Review : The Desperate Hour ฝ่าวิกฤตวิ่งหนีตาย [ตัวอย่าง / เรื่องย่อ]
09 มีนาคม 2565 00:57 น.
Share on FacebookTweet about this on TwitterShare on Google+

The Desperate Hour (4)

 

เตรียมฝ่าวิกฤตระทึกทุกนาที เมื่อเธอต้อง”วิ่ง” เพื่อปกป้องคนที่เธอรักจากเหตุการณ์สุดสะเทือนขวัญ ผลงานจาก “ฟิลลิป นอยซ์” ผู้กำกับที่เคยฝากผลงานฝีมือเยี่ยมไว้ในภาพยนตร์แอ็กชันขึ้นชื่ออย่าง Salt สู่ภาพยนตร์ “The Desperate Hour ฝ่าวิกฤตวิ่งหนีตาย” ภาพยนตร์ระทึกขวัญ ที่ชวนผู้ชมตามติดเหตุการณ์เอาใจช่วยกับสถานการณ์ขับขันแข่งกับเวลา ผนวกกำลังกับนักเขียนบท “คริส สปาร์ลิ่ง” เจ้าของผลงานเด็ดอย่าง Buried ที่เล่นกับข้อจำกัดในการเอาตัวรอด

 

The Desperate Hour (2)

The Desperate Hour นั้นยังคงอัดแน่นไปด้วยข้อจำกัดอันน่าระทึก นี่คือหนังเขย่าขวัญแบบ Real Time เพิ่มความระทึกด้วยการเล่าเรื่องตามเวลาจริง โดยความยาวของภาพยนตร์ 84 นาที จะเล่าถึง 84 นาทีจริงที่ตัวละครต้องเผชิญ ความระทึกได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อ เอมี่ คาร์ (นาโอมิ วัตส์) กำลังวิ่งจ็อกกิ้งตอนเช้าในป่าลึก จู่ๆ เธอได้รับแจ้งข่าวร้ายว่าเกิดเหตุกราดยิงในโรงเรียนมัธยม ที่ โนอาร์ (โคลตัน ก็อบโบ) ลูกชายวัยรุ่นสุดที่รักของเธอเรียนอยู่ และกำลังอยู่ในอันตรายสุดๆ เธอจึงต้องออกวิ่งบนระยะทางห่างจากเมืองหลายไมล์ด้วยความวิตกกังวลขั้นสุดเพื่อช่วยเหลือลูกของเธอ โดยมีเพียงโทรศัพท์ที่ใกล้จะแบตหมดเป็นที่พึ่งสุดท้ายของเธอ

 

โดย นาโอมิ วัตส์ พูดถึงการเตรียมตัวมารับบท เอมี่ คาร์ หญิงสาวที่ต้องทำทุกวิถีทางแม้จะมีเพียงแค่โทรศัพท์เครื่องเดียว ท่ามกลางป่าลึก เพื่อวิ่งไปให้ถึงสถานที่เกิดเหตุ เรียกได้ว่าเธอต้องฉายเดี่ยวทางการแสดงแบบเต็มขั้น ทั้งสีหน้า อารมณ์ และท่าทาง จนทำให้ภาพยนตร์ได้รับคำชมจากสื่อทั่วโลก หลังได้รับเลือกให้เข้าฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตรอนโต โดยนาโอมิได้กล่าวถึงการทำงานในเรื่องนี้ว่า

 

“ เอมี่ เป็นคุณแม่ลูกสอง ในขณะที่ลูกชายของเธออยู่ในช่วงวัยรุ่น เธอแทบไม่มีเวลาใส่ใจลูกเธอเลย นี่คือจุดเริ่มต้นของทุกอย่างในเรื่อง สาเหตุที่ทำให้ฉันรับบทนี้เพราะฉันเองก็เป็นคุณแม่ ฉันวิตกและกลัวทุกครั้งที่เห็นข่าวกราดยิงบนหน้าหนังสือพิมพ์ ยิ่งการที่สถานศึกษาที่มีแต่เด็กๆ กลายมาเป็นเป้าโจมตี เรื่องนี้มีความระทึก, ตัวละครที่น่าสนใจและสมจริง การที่ผู้หญิงธรรมดาต้องมาเจอเหตุการณ์ไม่ธรรมดา ฉันได้กลับไปทำร่วมงานกับ ฟิลลิป นอยซ์ผู้กำกับที่เชื่อฝีมือได้ ฉันยังชอบผลงานก่อนหน้าของเขาอย่าง Buried ซึ่งมันมีความคล้ายกับเรื่องนี้ เพราะมันเป็นสถานที่บีบคั้นซึ่งเกิดขึ้นกับตัวละครเดียว หลังตัดสินใจเล่นหนังเรื่องนี้ ฉันเริ่มโปรแกรมวิ่งอีกครั้ง ไม่น่าเชื่อว่าฉันแทบไม่ต้องปรับตัวเท่าไหร่เลย เหมือนร่างกายยังจำได้ ฉันคิดว่าตอนถ่ายจริงคงวิ่งแค่สั้นๆ แต่กลายเป็นว่า ผู้กำกับชอบถ่ายลองเทคยาวมากกว่าจะคัทที กว่าจะปิดกล้องฉันฟิตขึ้นกว่าเดิมเยอะเลย”

 

 

 

 

 

นอกจากความระทึกสุดขีดแล้ว ภาพยนตร์ยังได้ถูกรับเลือกให้ฉายรอบปฐมทัศน์ในเทศกาลหนังโตรอนโต (TIFF) เมื่อเดือนกันยายน 2564 พร้อมกวาดคำชมจากนักวิจารณ์และคอหนังสายระทึกอย่างมากมาย

 

———————–

 

275511964_4858442817577733_6421369027890782598_n

REVIEW 8/10 

หนังสนุกแบบไม่คาดหวัง ทำน้อย ได้มาก ตื่นเต้นใช้ได้เลย

 

สารภาพว่าเป็นหนังที่ไปดูแบบ “ไม่มีความคาดหวังอะไรเลย”  จากตัวอย่างที่เอามา ก็คงไม่พ้นหนังสายล่ารางวัลดูเนิบๆ เนือยๆ ไม่มีอะไรหวือหวา…ซึ่งพอแอดมินได้ดูจริงๆ ก็เป็นอย่างที่คิด แต่ติดตรงที่ ผกก.เล่าเรื่องสนุกมาก แลเราไม่ห่วงเรื่องฝีมือการแสดงของ “นาโอมิ วัตส์” ในบทคุณแม่เลย เชื่อมือได้อยู่แล้ว

 

เรื่องราวในช่วง 10 นาทีแรกของหนัง เต็มไปด้วยความเนิบนาบ เรื่อยเฉื่อย ในบรรยากาศสโลว์ไลฟ์ของชายป่าสน ที่ทางทีมงานชูจุดขายอย่างมาก ด้วยการบินโดรนเพื่อเก็บภาพโฟกัสตัวละครให้เล็กจิ๋ว และหนาแน่นไปด้วยภาพของต้นไม้ ธรรมชาติที่สวยงาม และเพลงประกอบที่คลอเบาๆ สร้างบรรยากาศอันแสนสงบ…ก่อนที่เรื่องราวจะค่อยๆตึงขึ้น

 

 

The Desperate Hour (3)

ผกก. และทีมงานเขียนบท ได้สร้างตัวละคร “คุณแม่” ผู้สูญเสียสามี  กับ “ลูกชายวัยรุ่น” ที่กำลังอยู่ในวัยต่อต้าน และตัวละครสมทบนิดๆหน่อยๆ แต่ทั้งเรื่องราวหลักๆ มีตัวละครเพียง 2 คนที่เราได้เห็นหน้าค่าตา มีบทบาทจริงๆ ซึ่งก็เหมือนจะเป็นเรื่องราวธรรมดาๆ ของคนเป็นแม่ ทีกำลังจะสติหลุดจากเหตุกราดยิงในโรงเรียนของลูกชายสุดที่รัก…จนกระทั่ง คนเขียนนบท ได้วางคาแรคเตอร์คุณแม่ เป็น “เจ้าหน้าที่สรรพากร”… และนั่นทำให้เรื่องราวดูมีความโม้นิดๆ แต่มันทำให้การเล่าได้ไปต่อแบบไหลๆ  และสรุปเรื่องราวได้จากปม และชนวนเล็กๆนี้นี่เอง…

 

 

ตัวหนัง ใช้ประโยชน์ของการใช้ “บทสนทนาผ่านโทรศัพท์” ได้คุ้มค่า (และน่าหงุดหงิดแทนปลายสาย 55+ โทรจิกจังเลย) ทุกตัวละครสำคัญ ที่จะเชื่อมโยงเรื่องราว ความสัมพันธ์ตัวละคร ไปจนถึงการสืบสวนต่างๆ(แบบนิดๆหน่อย) ถูกทำผ่านทางโซเชียล ข่่าวอินเตอร์เนต ไปจนถึง เสียงสนทนาในโทรศัพท์ ที่คุณแม่โทรหาตั้งแต่ คุณยาย เพื่่อนข้างบ้าน เพื่อนที่ทำงาน ครูประถม ตำรวจ นักสืบ ยันร้านขัดเคลือบสีรถ (อันนี้เด็ดจัดราวกับพระเอกของเรื่อง 555+) คุณแม่เล่นโทรแหลกแหกค่าย ราวกับมีโปรโทรฟรีเลย แต่ทั้งหมดที่ว่ามา เมื่อนำมาประกอบเข้าด้วยกัน แอดมินรู้สึกสนุกในการรับส่งบท ความโบ๊ะบ๊ะของบทพูดที่ตัวหนังใส่เข้ามา และทำให้สถานการณ์มันไปต่อได้

 

p-thedesperatehour2

ส่วนงานภาพ เชื่อว่านี่คือจุดแข็งของหนังเรื่องนี้  บางช๊อต บางซีนทำออกมาได้สวยงาม เก็บบรรยากาศรอบข้างได้ดี ครบทุกดีเทล (แหงละ พวกเล่นถ่ายกล้อง URSA Mini Pro  12K Black Magic + เลนส์ Zeiss Supreme) โดยเฉพาะช่วงครึ่งเรื่องแรก ที่คุณแม่ยังคงสนุกกับการวิ่งในป่า  เทคนิคการถ่ายภาพย้อนแสงที่ดูไม่มืด การถ่ายทอดความงามของป่าเขาในเรื่อง ที่ยกกองไปถ่ายที่ “ออนแทรีโอ” ประเทศออสเตรเลีย  และบวกกับการเกรดดิ้งสี ทำให้ได้งานภาพที่มีชีวิตชีวา ดูน่าเที่ยว เหมาะแก่การที่คุณแม่อยากจะมาวิ่งเพื่อฮีลใจตัวเองหลังผัวตายจริงๆ…

the-desperate-hour-header

แต่พอเรื่องราวเริ่มขมวด เริ่มเข้ม ให้สังเกตุโทนสีภาพ จะค่อยๆซีด และเริ่มมีความ “เหลือง” ของแสงที่ดูอบอุ่นนั้นน้อยลง…และกดดันมากขึ้น ถือว่าทีมงานเข้าใจในแง่ของการเล่นอารมณ์กับภาพ และสถานการณ์ของเรื่องที่เข้ากัน ตรงจุดนี้แอดมินชอบมาก “ไม่ได้มาโทนสีเดียว เหลืองทั้งเรื่องแบบหนังยิงกันในอเมริกาใต้”

 

 

สรุป 

ดูแบบไม่คาดหวัง ดัน “สนุก” กว่าหนังที่เคยปักธง

เนิบ เนือย แต่ลุ้นดี  เล่นน้อย แต่ได้มาก เรื่องนี้คือคำตอบเลย

 

ไม่แปลกใจ ทำไมถึงเป็นหนังสายฉายในงานเทศกาล ดูทรง ก็คงไม่แมส ลงตลาดทั่วไปคงกริบ…

ใดๆเลย ภาพบินโดรนในป่าสน ตราตรึงมาก สวยมาก แสง เงา ลงตัว

ทีมโลเคชั่นเก่งมากที่ถ่ายป่าที่ไม่มีอะไร ให้ออกมาน่าดู…

 

แอดมิน AK47