฉาก / แขวนหุ่นลอยได้
บทความนี้ทีมงานเมทัลบริดจะมาแนะนำ เทคนิคเบื้อต้นในการต่อหุ่น กันพลาให้ออกมาสวยงามด้วย 5 เทคนิคง่ายๆ โดยใช้อุปกรณ์ที่สามารถซื้อได้ทั่วไป ว่าแล้วก็มาเริ่มกันเลย
1. ต่อดิบ (ประกอบเป็นตัว)
ขั้นตอนแรกถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการต่อหุ่น เมื่อเปิดกล่องจะเจอแผงชิ้นส่วนหลายๆแผงอยู่ในนั้น ก็แนะนำว่าควรนำแผงมาจัดเรียงตามตัวอักษรซะก่อนไล่ไปตั้งแต่ A B C D … เสร็จแล้วตอนจะเริ่มต่อก็ให้ดูจากคู่มือไปที่ละขั้นตอน ว่าจะใช้ชิ้นส่วนหมายเลขไหนจากแผงไหน ก็เลือกตัดออกเฉพาะชิ้นที่จะใช้ แล้วนำมาประกอบรวมกัน ทำไปเรื่อยๆที่ละขั้นตอนก็จะเสร็จออกมาเป็นผลงานที่สมบูรณ์ได้ไม่ยาก
*** อย่างตัดชิ้นส่วนออกจากแผงทั้งหมดทีเดียวเพราะจะทำให้ไม่รู้หมายเลข แล้วจะงงมาก
เทคนิคการแยกชิ้นส่วน
การแยกชิ้นส่วนออกจากแผง ถ้าคนที่ไม่รู้วิธีอาจจะใช้มือเด็ดชิ้นส่วนออกจากแผงแบบบ้านๆเลย แต่ถ้าทำแบบนั้นอาจจะทำให้ชิ้นส่วนเกิดรอยตำหนิและทำให้ชิ้นงานไม่สวยได้ อุปกรณ์ที่ช่วยในการแยกชิ้นส่วนออกจากแผงได้ดีคือ คีมตัดแบบมีคม ไม่ใช่คีมตัดลวดนะครับ หรือถ้าหาคีมไม่ได้จริงๆสามารถใช้กรรไกรตัดเล็บแทนก็ได้ โดยจังหวะแรกที่ตัดให้เว้นระยะออกห่างจากชิ้นงานเล็กน้อย พอแยกชิ้นส่วนออกมาจากแผงแล้วค่อยใช้มีดหรือตะไบ ตัดแต่งส่วนที่เกินมาออกไป ก็จะได้ชิ้นงานที่เรียบร้อยสวยงามพร้อมประกอบตามแบบ
เว้นระยะห่างจากชิ้นงานประมาณนี้ แล้วค่อยตัด
ใช้คัทเตอร์ หรืออาร์ตไนท์ เก็บชิ้นส่วนที่เกินมาออกไป
ตัดชิ้นส่วนแล้วนำมาประกอบตามแบบ จนสำเสร็จเป็นตัวแบบนี้ ได้ไม่ยาก
ด้วยเทคนิคที่ว่ามาก็น่าจะช่วยไดให้สามารถประกอบหุ่นออกมาเป็นตัวได้สำเร็จแบบนี้ แต่ถ้าจบผลงานที่เท่านี้นักต่อกันพลาเขาเรียกว่าเป็นแค่การต่อดิบเท่านั้น ซึ่งยังมีเทคนิคที่สามารถทำให้กันดั้มของเราสวยขึ้นได้อีก ไปดูต่อกันเลย
2. ปิดรอยแผล
หลังจากประกอบเป็นชิ้นงานเสร็จแล้ว อาจจะมีแผลบางจุดที่เกิดจากความผิดพลาดในการตัด หรือเนื้อพลาสติกขึ้นฝ้าขาวเพราะการตัด ทำให้งานออกมาไม่สวย ก็สามารถใช้กระดาษทรายน้ำ แบบละเอียด ขัดให้ชิ้นงานเรียบเนียน ซึ่งถ้าเป็นแผลลึกแนะนำให้ใช้กระดาษทรายเบอร์ 400 ขัดแผลออกไปก่อน แล้วค่อยใช้กระดาษทรายเบอร์ 1000 ขัดเพื่อให้พื้นผิวเรียบเนียนอีกที
วิธีการใช้กกระดาษทรายจำเป็นต้องขัดในระหว่างที่ชิ้นงานและกระดาษทรายเปียกน้ำ จะดีที่สุด
3. ตัดเส้น (วาดลาย)
หลังจากประกอบหุ่นออกมาเป็นตัวแล้วให้ลองสังเกตลวดลายที่เป็นเส้นลึกลงไปตามตัวหุ่น ซึ่งการจะทำให้ผลงานของเราสวยขึ้นก็สามารถทำได้โดยการย้ำลวดลายบนตัวหุ่นให้เด่นชัดขึ้นโดยการใช้ปากกาสีดำวาดทับลงไปบนลวดลายนั้น แต่ก็ต้องอาศัยเทคนิคเฉพาะช่วยทำให้ผลงานออกมาสวยงาม
เริ่มจากปากกาที่จะใช้ตัดเส้น แนะนำว่าให้หาปากกา GUNDAM MARKER ที่มีขายที่ร้านที่เราซื้อหุ่นมานั่นเอง โดยปากกาชนิดนี้จะมี 2 สูตรคือ
1. สูตรทินเนอร์ : ใช้เหมือนปากกาหมึกซึมทั่วไป สามารถลากเส้นวาดลวดลายได้เลย ลบรอยเลอะด้วยยางลบดินสอ
2. สูตรน้ำมัน : เป็นปากกาแบบใหม่ที่ทำขึ้นสำหรับต่อกันพลาโดยเฉพาะ ใช้งานโดยกดหัวปากกาแล้วหมึกจะไหลไปตามร่องนั้นตามแรงโน้มถ้วง ลบรอยที่เลอะออกมาด้วยน้ำมันรอนสัน
การเลือกใช้ก็เลือกตามวิธีที่ถนัดได้เลย
การตัดเส้นต้องอาศัยทักษะงานศิลปะพอสมควร แต่ถ้าเส้นเลอะออกมา สามารถลบส่วนที่เลอะออกมาได้โดยใช้ยางลบที่ใช้ลบดินสอธรรมดา นำมาลบรอยหมึกได้ แต่ถ้ารอยหมึกอยู่ในจุดที่เข้าถึงยาก ให้ใช้คัทเติลบัท ที่เราเอาไว้ใช้เช็ดหูนำมาชุบน้ำยาทำความสะอาดCD หรือน้ำมันรอนสัน ให้พอชุ่มแล้วใช้เช็ดรอยเลอะของหมึกได้เช่นกัน น้ำยาทำความสะอาด CD หาซื้อได้ที่ร้านหนังสือซีเอ็ด SE-ED
** ถ้าหาซื้อ Gundam Marker ไม่ได้ก็สามาถใช้ปากกาหมึกซึมธรรมดาแทนก็ได้แต่ควรเลือกใช้เป็นหัวเล็กขนาด 0.05 จะทำให้ได้เส้นที่คมสวย
ลองเปรียบเทียบผลงานก่อนและหลังตัดเส้น มีความแตกต่างกันมากพอสมควร
4. ติดสติกเกอร์
ภายในกล่องกันพลาที่เราซื้อมาจะแถมสติกเกอร์สำหรับตกแต่งหุ่นของเราให้สวยงามมาด้วย โดยสติ๊กเกอร์จะแบ่งได้ 4 ประเภทด้วยกันคือ
- สติ๊กเกอร์ธรรมดา
วิธีการติดก็ไม่ยาก ก็เหมือนกับสติ๊กเกอร์ทั่วๆไปคือแกะแล้วติด แต่เทคนิคติดให้สวยคือการใช้มีดอาร์ตไนท์ช่วยย้ำรอยก่อนลอกออกมาใช้ เพื่อป้องกันการฉีกขาด แล้วใช้มีดอาร์ตไนท์ช่วยทาบ ในระหว่างติดสติกเกอร์ไปบนชิ้นงานจะช่วยให้ได้ตำแหน่งที่ตรงมากขึ้น
-สติ๊กเกอร์ฟิล์ม
เป็นสติ๊กเกอร์ลวดลายที่วางอยู่บนพื้นใส มีความบางกว่าสติกเกอร์ทั่วๆไป หลังจากติดไปบนชิ้นงานแล้ว ถ้ามองผ่านๆแทบจะกลืนเป็นเนื้อเดียวกับชิ้นงานไปเลย แต่ต้องระวังเพราะสติ๊กเกอร์ฟิล์มจะบอบบางกว่าแบบทั่วๆไป ขอแนะนำว่าให้ใช้มีดอาร์ตไนท์ช่วยระหว่างติดจะดีกว่า
- สติ๊กเกอร์ขูด (ดีคอล)
เป็นสติ๊กเกอร์ที่มีความบางและให้รายละเอียดที่ดีที่สุดแต่ต้องใช้ขั้นตอนการติดที่ยุ่งยากที่สุดเช่นกัน เริ่มจากใช้กรรไกรหรือคัทเตอร์ตัดลายที่จะติดออกมาจากแผ่นใหญ่ก่อน แล้วนำลายด้านที่เป็นฟิล์มแปะเข้ากับสก๊อตเทปใส แล้วนำไปทาบเข้ากับชิ้นงานให้ตรงตำแหน่ง แล้วค่อยขูดลายให้แนบกับชิ้นงาน แล้วค่อยๆแกะเทปใสออกจากชิ้นงาน ก็เป็นอันเรียบร้อย
- สติ๊กเกอร์น้ำ (ดีคอล)
เป็นสติ๊กเกอร์ที่มีความบางและให้รายละเอียดที่ดีที่สุดและติดง่ายกว่าแบบขูด เริ่มจากใช้กรรไกรหรือคัทเตอร์แยกลายที่จะติดออกมาจากแผ่นใหญ่ก่อน แล้วนำไปลอยในน้ำ รอประมาณ 1 นาที แล้วค่อยใช้คีมจับสติ๊กเกอร์ออกมาซับน้ำ แล้วนำไปทาบกับชิ้นงาน แล้วใช้ คัทเติลบัท เขี่ยลายออกมาบนชิ้นงานแล้วซับน้ำ รอให้แห้งเป็นอันเสร็จเรียบร้อย
5. พ่นสีเคลียเก็บงาน
เมื่อผ่านขั้นตอน ตัดเส้น และติด สติ๊กเกอร์ ไปแล้ว หากทิ้งผลงานไว้แบบนั้นเป็นเวลานานอาจทำให้รายละเอียดที่อุส่าทำมาเกิดการหลุดลอกได้ ขั้นตอนสุดท้ายในการต่อกันพลาจึงควรจบด้วยการใช้ สีกระป๋องสเปรย์ พ่นเคลือบทับไปอีกที่เพื่อปกป้องรายลเอียดชิ้นงานที่อุส่าทำมาให้ติดแน่นทนนาน โดยสีที่แนะนำให้ใช้ควรจะเป็นแบบ Fat Clear หรือเคลียด้าน ยี่ห้อที่แนะนำคือของ TOP COAT สูตรน้ำที่มีความปลอดภัยกว่าแต่มีราคาสูงเพราะเป็ของญี่ปุ่น หรือจะใช้สูตรทินเนอร์แนะนำให้ใช้ของ Layland เพราะไม่กัดเนื้อพลาสติก สามารถหาซื้อได้ที่ร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้างทั่วไป (ยี่ห้อนี้บนห้างไม่มีขาย)
***ควรใช้สีสเปรย์ 2 ยี่ห้องนี้เท่านั้น ถ้าเป็นยี่ห้ออื่นจะกัดเนื้อพลาสติกจนพังได้เลย เตือนแล้วนะ
เทคนิคการพ่นถ้าให้ดีที่สุดควรแกะชิ้นงานที่ประกอบแล้วออกมาให้เป็นชิ้นส่วนย่อยให้มากที่สุด เพื่อให้สีที่พ่นออกมาสัมผัสกับพื้นผิวได้ทั่วถึง แต่สำหรับคนขี้เกียจอย่างผมแค่แยกพ่นเป็นส่วน หัว ลำตัว แขน ขา ปีก ก็ถือว่าโอเคแล้ว โดยระหว่างพ่นให้ใช้ไม้เสียบลูกชิ้น เสียบติดกับชิ้นงานจะทำให้พ่นสีโดนชิ้นงานได้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
หลังจากพ่นสีชิ้นงานเสร็จแล้วก็นำมาเสียบปักไว้กับกล่องกระดาษ หรือเศษโฟมที่พอหาได้ เพื่อรอให้ชิ้นงานแห้งสนิทก็เป็นอันใช้ได้
เปรียบเทียบชิ้นงานที่พ่นเคลียด้าน สีพลาสติกและรายละเอียดที่เราทำไว้จะโดดเด่นขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด แต่กับชิ้นที่ไม่พ่นจะมีความเงาของพลาสติกอยู่ มองเห็นความก๊องแก๊งแบบพลาสติกชัดเจน
เปรียบเทียบผลงานต่อดิบธรรมดา กับ ผลงานที่ผ่านการตัดเส้น ติดดีคอล พ่นเคลีย ดูสวยขึ้นบ้างไหม
บทความตอนนี้น่าจะเป็นเทคนิคพื้นฐานที่ช่วยให้นักต่อกันพลามือใหม่ได้ผลงานที่สวยงามขึ้นพอสมควร ในโอกาสหน้าทีมงานคงได้ทำบทความตอนที่ 2 เพื่อแนะเทคนิคที่มากกว่านี้ในเรื่องการ เดินลายเพิ่มดีเทล การทำสี การเสริมชิ้นส่วน(พุตตี้) สุดท้ายขอให้สนุกกับการต่อกันพลานะครับ
By Webmaster
บทความ Gunpla Tips ทั้งหมด
Gunpla Tips#1 เทคนิคการต่อหุ่นกันดั้มเบื้องต้น Click
Gunpla Tips#2 เพิ่มความสมจริงด้วยการแกะลาย, ปิดรอยประกบ, สีพู่กัน, สีปากกา Click
Gunpla Tips#3 เสริมพาร์ทด้วย Epoxy Putty , Plaplate
Gunpla Tips#4 แอร์บรัช, ไล่เฉดสี , ติดไฟ LED
Gunpla Tips#5 การยืดสัดส่วน เพิ่มความสูงของกันพลา
Gunpla Tips#6 weathering /เทคนิคทำสีเสมือนจริง / สนิม
Gunpla Tips#7 Diorama /เทคนิคทำฉาก / แขวนหุ่นลอยได้
-
BEYBLADE X : 10 ตัวน่าซื้อ ของมันต้องมีในปี 2024
#beybladex #kctoysbeybladex #beybladexthailand
-
KARATE KID: LEGENDS [เรื่องย่อ / ตัวอย่าง / หนังใหม่ /2025]
#KarateKidMovie #KarateKi #เฉินหลง #JackieChan
-
20 ตัวละครจากเกมยอดนิยมที่ถูกค้นหามากที่สุดในเวปไซต์สำหรับผู้ใหญ่ 2024
#Ranking #website #Games #PC #Console