ทำความรู้จักแท่งไฟสีส้ม Cylume Glowstick อุปกรณ์เชื่อมหัวใจระหว่างโอตะ กับ ไอดอล!
02 กันยายน 2562 16:50 น.
Share on FacebookTweet about this on TwitterShare on Google+

Glowstick (16)

ภาพจากคลิปวิดิโอเพจ https://www.facebook.com/music48project

จบไปเป็นที่เรียบร้อย กับงาน Nippon Haku 2019 ที่สยามพารากอนที่ผ่านมา ในส่วนของการแสดงภายในงานบางจุด ได้มีการจำหน่าย “แท่งไฟ” ทั้งแบบใช้พลังงานจากแบตเตอรี่  หรือจะเป็นแบบ “Cylume” (ไซเลี่ยม) ที่ต้องหักเพื่อใช้งาน…เราจะเห็นภาพของกลุ่มคนที่ออกมาส่งเสียงเชียร์ สนุกกับการเปิดเพลงโดย DJ ชาวญี่ปุ่น ที่อาจจะหยิบเพลงจากหนังดัง เพลงอนิเม หรือเพลงไอดอลที่พวกเขาชื่นชอบ และต้องมีแท่งไฟเป็นส่วนประกอบ ออกมาเต้นท่าทางแปลกๆ รวมไปถึงการแสดงบนเวทีของไอดอลจริงๆ แท่งไฟ ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถเติมเต็มโชว์นั้นๆก็ว่าได้ 

 

 

 

 Glowstick (17)

ในไลฟ์เปิดตัวยูนิต MimiGumo ที่ประกอบไปด้วย  จ๋า BNK48 / ไข่มุก BNK48 และ มิวสิค BNK48 ที่แฟนๆเองก็มีการใช้แท่งไฟชนิดหักร่วมการแสดงด้วย แต่แท่งไฟที่เราเห็นๆกันในงานนี้ ส่วนมากจะเป็นแบบหักใช้แล้วทิ้งเสียมากกว่า…ทำให้เรากลับไปคิดต่อว่า “แท่งไฟเหล่านี้ มันสว่างได้อย่างไร?” เรามาหาคำตอบกัน

 

 

 

 

 

 

 

ในแท่ง “Cylume” (ไซเลี่ยม)  1 แท่ง จะประกอบไปด้วย2ส่วนได้แก่

 

Glowstick (3)

ส่วน A จะเป็นสารเคมีที่มีชื่อว่า “Phenyl oxalate ester”

ส่วนB จะเป็นสารเคมีที่มีชื่อว่า “Hydrogen peroxide”

 

Glowstick (1)

โดย  “Phenyl oxalate ester” จะเป็นของเหลวชั้นนอกแท่งไฟ ส่วน “Hydrogen peroxide” จะถูกบรรจุในกระเปาะแก้ว เมื่อผู้ใช้ทำการหักแท่งไฟ กระเปาะแก้วที่บรรจุสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์จะไหลออกมา  ทำปฏิกิริยากับสารฟีนิลออกซาเลตเอสเทอร์ ในขั้นตอนนี้สารประกอบทั้งสองชนิดจะมีการปลดปล่อยพลังงานจำนวนหนึ่งออกมากระตุ้นมวลสาร จนเกิดแสงสว่างขึ้นมานั่นเอง

 

Glowstick (5)

ส่วนความสว่างมากน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับ “สูตรผสมสาร” ของแต่ละบริษัทที่ทำออกมา และความต้องการไปใช้ในประโยชน์ เช่นการใช้งานทางยุทธวิธีทางทหาร การบรรเทาสาธารณภัย การกู้ชีพ หรือใช้ในสถานที่ๆต้องการความสว่างเพื่อยังชีพ ก็จะเน้นความสว่างไม่มาก แต่เน้นระยะเวลาที่ยาวนาน (สูงสุดที่เคยเห็นคือ 8 ชม.) ส่วนแท่งไฟแบบหักที่ใช้ในคอนเสิร์ต ส่วนมากจะเน้นสีสัน ความสว่าง มากกว่าระยะเวลา 

 

 

Glowstick (7)

การเก็บรักษา

แท่ง “Cylume” (ไซเลี่ยม)  สามารถเก็บได้นาน 2 ปีหากยังไม่เปิดกล่องใช้งานแต่หากเปิดกล่องแล้วจะเก็บได้ราว 6 เดือนขึนอยู่กับสภาพแวดล้อม ควรเก็บให้พ้นแสงและความชื้นจะทำให้อยู่ได้นานขึ้น ทั้งนี้ การใช้แท่งไฟ ก็ควรทิ้งให้ลงถังขยะที่รับเฉพาะขยะเคมีภัณฑ์ เท่านั้น เพราะว่าภายในหลอดแท่งไฟหักนั้นเต็มไปด้วยสารก่อมะเร็งอย่างดี แน่นอนว่าการหักแท่งไฟ เอาแค่พอกระเปาะแก้วภายในแตกก็พอ ไม่ต้องออกแรงหักแท่งไฟจนคดงอ ซึ่งอาจจะเกิดความเสี่ยงในกรณีสารเคมีรั่วไหลด้วย

 

 

 

Trick

Glowstick (13)

แท่งไฟที่หักแล้วแสงยังไม่หมดสามารถนำไปแช่ในตู้เย็นได้จะทำให้แสงอยู่ได้นานขึ้น 

ในทางกลับกัน หาเอาแท่งไฟไป “ต้มในน้ำร้อน” เป็นเวลาสั้นๆ เวลาหักจะสว่างขึ้น และก็มอดเร็วขึ้นเช่นกัน

อ้างอิงจากการทดลอง https://www.facebook.com/2223242154398439/videos/482962489124512/

 

 

 

รุ่นไหนดี!?

Glowstick (14)

ภาพจากเพจ https://www.facebook.com/lumicalight

 

ส่วนในงาน Nippon Haku หรือในงานไอดอลที่นิยมใช้ และมียี่ห้อเดียวที่ถูกใจเหล่าสายเชียร์ไอดอล ก็จะเป็น UO (คำว่า UO มาจากคำว่า Ultimate Orange ) ยี่ห้อ “LUMICA” ที่ให้ความสว่างมากๆ ซึ่งจริงๆแล้วมีหลายสี แต่ “สีส้ม” เป็นสีที่สว่างที่สุด จึงนิยมนำมาเล่นกันมากกว่าสีอื่นๆ  ซึ่งก็จะซอยย่อยออกเป็น สองรุ่น ได้แก่

 

Glowstick (4)

Daisenko UO Kiwami “ซองสีขาว” ให้ความสว่างสูงมาก มีระยะเวลาการใช้งานราวๆ 2 นาที (นับจากสว่างสุด ถึงไฟมอด) มีขายที่ห้างดองกี้ไทย และหน้าสโตรออนไลน์จากญี่ปุ่น มีแบบยกลัง 20แท่ง  50แท่ง / 100แท่ง / 1000 แท่งขายด้วย

 

Glowstick (8)

Daisenko UO  Kiwami DX “ซองสีดำ” ให้ความสว่างสูงที่สุด  แต่มีระยะเวลาการใช้งานราวๆ 30วินาทีเท่านั้น (นับจากสว่างสุด ถึงไฟมอด)  ตอนนี้กลายเป็นสินค้า Exclusive เฉพาะที่ห้างดองกี้เท่านั้น ซึ่งในไทย นานๆจะเอาเข้ามาขายซักที…

 

Glowstick (9)

ซึ่งนานๆมาดูไลฟ์โชว์ซักครั้ง การซื้อแท่งไฟแบบหัก ก็อาจจะไม่เป็นภาระทางการเงินมากนัก แต่ถ้าสายแข็งมาแทบทุกรอบ ทุกไลฟ์ ยังไงก็ควรซื้อแท่งไฟแบบใส่ถ่านจะดีกว่า   แถมเปลี่ยนได้หลายสีด้วย (ถ้าท่านตังค์เหลือใช้ก็แล้วแต่…ไม่ได้ว่าอะไร 555+) แม้จะสว่างไม่เท่า แต่ประหยัดรายจ่ายไปได้เยอะ นอกจากนี้ ก็ยังมีบางรุ่น บางยี่ห้อที่ใช้ความสว่างจัดจ้านไม่แพ้แท่งไฟแบบหักด้วย ไว้มีโอกาสจะกล่าวถึงก็แล้วกันครับ…

 

Glowstick (11)

 

 

Glowstick (2)Glowstick (15)

ภาพจากคลิปวิดิโอเพจ https://www.facebook.com/music48project

 

สุดท้ายนี้ เป็นสิ่งที่ทำให้แฟนคลับจริงๆอย่างเราๆท่านๆชื่นใจครับ ที่น้องๆไอดอล ศิลปินอนิซอง หรือศิลปินหลายคน หลายๆวง ยังต้องการเสียงเชียร์ และแสงไฟจากคนข้างล่างเวทีอยู่ ซึ่งถ้าว่ากันจริงๆ มันก็คือการเรียกร้องความสนใจในช่วงระยะเวลาสั้นๆเท่านั้นเอง และยังเป็นการเพิ่มความอินในโชว์นั้นๆของแฟนคลับอีกด้วย 

 

Glowstick (12)

แต่ทั้งนี้ ก็ต้องแสดงออกในจุดที่เหมาะสมด้วยนะครับ เพราะในบทความนี้เราพูดถึง Fact ในเรื่องแท่งไฟอย่างเดียว เราไม่ได้กล่าวถึงการเต้นโวตะเกะที่มีแท่งไฟประกอบ หรือการเล่นแผลงๆกับแท่งไฟแต่อย่างใด 555+

 

 

แอดมินAK47