ถือเป็นกระแสที่ถูกพูดถึงอยู่ในเวลานี้ สำหรับหนังเรื่องใหม่จาก GDH อย่าง ร่างทรง (The Medium) ผลงานสยองขวัญของ โต้ง-บรรจง ปิสัญธนะกุล และ นา ฮง จิง โปรดิวเซอร์ชื่อดังจากเกาหลี ขึ้นแท่นหนังไทยที่เปิดตัวรายได้สูงสุดอันดับ 1 ของปี 2564 ด้วยรายได้ทั่วประเทศ 8.69 ล้านบาท ทันทีที่เปิดฉายในวันแรก และหลังเข้าฉายได้ 4 วัน ร่างทรง ทำรายได้ 40.02 ล้านบาท เรียกว่าเป็นการเปิดศักราชวงการภาพยนตร์ได้สวยงาม หลังจากที่ซบเซาด้วยสถานการณ์โรควิด19 นั่นเอง
ล่าสุดก็มีข่าวดีที่ทำให้ผู้กำกับและทีมงานต่างชื่นใจกันถ้วนหน้า เมื่อทาง สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ ได้มีมติเลือก ร่างทรง ให้เป็นตัวแทนภาพยนตร์ของไทย เข้าชิงในรางวัลเวทีออสการ์ครั้งที่ 94 สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม ก็ขอแสดงความยินดีกับภาพยนตร์เรื่องนี้มา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ
ความจริงแล้วนี่ไม่ใช่ครั้งแรก ที่ภาพยนตร์เรื่องนี้จะได้รับโอกาสสำคัญ ถ้าย้อนกลับไปวงการหนังบ้านเรามีความพยายามที่จะส่งหนังไทยเป็นตัวแทนในเวทีออสการ์มาตั้งแต่ปี 1984 เป็นประเทศที่สองต่อจากฟิลิปปินส์ ที่ส่งหนังเข้าประกวดในเวทีแห่งนี้อย่างน้อย ก็ถือเป็นอีกก้าวสำคัญที่ทำให้วงการภาพยนตร์ไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
วันนี้เราจะพาไปดู 10 หนังไทยที่เคยได้รับโอกาสสำคัญ ในการเป็นตัวแทนเพื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์มาฝากกันครับ
1.) น้ำพุ (1984)
ภาพยนตร์ไทยเจ้าของ 2 รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี หรือ รางวัลตุ๊กตาทอง (บทนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมและบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม) พร้อมกับไปคว้ารางวัล ดารานำชายดีเด่นจากงานมหกรรมภาพยนตร์เอเชียแปซิฟิก จากฝีมือการกำกับของ ยุทธนา มุกดาสนิท ที่ทำให้ชื่อของ อำพล ลำพูน เป็นที่รู้จักในวงการบันเทิงทันที
หนังเล่าถึงเรื่องราวของ น้ำพุ เด็กหนุ่มที่ต้องเจอมรสุมชีวิตทั้งปัญหาครอบครัว และสภาพแวดล้อมที่ทำให้เขาหลงผิดจนเข้าสู่ถนนสีเทานั่นคือ ยาเสพติดนั่นเอง เพราะเขาต้องการหนีจากชีวิตอันเจ็บปวดนั่นเอง
น้ำพุ คือภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกๆที่สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ เลือกเป็นตัวแทนหนังไทยเข้าชิงรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 57 สาขาหนังต่างประเทศ แล้วยังเป็นภาพยนตร์ที่ยังคงตรึงใจผู้ชมมาจนถึงปัจจุบัน…
2.) กาลครั้งหนึ่ง…เมื่อเช้านี้ (1995)
ผลงานของ บัณฑิต ฤทธิ์ถกล ผู้กำกับผู้ล่วงลับที่ฝากฝีมือจากภาพยนตร์ชุด บุญชู ว่าด้วยเรื่องราวของเด็กทั้งสามคนที่ตัดสินใจจะไปหาพ่อของพวกเขา แต่ทว่าก็ต้องเจอเรื่องราวสารพัดที่คาดไม่ถึง มันช่างเหมือนกับนิทานที่พ่อของทั้งสามชอบเล่าให้ฟังก่อนนอนนั่นเอง หนังได้รับคำชมในแง่บวก แต่ทว่าวันที่เข้าฉายตรงกับหนังเรื่อง เสียดาย ที่พูดถึงชีวิตวัยรุ่นและยาเสพติด ทำให้รายได้ไม่ตรงตามเป้า แต่อย่างน้อยก็ได้รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม งานสุพรรณหงส์ ครั้งที่4 แล้วเป็นภาพยนตร์ไทยลำดับที่4 ที่ถูกส่งเป็นตัวแทนหนังไทยเข้าชิงรางวัลออสการ์ครั้งที่ 68
3.) เสียดาย 2 (1996)
ผลงานของ ท่านมุ้ย ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล ที่สร้างต่อจากภาคแรกแต่ยังคงสะท้อนสังคมผ่านเรื่องราวของ โรส เด็กสาวที่โชคชะตาเล่นตลกกับเธออย่างไม่คาดฝัน เมื่อเธอติดโรค เอชไอวี จนเกือบตัดสินใจที่จะจบชีวิต แต่โคดีที่เธอได้เจอกับรุ่นพี่ที่เป็นผู้ป่วยโรคเดียวกัน ทำให้เธอถูกทดสอบและฟันฝ่าไปอีกครั้ง เสียดาย 2 ได้รับคำชมที่ดีกว่าภาคแรกและเป็นภาพยนตร์แห่งปีที่กวาดรางวัลทั้งงานสุพรรณหงส์และรางวัลตุ๊กตาทองถึง 11 รางวัล ก่อนที่จะถูกเลือกให้เป็นตัวแทนจากประเทศไทยในการชิงรางวัลออสการ์ครั้งที่ 70
4.) เรื่องตลก 69 (1999)
หนึ่งในผลงานของ เป็นเอก รัตนเรือง หนึ่งในภาพยนตร์ที่ถูกพูดถึงในต่างประเทศ แต่ในไทยสามารถคว้ารางวัลถึงสองเวทีอย่างตุ๊กตาทองและสุพรรณหงส์ พร้อมกับได้เป็นตัวแทนไปชิงรางวัลเวทีออสการ์ครั้งที่ 73 หนังเล่าถึง ตุ้ม หญิงสาวที่เป็นพนักงานบริษัทต้องเจอเรื่องตลกร้ายเมื่อมีกล่องมาไว้ที่ห้อง สาเหตุเพราะเลขห้องเธอตัวน็อตมีปัญหา จาก เลข 6 จึงกลายเป็นเลข 9 ทำให้เธอต้องเจอเรื่องราวคาดไม่ถึง
5.)มนต์รักทรานซิสเตอร์ (2001)
อีกหนึ่งผลงานของ เป็นเอก รัตนเรือง บอกเล่าถึงความรักหลากรสชาติผ่านเรื่องราวของ แผน ชายหนุ่มที่หลงใหลเพลงลูกทุ่งและแอบชอบ สะเดา จนแต่งงานกันและมีของสำคัญคือวิทยุทรานซิสเตอร์ ที่เป็นของขวัญ แล้วชีวิตก็พลิกผันเมื่อแผนต้องไปรับใช้ชาติ ก่อนจะเข้ากรุงเพื่อไปตามหาฝัน โดยที่ไม่รู้เลยว่าเขาต้องเจออะไรบ้าง ถือเป็นอีกหนึ่งผลงานที่ยังอยู่ในความทรงจำของแฟนหนัง กวาดรางวัลหลายสถาบัน ซึ่งมนต์รักทรานซิสเตอร์ถูกคัดเลือกให้เป็นตัวแทนไปเวทีออสการ์ครั้งที่ 75
6.) บุญมีระลึกชาติ (2010)
ผลงานสร้างชื่อของ เจ้ย- อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ที่ไปสร้างชื่อในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์จนได้รับรางวีลปาล์มทองคำมาเชยชมในฐานะหนังจากเอเชียนตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รางวัลนี้ หนังเล่าถึงเรื่องราวของ ลุงบุญมี ที่พบว่าตัวเองเป็นโรค ทำให้เขามีเวลาเพียง 48 ชั่วโมงที่ระลึกถึงเหตุการณ์ต่างๆของเขา ตัวหนังได้ถูกเลือกไปเป็นตัวแทนในเวทีออสการ์ ครั้งที่ 73
7.) คิดถึงวิทยา (2014)
ก่อนที่ ร่างทรง จะได้ถูกคัดเลือกให้เป็นตัวแทนหนังไทยในเวทีออสการ์ GDH หรือ GTH เคยส่งหนังไทยเข้าเป็นตัวแทนมาแล้ว 4 ครั้ง ทั้ง มหา’ลัย เหมืองแร่, ความจำสั้น รักฉันยาว, เค้าท์ดาวน์ และ คิดถึงวิทยา ที่ได้รับคัดเลือกไปชิงออสการ์ครั้งที่ 87
เรื่องราวของ สอง ครู่หนุ่มที่ต้องมาสอนที่โรงเรียนแพ (มีที่มาจากโรงเรียนจริงๆ ใน จ.ลำพูน) ทำให้เขาได้พบสมุดบันทึกของ แอน ครูที่มาสอนก่อนหน้านี้ ทำให้ได้รับรู้และเติมเต็มกันและกัน จนเป็นความคิดถึงนั่นเอง ตัวหนังถูกอินเดียไปซื้อสิทธิ์รีเมคใหม่ในชื่อ Notebook
8.) แสงกระสือ (2019)
ผลงานตีความใหม่ของตำนานผีไทยอย่างกระสือ กลายมาเป็นแนว โรแมนติก-แฟนตาซี-ระทึกขวัญ จากวิสัยทัศน์ของ สิทธิศิริ มงคลศิริ และ ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล รับหน้าที่เขียนบท กับเรื่องราวของ สาย เด็กสาวที่พบว่าตัวเองเป็นกระสือตอนกลางคืนทำให้เธอต้องเอาตัวรอดจากกลุ่มนักล่ากระสือและหาทางรักษาการกลายร่าง ไปพร้อมๆกับการช่วยเหลือจากเพื่อนสนิทของเธอเอง โดยหนังได้ถูกเลือกให้เป็นตัวแทนหนังไทยในเวทีออสการ์ครั้งที่ 92
9.) ฮาวทูทิ้ง..ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอ (2020)
หนังไทยเรื่องล่าสุดที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนในเวทีออสการ์ครั้งที่93 จากฝีมือของ เต๋อ-นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ ว่าด้วยเรื่องราวของหญิงสาวที่ต้องการจะจัดห้องแบบยกเครื่องใหม่หมด โละของที่ไม่จำเป็นทิ้งออกไป แต่ทว่ามีของบางอย่างที่เธอรู้สึกนึกถึงชายหนุ่มที่เธอได้ทิ้งเขาไป ทำให้ต้องเลือกว่าจะทิ้งลงไปหรือคืนสู่เจ้าของเดิม
10.) ร่างทรง (2021)
ผลงานตัวแทนของไทยเรื่องล่าสุดที่จะไปชิงออสการ์ครั้งที่ 94 ผลงานร่วมทุนระหว่าง ไทย-เกาหลี จากฝีมือการกำกับของ โต้ง-บรรจง ปิสัญธนะกุล และ นา ฮง จิง โปรดิวเซอร์ชื่อดังจากเกาหลี บอดเล่าเรื่องราวของครอบครัวที่อยู่กับความเชื่อร่างทรง แล้วจะเกิดอะไรขึ้นถ้าสิ่งที่สิ่งร่างไม่ใช่เทพที่พวกเขานับถือบูชา ความสยองที่พร้อมจะเขย่าขวัญทุกฝีก้าว!!
ร่างทรง เข้าฉายแล้วใครที่ยังไม่ได้ดู ลองไปดูกันให้ได้นะครับ…
ทั้งหมดนี้คือส่วนหนึ่ง 10 หนังไทยที่เคยได้เป็นตัวแทนไปชิงเวทีออสการ์ ถ้าหากตกเรื่องไหนต้อง ขอ อภัย มา ณ ที่นี้ด้วยครับ
@P.PETTY
ข้อมูลอ้างอิง
- https://www.fapot.or.th/
- https://www.springnews.co.th/news/817662
- https://www.brighttv.co.th/entertain/the-medium-gdh
- https://th.wikipedia.org/
- https://www.facebook.com