“Flagship” หรือ เรือธง เป็นเรือรบ (ยานรบ) ที่เป็นเหมือนหัวใจของกองทัพในยามสงคราม นอกจากจะเป็นเรือรบที่เต็มไปด้วยอาวุธ กำลัง เทคโนโลยีที่จะล้ำหน้ากว่าเรือลำอื่นๆแล้ว ยังเป็นเรือที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครองอย่างหนาแน่นมากที่สุด
สำหรับบทความในวันนี้ ผมจะพามาทำความรู้จักเหล่าเรือธง แห่งจักรวาล UC ที่ได้ออกมาโชว์ตัวให้พวกเราเห็นกันในอนิเมะกันดั้มในช่วง UC.0079 – UC.0088
ในอนิเมะกันดั้ม เราอาจจะมองว่า เรือธงประจำภาค จะมีบทบาทสำคัญ และโดดเด่นที่สุดในสงครามครั้งนั้นด้วย
SCV-70 White Base
เรือธงแห่งสหพันธ์โลกในช่วงสงคราม 1 ปี อันแสนจะคลาสสิคจากภาค Mobile Suit Gundam … “ไวท์ เบส” เป็นยานรบชั้น Pegasus (Pegasus-class) ที่ได้รับฉายา หรือชื่อเล่นจากฝั่ง Zeon ว่า “ม้าโทรจัน” เนื่องจากว่ายานลำนี้ไม่ถูกบันทึกเอาไว้ในฐานข้อมูลของฝั่งซีออนมาก่อน และมีรูปร่างที่มีขายื่นออกมาอย่างน่าประหลาด
เอกลักษณ์อันแสนน่าจดจำของไวท์เบสก็คือการที่ยานลำนี้เป็น เรือธง หรือยานหลักสำหรับการบรรทุกเหล่าโมบิลสูท และไฟท์เตอร์แห่ง “Project V” อันได้แก่ RX-75 Guntank, RX-77 Guncannon และ RX-78 Gundam รวมไปถึงยานไวท์เบสด้วย เรียกได้ว่านี่เป็นโปรเจ็กต์ที่ฝั่งสหพันธ์ตั้งขึ้นมาเพื่อหวังเอาชนะเทคโนโลยีโมบิลสูทที่ฝั่ง Zeon ทำขึ้นมาได้ก่อนนั่นเอง
สำหรับอาวุธของยาน White Base เรียกได้ว่าครบเครื่อง พร้อมรบแทบทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น 2 Barrel-Main Gun ที่ติดตั้งอยู่ด้านหน้าของสะพานเดินเรือ (Bridge), Twin Mega Particle Cannon ที่ติดตั้งด้านข้างของยานทั้งสองข้าง , Missile Launcher รวมไปถึงปืนกลต่อต้านอากาศยาน
นี่คือภาพลายเส้นรายละเอียดภายในสะพานเดินเรือของ White Base ซึ่งผมว่านี่คือยานลำหนึ่งที่มีพื้นที่ภายในสะพานเดินเรือที่กว้างเอามากๆ จากมุมมองของผมที่ได้เห็นมาจากในอนิเมะ
นอกจากเรื่องของความกว้างแล้ว ก็มีเรื่องของการออกแบบ ลักษณะโครงสร้างของสะพานเดินเรือ ที่เรียกได้ว่าไม่ซ้ำใคร และไม่มีใครซ้ำเลย
ยาน White Base ต้องมาถึงจุดจบในช่วงสิ้นสุดของสงคราม 1 ปี ยานลำนี้ทำหน้าที่ของเธอได้ดีที่สุดจนต้องยกย่องให้เป็นหนึ่งในตำนานแห่งศักราชอวกาศ ด้วยผลงานการฝ่าฟันสนามรบต่างๆทั้งบนโลก และอวกาศ
White Base ได้รับความเสียหายอย่างหนัก และระเบิดภายในฐานทัพ A Baoa Qu ซึ่งเป็นสนามรบด่านสุดท้ายของสงคราม 1 ปี
โดยในตอนที่ 7 ของ Mobile Suit Gundam Unicorn (OVA) บานาจ และ ฟูล ฟรอนทัล ก็ได้พาผู้ชมทุกท่านเดินทางข้ามกาลเวลามาเห็นวาระสุดท้ายของยาน White Base อีกครั้งหนึ่ง
สายกันพลา และของสะสมต้องหยุดดูตรงนี้นิดนึง เพราะอยากจะบอกว่า White Base ก็ได้มีสินค้าพลาสติกโมเดลผลิตออกมาเหมือนกันนะ
1/1200 White Base (1980): box art
Gundam Collection 1/400 SCV-70 White Base (2003): box art
1/1700 SCV-70 White Base (2006): box art
Great Degwin
ตัดภาพมาที่อีกฝั่งของสงคราม 1 ปีกันบ้าง “Great Degwin” เรือธงแห่ง Zeon ถูกบรรจุอยู่ในเรือชั้น Gwazine (Gwazine-class) ที่มีบทบาทในสนามรบคล้ายกับยานชั้น Megallan ของฝั่งสหพันธ์ แต่บอกเลยว่ายานใน Gwazine-class นั้นมีสเป็คที่สูงกว่าหลายด้านเลย
ยานชั้น Megallan ของฝั่งสหพันธ์
Great Degwin นั้นถูกตั้งชื่อตามผู้นำสูงสุดของ Zeon ในช่วงสงคราม 1 ปี“เดกวิ้น ซาบี้” นั่นเอง หากว่ากันตามสเป็คแล้ว ยานชั้น Gwazine นั้นถือเป็นยานรบที่อยู่ใน Tier สูงที่สุดในช่วงสงคราม 1 เลย สูงเกินกว่ายานชั้น Pegasus (White Base) ของฝั่งสหพันธ์ไปอีกด้วยซ้ำ
ในเรื่องอาวุธก็จัดใหญ่ มีทั้ง Double-barreled mega particle cannon ขนาดใหญ่ที่ถูกติดตั้งอยู่บริเวณด้านบนของตัวยาน พ่วงมากับการติดตั้ง Double-barreled mega particle cannon ขนาดเล็กอีกกว่า 10 กระบอกรอบตัวยาน รวมไปถึง Machine Gun ที่ขาดไม่ได้เลย
แต่อีกหนึ่งจุดที่โดดเด่นไม่น้อยไปกว่าเรื่องอาวุธของยาน Gwazine-Class ก็คือเรื่องของ การบรรทุกโมบิลสูทนั่นเอง ยานรบในชั้นนี้สามารถแบกโมบิลสูทได้ทีเดียวถึง 20 เครื่อง
ยานใหญ่และขนของหนักขนาดนี้ก็ต้องมีผลเสียกันบ้าง ด้วยความที่ต้องการพลังงานที่สูง Gwazine-class นั้นจำเป็นต้องมีการติดตั้ง “ถังพลังงานเสริม” วัตถุทรงกลมที่ติดตั้งอยู่บริเวณท้ายยานนั่นแหละครับ
ภาพ Sketch ของยานชั้น Gwazine จากภายนอก และภายในสะพานเดินเรือ
ยาน Great Degwin ที่มีท่านผู้นำอย่าง Degwin Zabi เดินทางไปด้วย ถูกทำลายล้างโดยอาวุธ “Solar Ray” ไปพร้อมๆกับยานของ General Revil ที่กำลังเจรจาสงบศึกกันอยู่ ซึ่งคนที่สั่งยิงกลับเป็นลูกชายแท้ๆของ เดกวิ้น อย่าง “กิเรน ซาบี้”
ในส่วนของพลาสติกโมเดล แน่นอนว่าเคยถูกผลิตออกมาแล้ว ถูกผลิตออกมาตั้งแต่ปี 1983 เรียกว่าเป็นของเก่าที่แทบจะหาซื้อไม่ได้แล้ว
1/2400 Original Degwin (1983): box art
Argama-class
Argama หรือ ยานชั้น Argama (Argama-Class) เป็นยานรบที่ถูกพัฒนาอย่างลับๆที่โคโลนี่ Sweetwater ด้วยความร่วมมือกันของ Anaheim Electronics และ AEUG ออกปฏิบัติการครั้งแรกในปี UC 0087 ( ภาค Z นั่นเอง )
จุดเด่นของยาน Argama ก็คือ “Rotating Module” ส่วนของยานที่สามารถยื่นออกไปด้านข้างได้ และหมุนรอบตัวยานในแนวตั้ง ซึ่งใช้สำหรับการจำลองแรงโน้มถ่วงภายในยาน คนเคยดูภาค Zeta ต้องเคยเห็นมาก่อนแน่นอน
ในเรื่องอาวุธก็ประกอบไปด้วย Single Barrelled Cannon จำนวน 4 กระบอก, Mega Particle Cannon, Missile Launcher และที่เจ๋งสุดคือ “Hyper Mega Particle Cannon” ซึ่งถูกติดตั้งเพิ่มเข้ามาในช่วงสงคราม Neo Zeon ครั้งที่ 1 (ภาค ZZ)
ภาพ Sketch บริเวณภายในสะพานเดินเรือของยาน Argama
Mobile Suit Deck หรือพื้นที่จอดโมบิลสูท
Argama มาพร้อมกับการติดตั้งระบบ “Ballute” ที่จะปลดปล่อยร่มสำหรับการป้องกันความร้อน ใช้สำหรับการเข้าสู่ชั้นบรรยากาศเพื่อลงไปสู่โลก ความหมายอีกอย่างก็คือ ยาน Argama ก็เป็นยานอีกลำหนึ่งที่ปฏิบัติการได้ทั้งบนโลก และอวกาศ
ในด้านของพลาสติกโมเดล ยาน Argama ก็ได้มีของสะสมมาขายกับเขาตั้งแต่ปี 1985 นู้นเหมือนกัน
และถัดมาก็ถูกผลิตในไลน์ EX Model ในปี 2006
Dogosse Giar-class
ยานชั้นโดโกสเกียร์ หรือ Dogosse Giar-class นั้นถูกผลิตออกมาเพียงแค่ 2 ลำเท่านั้น ลำแรกก็คือ “โดโกสเกียร์” ยานที่ถูกใช้งานเป็นเรือธงของ “Titans” ในภาค Zeta และ “General Revil” ยานอันเลื่องชื่อของสหพันธ์ ก็เป็นยานรบในชั้นโดโกสเกียร์นี้อีกด้วย
General Revil
ยาน General Revil ยังปรากฏในเห็นยาวไปถึงภาค Unicorn รวมถึง Narrative เลย ซึ่งนี่สะท้อนให้เห็นว่ายานรุ่นนี้เป็นรุ่น Top Tier ชั้นนึงเลยก็ว่าได้
สิ่งที่บ้าคลั่งมากๆสำหรับยานชั้นนี้ก็คือ การที่มีจำนวนคาตาพัลท์ (Catapult) สำหรับปล่อยโมบิลสูทเยอะมาก แถมจำนวนโมบิลสูทที่บรรทุกได้ก็เหลือล้น
ยาน โดโกสเกียร์นั้นมีคาตาพัลท์จำนวน 12 ช่อง และบรรจุโมบิลสูทได้ที่ 20 ตัว
ยาน เจเนรัล เรวิล มีคาตาพัลท์จำนวน 16 ช่อง และสามารถบรรจุโมบิลสูทได้ถึง 48 ตัว !!
เรื่องอาวุธ ใครเคยดูภาค Unicorn และ Narrative มาแล้วอาจจะจำภาพการระดมยิงของยานลำนี้ได้ ปืนแต่ละอย่างนี่จัดมาเต็มไม่น้อยหน้าใคร Long Range Mega Particle Gun 4 กระบอก, Twin Mega Particle Gun 2 กระบอก, Secondary Mega Particle Gun อีก 4 กระบอก, Anti-Air Machine Gun 32 กระบอก และ Missile Launcher อีกมหาศาล
ภาพ Sketch ภายในสะพานเดินเรือของยานชั้น Dogosse Giar
Gwanban-class
เรือธงของฝั่ง Axis Zeon ที่ปรากฏครั้งแรกในภาค Zeta หลังจากที่ Gwadan-class นั้นถูกทำลายลงไป ยานลำนี้ถูกพัฒนาต่อมาจาก Gwazine-class (ยาน Great Degwin) โดยที่ตัวยานนั้นมีขนาดที่เล็กลง แต่ถึงอย่างนั้นก็มีช่วงท้ายของยานที่ใหญ่ ทำให้พื้นที่ของโรงเก็บโมบิลสูทนั้นใหญ่พอที่จะบรรยุ Queen Mansa หรือ Neue Ziel ได้เลย
สำหรับเรื่องอาวุธ ยานชั้น Gwaban นั้นประกอบด้วย Mega Particle Cannon จำนวน 3 กระบอก และ Single Barreled Cannon อีก 6 กระบอก
SCVA-76 Nahel Argama
Nahel Argama (เนล อาร์กามา) ปรากฏตัวครั้งแรกในภาค ZZ ในฐานะยานของ AEUG และภายหลังได้อยู่ภายใต้สังกัดของ “Londo Bell” ตามที่เราได้เห็นกันในภาค Mobile Suit Gundam Unicorn
Nahel Argama เป็นยานที่ Anaheim Electronics และ AEUG สร้างขึ้นโดยพัฒนาจาก Argama และตั้งใจให้ยานลำนี้ได้ขึ้นเป็นเรือธงแทนที่ของ Argama ซึ่งแน่นอนว่ายานลำนี้มีทั้งอาวุธที่หนักแน่นยิ่งขึ้น ความจุโมบิลสูทที่สูงขึ้น แถมยังมีการติดตั้งแผงโซลาร์สำหรับการสร้างพลังงานสำรองอีกด้วย
อาวุธของยานลำนี้ ได้แก่ Twin Beam Cannon, Single-Barrel Beam Cannon, Secondary Beam Cannon, Sub Mega Particle Cannon, Anti-Air Machine Gun และปืนพลังทำลายล้างสูงอย่าง Hyper Mega Particle Cannon ซึ่งถ้าใครได้ดูภาค ZZ และ Unicorn ไปแล้วคงได้เห็นพลังของปืนใหญ่กระบอกนี้แล้ว เพียงแต่ว่ามันก็มีข้อเสียของมันก็คือการชาร์จพลังงานที่กินเวลาพอสมควร
ขอเสริมนิดนึงว่า หลังจากที่ Nahel Argama นั้นได้มาอยู่ภายใต้สังกัดของ Londo Bell ก็ได้ถูกอัพเกรดด้วยนะ หลักๆก็คือการเปลี่ยน-เพิ่มอาวุธ และการที่สามารถบรรจุโมบิลสูทได้เพิ่มขึ้น 4 เครื่อง (จาก 12 เป็น 16)
Hyper Mega Particle Cannon ของยาน Nahel Argama จากภาค Unicorn
Sadalahn-class
เรือธงของฝั่ง Neo Zeon ในช่วงเวลาของสงคราม Neo Zeon ครั้งที่ 1 (ภาค ZZ) มาพร้อมกับ twin Mega Particle Cannons 6 กระบอก, large mega particle cannons 2 กระบอก, missile launchers และ anti-air laser guns อีกจำนวนมาก พูดได้ว่ายานชั้น Sadalahn นั้นเป็นหนึ่งในยานที่กำลังรบแกร่งที่สุดในช่วงเวลาภาค ZZ เลย
และด้วยการติดตั้งระบบ Minovsky Craft สำหรับใช้ขับเคลื่อน รวมถึง Ballute ที่ใช้กันความร้อนขณะลงสู่โลก ทำให้ยาน Sadalahn นั้นมีความสามารถที่จะลงไปสู่โลก และปฏิบัติการบนโลกได้อย่างไม่มีปัญหา
ภาพ Sketch ภายในสะพานเดินเรือของยานชั้น Sadalahn
ภาพ Sketch ภายในโรงเก็บโมบิลสูทของยานชั้น Sadalahn
สำหรับบทความ “Flagship เรือธงสงคราม แห่งจักรวาล UC Part 1” ก็ขอจบลงเพียงเท่านี้ก่อน Part ต่อไปเราจะเริ่มขยับไปดูเหล่าเรือธงในช่วงเวลา สงคราม Neo Zeon ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป (UC.0093 – )
ในความเป็นจริงแล้ว ช่วงเวลาระหว่าง 0079 – 0088 นั้นยังมีเรือธงที่น่าสนใจเหลืออยู่อีก
เช่น ยานชั้น Birmingham จากภาค 0083 Stardust Memory, Gwaden และ Jupitris จากภาค Zeta
แต่หยิบมาเท่านี้บทความก็ยาวมากๆแล้ว
ถ้ามีโอกาสจะเก็บตกให้ในภายหลัง ขอบคุณที่ติดตามอ่านบทความนี้ครับ
- บทความโดย NuthSWR