“RAM” กับการใช้งานทางคอมพิวเตอร์
30 กรกฎาคม 2560 14:59 น.
Share on FacebookTweet about this on TwitterShare on Google+

Ram_Cover

 

อุปกรณ์ในคอมพิวเตอร์ที่มีส่วนช่วยในการประมวลผลนั้นนอกจาก CPU แล้ว  “แรม” (RAM) เองก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน  เพราะความรวดเร็วในการโอนถ่ายและรับส่งข้อมูลจำเป็นต้องมีตัวช่วยในเรื่องของการจัดเก็บไปพร้อมๆ กันด้วย

 

 

บทความนี้จะขอนำเสนอ “แรมกับการใช้งานทางคอมพิวเตอร์” หากใครอยากรู้ก็สามารถอ่านเนื้อหากันได้เลย

 

 

 

แรมคืออะไร?

 

Ram_06

 

แรม หรือภาษาอังกฤษคือ RAM เป็นคำย่อมาจาก Random Access Memory เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ในคอมพิวเตอร์สำหรับใช้เป็นหน่วยความจำสำรองที่ใช้งานเกี่ยวกับการอ่านค่าและบันทึกข้อมูลต่างๆ แบบสุ่ม  ก่อนจะถูกส่งไปประมวลผลยังตัว CPU ทั้งนี้เพื่อเป็นการอ่านและบันทึกข้อมูลที่รวดเร็วนั่นเอง

 

 

ซึ่งแรมมีหน้าที่ในการบันทึกข้อมูลต่างๆ อยู่ตลอดเวลา   และข้อมูลจะหายไปทันทีเมื่อมีการปิดการงานคอมพิวเตอร์ลง

 

 

 

 

 

ส่วนประกอบโดยหลักๆ ของแรม

 

Ram_01

 

ในแรมหนึ่งตัวจะมีส่วนประกอบหลักอยู่ 4 ส่วนคือ… 

 

 

1. Input Storage Area เป็นพื้นที่ในการรับข้อมูลจากอุปกรณ์ภายนอกเครื่องอย่าง เมาส์ คีย์บอร์ด หรือ แฟลชไดร์ฟ  โดยต้องส่วนนี้จะถูกเก็บไว้เพื่อส่งต่อไปยังตัว CPU เพื่อประมวลผลของข้อมูล

 

2. Working Storage Area เป็นพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลในระหว่างรอการประมวลผลของ CPU

 

3. Output Storage Area เป็นพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลจาก CPU แล้วและยังอยู่ในระหว่างรอส่งผลการประมวลดังกล่าวกลับคืนสู่โปรแกรมชุดคำสั่งที่ส่งมา

 

4. Program Storage Area เป็นพื้นที่ในส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่งที่ผู้ใช้งานต้องการจะส่งเข้ามา ทำหน้าที่เป็นหน่วยควบคุมเพื่อดึงคำสั่งออกมาเป็นข้อๆ ว่าต้องทำอะไรบ้าง จากนั้นหน่วยควบคุมจะไปควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ต้องการทำงานดังกล่าวให้ทำงานตามคำสั่งที่ต้องการให้ทำนั่นเอง

 

 

 

 

 ประเภทของแรมมีอะไรบ้าง?

 

Ram_07

 

ในปัจจุบันแรมที่ใช้งานกับคอมพิวเตอร์มีอยู่สองประเภทใหญ่ๆ คือ

 

 

SDRAM (Synchronous Dynamic Random Access Memory)

 

Ram_02

 

เป็นแรมที่ใช้รอบการทำงานของสัญญาณนาฬิกา (Clockใน 1 รอบจะทำงาน 1 ครั้ง  และเป็นการทำงานของช่วงสัญญาณนาฬิกาเฉพาะขาขึ้นเท่านั้น

 

 

 

 

DDR SDRAM (Double Data Rate SDRAM)

 

Ram_03 

 

เป็นแรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน  พัฒนามาจาก SDRAM ที่สามารถส่งการโอนถ่ายข้อมูลทั้งขาขึ้นและขาลงพร้อมๆ กันได้ในครั้งเดียว ซึ่งสำหรับ DDR SRAM นั้นที่มีความถี่สัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 100 MHz และมีการส่งข้อมูลสูงสุดมากถึง 1600 MB ต่อวินาที 

 

 

 

Ram_05

 

รูปเปรียบเทียบของแรมแบบ DDR  

 

 

ในปัจจุบัน แรมแบบ DDR ถูกนำมาใช้งานแทนที่แรมแบบSDRAMซึ่งให้ค่าของ Bandwidth หรือการส่งผ่านข้อมูลที่สูงกว่านั่นเอง  แรมแบบ DDR ในท้องตลาดที่วางขายอยู่แบ่งออกเป็น DDR2, DDR3 และ DDR4 โดยในแต่ละแบบก็จะต่างกันตามขนาดของหน่วยความจุของแรมด้วย

 

 

 

 

 

การเลือกซื้อแรมสำหรับการใช้งาน

 

 

Ram_08

 

ในการใช้งานคอมพิวเตอร์นั้น  การมีหน่วยประมวลที่เยอะจะช่วยให้การทำงานของคอมพิวเตอร์เร็วขึ้น  ยกตัวอย่างเช่นคอมพิวเตอร์สำหรับการเล่นเกม… ตัวเกมจะระบุความต้องการในการลงเกมและเข้าเล่น  ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานมีแรมที่มีความจุสูง  ก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพการประมวลผลของเกมได้รวดเร็วยิ่งขึ้น  แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า CPU ที่ใช้งานเป็นสเปคระดับได้ด้วย ตัวอย่างเช่น CPU แบบ Core i3,i5,iจะใช้แรมแบบ DDR3 ทั้งหมด

 

 

 

Ram_04

 

 

วิธีการดู Slot PCI ในการใส่แรมแบบต่างๆ ของเมนบอร์ด

 

 

ส่วนในการติดตั้งแรมก็ให้ดูว่า Slot ของเมนบอร์ดรองรับการติดตั้งของแรมชนิดไหน  รวมถึงมี Slot ใช้งานกี่แถว  ซึ่งการใช้แรมที่มีขนาดและความเร็วที่ไม่เท่ากัน ก็อาจจะทำให้คอมพิวเตอร์มีความไม่เสถียร และอาจเกิดอาการแฮงค์จนคอมดับได้เช่นกัน   ดังนั้นถ้าเป็นการใช้งานในกรณีที่เป็นแรมใหม่  ก็ให้เลือกความจุที่เยอะที่สุดไปเลยและใส่ให้น้อยแถวที่สุดเท่าที่ควรจำเป็น

 

 

แต่หากคอมพิวเตอร์ไม่ได้มีไว้ในการเล่นเกมหรือใช้ทำงานที่ต้องใช้กราฟฟิกเป็นหลักแล้ว  การมีแรมเยอะก็อาจจะไม่ค่อยมีความจำเป็นมากมายอะไรนัก  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งานนั่นเอง…

 

 

 

@Save สาย Pay